"ลดค่าเช่า" เยียวยาโควิด น้ำใจในวิกฤติโรคระบาด

10 พ.ค. 2564 | 07:15 น.

รายงานพิเศษ : "ลดค่าเช่า" เยียวยาโควิด น้ำใจในวิกฤติโรคระบาด

"ลดค่าเช่า" หรือ ขอเลื่อนการเก็บค่าเช่า อาจจะเป็นมาตรการเยียวยาโควิด เสียงพึมพำในใจของเจ้าของร้าน เจ้าของธุรกิจสถานประกอบการหลายแห่ง ที่เจอวิกฤติของรายได้ที่ลดลง แต่ภาระค่าเช่าสถานที่จากเจ้าของพื้นที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลงให้แม้แต่บาทเดียว

แน่นอนว่า ท่ามกลางการระบาดของโควิด 19 ระลอกสามที่รัฐบาลโดยศบค. ใช้ยาแรงระดับกลาง ปิดสถานที่เสี่ยงทั้งแบบถาวร และปิดแบบให้ทำธุรกิจได้อยู่ อาทิ ร้านอาหารห้ามนั่งทานในร้าน ให้ซื้อกลับบ้านเท่านั้น รวมไปถึงขอความร่วมมือในการลดการเดินทางและจำกัดเวลาในการเดินทางในยามวิกาล เพื่อหวังลดจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง 

"ลดค่าเช่า" เยียวยาโควิด น้ำใจในวิกฤติโรคระบาด

ฐานเศรษฐกิจ พบว่า ท่ามกลางวิกฤติที่เจ้าของสถานที่หลายแห่งตัดสินใจไม่ลดค่าเช่าสถานที่ แต่ก็ยังมีเจ้าของสถานที่บางราย ที่มีน้ำใจ ลดค่าเช่า เลื่อนเก็บค่าเช่า เพื่อลดภาระของผู้เช่าสถานที่ ให้มีลมหายใจอยู่ได้

"นายณัฐพงศ์ งามวัฒนาเจริญ" นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เอกชนรายหนึ่ง เล่ากับฐานเศรษฐกิจ ถึงแนวคิดการลดค่าเช่าให้กับผู้ประกอบการที่มาเช่าพื้นที่บริเวณหาดจอมเทียน เมืองพัทยา ที่เจอผลกระทบมาตั้งแต่การระบาดในระลอกแรกว่า ได้มีลดค่าเช่าให้กับผู้ประกอบการเป็นระยะเวลากว่า 1 ปี เนื่องจากสถานการณ์โควิด19 เริ่มตั้งแต่ผลกระทบจากการวางท่อใหม่ของเมืองพัทยาทำให้การเข้าออกบริเวณไม่สะดวกจึงได้ลดค่าเช่าให้ผู้ประกอบการ 

นายณัฐพงศ์ งามวัฒนาเจริญ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

แต่พอเกิดสถานการณ์โควิด19 ไม่มีนักท่องเที่ยวทำให้ผู้ประกอบการไม่มีรายได้จึงได้ลดค่าเช่าให้ 30 %  โดยมีเงื่อนไขว่าหากผู้ประกอบการชำระค่าเช่าตรงเวลาซึ่งไม่เกินวันที่ 5 ของเดือนลดให้ 30 % ไม่ชำระไม่ตรงตามกำหนด ลดค่าเช่าให้ 10 % 

"ลดค่าเช่า" เยียวยาโควิด น้ำใจในวิกฤติโรคระบาด

“บางรายไม่มีลูกค้าเลยเขาก็ไม่ไหวไม่จ่าย 3-4 เดือน เราก็ให้มีการผ่อนจ่ายได้ เคยมีประสบการณ์ลูกค้าไม่จ่าย 5 เดือน แล้วย้ายออกโดยไม่บอกก็ทำให้เราเสียรายได้ก็มี”

สำหรับผลตอบรับที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะกับผู้ประกอบการพบว่าตั้งแต่การลดค่าเช่าให้รอบแรกที่เกี่ยวกับปัญหาเรื่องถนนที่เดินทางเข้าออกไม่สะดวก ผู้ประกอบการก็พอใจและชื่นชมว่ามีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน 

"ลดค่าเช่า" เยียวยาโควิด น้ำใจในวิกฤติโรคระบาด

ส่วนเรื่องความลำบากของตัว นายณัฐพงศ์ ในฐานะผู้ให้เช่าเองก็เล่าว่า  การทำธุริกิจต้องคำนึงถึงลูกค้าเป็นหลักเพราะถ้าลูกค้าสามารถดำเนินกิจการได้ ทางผู้ใช้เช่าพื้นที่ก็เดินหน้าต่อไปได้เช่นกัน 

“ทุกวันนี้นักท่องเที่ยวไม่มาแต่ก็ยังสู้ เพราะลูกค้าเห็นสู้ ถ้าเพราะถ้าเราไม่ลดค่าเช่าให้ก็เท่ากับเป็นการซ้ำเติมกัน ได้เงินแต่ไม่ได้ใจ เราก็ไม่เอาแบบนี้ สิ่งไหนที่เราช่วยได้เราก็ช่วย เราเดือดร้อนแต่ลูกค้าเดือดร้อนกว่าเรา เราต้องรอดไปด้วยกัน เช่น ลูกค้าเราทำบาร์เบียร์แต่ไม่มีนักท่องเที่ยวและส่วนใหญ่จะเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาใช้บริการแต่ตอนนี้ไม่มีต่างชาติเข้ามาเลย ลูกค้าลงทุนไปเยอะ เขาก็ขาดทุนเราก็ต้องช่วย”

"ลดค่าเช่า" เยียวยาโควิด น้ำใจในวิกฤติโรคระบาด

ส่วนเรื่องที่ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือด้านไหนบ้างนั้น ที่ผ่านมาก็เห็นว่ารัฐบาลออกมาตรการเยียวยาประชาชนหลายโครงการและมีความต่อเนื่องดีอยู่แล้ว หากจะให้เสนอว่ารัฐบาลควรเข้ามาช่วยพยุงผู้ประกอบการในส่วนไหนก็คงจะเป็นเรื่องการลดภาษี  ไม่ว่าจะเป็นภาษีกรมสรรพสามิตและภาษีเงินได้

ข้ามฟากจากพัทยา ไปยังจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งทราบกันดีมาก่อนหน้านี้ว่า จังหวัดร้อยเอ็ดเพิ่งมีการเปิด "หอโหวต" เป็นแลนด์มาร์คใหม่กลางเมืองร้อยเอ็ด แต่ทว่าในพื้นที่หอโหวตเองก็มีการเปิดพื้นที่ให้ประชาชน ผู้ประกอบการร้านค้าเข้ามาเช่าพื้นที่ เพื่อเป็นแหล่งช้อปปิ้งของนักท่องเที่ยว 

คุณกิตติพิชญ์ นิตยกมลพันธุ์ ผู้บริหาร บริษัท อารียากรุ๊ป จำกัด

พื้นที่หอโหวดร้อยเอ็ด ชั้น 3  ดูแลโดย บริษัท อารียากรุ๊ป จำกัด นำโดย คุณกิตติพิชญ์ นิตยกมลพันธุ์ ผู้ถือสัญญาในพื้นที่ดังกล่าวกับทางเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด บอกว่า ตระหนักถึงผลกระทบดังกล่าว จึงได้มีนโยบายช่วยเหลือผู้ประกอบการที่มาร่วมลงทุนขายสินค้าภายในพื้นที่ชั้น3 หอโหวดร้อยเอ็ด โดยการลดค่าเช่าตั้งแต่เดือน เมษายน 64 ที่ผ่านมา  50% เพื่อแบ่งเบาภาระของผู้ประกอบการ และ ยังคงจะประเมินสถานการณ์เดือนต่อเดือน เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบกาต่อไป 

"ลดค่าเช่า" เยียวยาโควิด น้ำใจในวิกฤติโรคระบาด

ทั้งนี้ หอโหวดหยุดให้บริการตั้งแต่ 12/4/64 จนถึง 18/4/64 เมื่อเปิดให้บริการในวันที่ 19/4/64 พบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงกว่า ร้อยละ 90 ส่งผลให้ยอดจำหน่ายสินค้าภายใน พื้นที่ชั้น3 ลดลงกว่า 90% เช่นกัน โดยเฉพาะกลุ่มอาหารสด เบอร์เกอร์รี่ ซึ่งอายุการเก็บรักษาสั้น ได้รับผลกระทบจากการจำหน่ายไม่หมด ทำให้อาหารหมดอายุ ไม่สามารถนำมาจำหน่ายได้ เกิดภาวะทุนจม ต้องปรับกลยุทธิ์ใหม่โดยขายสินค้าประเภทอาหารแปรรูปที่มีอายุการเก็บรักษาได้ยาวนานกว่า 

"ลดค่าเช่า" เยียวยาโควิด น้ำใจในวิกฤติโรคระบาด

ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการค้าท่านใดไม่สามารถมาขายสินค้าในช่วงสถานการณ์นี้ได้ ทางบริษัทก็ได้ช่วยนำสินค้าอื่นมาวางจำหน่ายแทนสินค้าที่ว่าง เพื่อไม่ให้พื้นที่ดูว่างเปล่า ซึ่งจะดูไม่น่าซื้อ และได้ เพิ่มกำลังพนักงานมาช่วยขายสินค้าแทนพื้นที่ที่ดูว่าง  ซึ่งก็ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่ บริษัทจะสามารถช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระของผู้ร่วมลงทุนได้ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติเช่นนี้ 

"ลดค่าเช่า" เยียวยาโควิด น้ำใจในวิกฤติโรคระบาด

"สุดท้ายนี้ก็ขอเป็นกำลังให้พี่น้อวชาวร้อยเอ็ดทุกท่านและผู้ร่วมลงทุนดับทางอารียากรุ๊ป ผ่านสถานการณ์นี้ไปได้ และ ขอส่งกำลังใจไปยังนักรบด่านหน้า ทีมบุคลากรทางการแพทย์ มูลนิธิ กู้ชีพ กู้ภัย ทุกท่านที่ช่วยกันต่อสู้กับโรคร้ายนี้ และ เราจะต้องผ่านวิกฤติในครั้งนี้ไปด้วยกัน" คุณกิตติพิชญ์  กล่าว

ฐานเศรษฐกิจ ตรวจสอบพบว่า ข้อเสนอในการขอลดค่าเช่า และดูแลผู้ประกอบการ เจ้าของสถานที่ที่ยอมลดค่าเช่านั้น เป็นหนึ่งในข้อเสนอของสมาคมภัตตาคารไทย ที่ทำจดหมายเปิดผนึก ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ในฐานะผอ.ศบค.เพื่อนำเสนอมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการร้าน

ซึ่งข้อเสนอของสมาคมภัตตาคารไทยแบ่งเป็น 2 ส่วน 

ส่วนที่ 1

ความช่วยเหลือด้านต้นทุนค่าใช้จ่าย โดยออกคำสั่งหรือข้อกำหนดให้ชัดเจนเพื่อให้ผู้ประกอบการใช้ในการขอลดค่าเช่ากับผู้ให้เช่ามีมาตรการโครงการช่วยเหลือค่าเช่าคนละครึ่ง นอกจากนั้นประสานห้างสรรพสินค้าลดค่าเช่าอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ และให้เจ้าของอาคารผู้เช่าสามารถนำส่วนลดไปขอลดหย่อนภาษีได้ เพื่อเป็นการมาตรการช่วยเหลือด้านภาษี เงินทุน ให้งดการจัดเก็บภาษีรอบระยะเวลาบัญชี 1 ปีที่ผ่านมา 

ทั้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและบุคคลธรรมดา สำหรับธุรกิจร้านอาหาร และยืดระยะเวลาในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มออกไป 6 เดือน และลดค่าน้ำ ค่าไฟ 30 เปอร์เซ็นต์ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร ตั้งแต่รอบบิลเดือนเม.ย.เป็นเวลา 6 เดือน พร้อมจัดแหล่งเงินกู้ และให้เจ้าของธุรกิจร้านอาหารเข้าถึงแหล่งเงินกู้ เพิ่มสภาพคล่องเพื่อประคับประคองธุรกิจ ฯ

ส่วนที่ 2

ความช่วยเหลือด้านการขาย รายได้ ออกมาตรการจูงใจการใช้จ่ายภาคประชาชน เช่น โครงการคนละครึ่ง ฯ ม.33เรารักกัน และอนุญาตให้ภัตตาคาร ร้านอาหาร ที่เป็นนิติบุคคล สามารถเข้าร่วมโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจทุกโครงการของรัฐบาลได้ เช่น โครงการคนละครึ่ง, ไทยชนะ, ม.33 มีมาตรการควบคุมค่าส่วนแบ่งการขาย หรือ GP จากแพลทฟอร์มเดลิเวอรี่ที่ปัจจุบันที่อัตราสูง จนเกิดภาระไม่คุ้มทุนของฝั่งร้านอาหาร ให้อยู่ในอัตราเหมาะสมอย่างน้อยในช่วงเวลานี้ และหรือมีมาตรการช่วยแบ่งเบาค่า GP ดังกล่าว 

ขอให้ใช้งบประมาณภาครัฐ หน่วยงานปกครองท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจ ในการจัดหาอาหาร เครื่องดื่ม ให้กับหน่วยงาน -เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ เช่น โรงพยาบาลสนาม สั่งอาหารเพื่อสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ อาหารกล่องแจกแก่ประชาชนผู้ประสบภาวะวิกฤตโควิด ตกงาน ขาดรายได้ หรือให้ความร่วมมือหยุดอยู่บ้าน และให้กกร. ที่มีสมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ลงขันจ้างร้านอาหารในท้องถิ่นทำอาหารกล่อง เพื่อให้มีเม็ดเงินหมุนในระบบ รักษาสภาพการจ้างงานพนักงานในร้านอาหาร 

อีกทั้งยังมีความสามารถมาอุดหนุนซัพพลายเออร์และช่วยพ่อค้า แม่ค้าในตลาดสด มีผลถึงเกษตรกร ในการสั่งซื้อวัตถุดิบมาประกอบปรุง ก่อให้เกิดกระแสเงินสดหมุนเวียนให้กับร้านอาหารเป็นการเฉพาะหน้าได้ โดยให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขคอยควบคุมกระบวนการผลิตอาหารตามมาตรการป้องกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :