"แบตเตอรี่มือถือ" กับการอยู่รอดในภาวะวิกฤติ

09 ก.พ. 2563 | 02:54 น.

รายงานพิเศษ : "แบตเตอรี่มือถือ" กับการอยู่รอดในภาวะวิกฤติ

 

 

จากกรณี จ่าสิบเอก (จ.ส.อ.)จักรพันธ์ ถมมา ได้ใช้อาวุธปืนสงคราม กราดยิงผู้บริสุทธิ์ได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิต จำนวนหลายราย พร้อมทั้งใช้รถยนต์ฮัมวี่ทหาร สีเขียว ในการก่อเหตุหลบหนี ก่อนหลบหนีเข้าไปภายในห้างเทอร์มินอล 21 โคราช และสุดท้ายก็ถูกวิสามัญโดยเจ้าหน้าที่

เรื่องนี้ทำให้องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน หน่วยงานด้านความมั่นคง และกสทช. ออกแถลงการณ์ ประกาศ ขอความร่วมมือสื่อมวลชน งดสัมภาษณ์ประชาชนที่ติดในห้างเทอมินอล 21 โคราช

"แบตเตอรี่มือถือ" กับการอยู่รอดในภาวะวิกฤติ
 

ซึ่งไม่บ่อยที่ทุกหน่วยงานจะเห็นตรงและให้เหตุผลตรงกัน คือ นอกจากเป็นห่วงเรื่องความเสี่ยงของประชาชนคนนั้นที่อยู่ในวินาทีที่อยู่ในพื้นที่ทีเสี่ยงกับชีวิตแล้ว แต่ในอีกมิติหนึ่ง ประชาชนในสถานการณ์แบบนั้นฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ จะเรียกว่า “เป็นผู้ประสบภัยพิบัติ” ซึ่งภัยพิบัติก็มีหลายประเภท ทั้งภัยที่เกิดจากธรรมชาติ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภัยแล้ง ฯ และภัยพิบัติที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ 

แต่ไม่ว่าผู้ประสบภัยจะเผชิญกับภัยพิบัติประเภทใด ก็ต้องมีอุปกรณ์และเครื่องดำรงชีพต่างๆกันออกไป ถ้าน้ำท่วมก็ต้องมีข้าวสารอาหารแห้ง อุปโภคบริโภค ไฟฉาย หากออกจากพื้นที่ไม่ได้ และอีกสิ่งคือ โทรศัพท์มือถือ แบตเตอรี่สำรอง ชั่วโมงอินเตอร์เน็ตและค่าโทรศัพท์ ก็เป็นเป็นปัจจัยที่ต้องพยายามดำรงไว้ในยามฉุกเฉิน

การโทรออก/รับสาย และเล่นเน็ตแต่ละครั้งของผู้ประสบภัย จึงหมายถึงว่า “แบตเตอรี่มือถือ” ที่คุณหวังจะเอาไว้ติดต่อในยามฉุกเฉินอาจจะหมดลงได้ ถ้าเหตุการณ์ไม่นานมือถือก็พอมีแบตพออยู่ได้ไม่เป็นไร แต่ถ้าแบตเหลือน้อย เน็ตเหลือน้อย ค่าโทรเหลือน้อย แล้วสถานการณ์ลากยาวไม่รู้จะจบเมื่อใด แล้วเกิดแบตเตอรี่มือถือหมด แบตสำรองที่มีมาก็หมด ก็จะขาดการติดต่อจากหน่วยงานที่พยายามจะช่วยเหลือ

ฉะนั้นหน้าที่หนึ่งของสื่อมวลชนใน “สถานการณ์วิกฤติฉุกเฉิน” ย้ำ “วิกฤติฉุกเฉิน” ที่หน่วยงานบรรเทาสาธารณภัย ให้คำแนะนำเอาไว้ คือ นอกจากจะไม่ขัดขวางและเป็นภาระการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ที่กำลังคลี่คลายสถานการณ์แล้ว ก็จะไม่เป็นผู้ที่เบียดบังทรัพยากรดำรงชีพของผู้ประสบภัย ที่เขาต้องเซฟไว้เลี้ยงตัวเอง ในยามจำเป็นด้วย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง