วิธีเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต ง่ายๆใน 7 ขั้นตอน

07 พ.ค. 2566 | 05:09 น.

สรุป 7 ขั้นตอน วิธีเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต 7 พฤษภาคม 2566 จากคำแนะนำของ กกต. ต้องทำอะไรบ้าง บัตรเลือกตั้ง ส.ส.เขต กับ บัญชีรายชื่อ สีอะไร พร้อมข้อควรรู้ เลือกส.ส.เขตที่ไหน

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ณ หน่วยเลือกตั้งที่ลงทะเบียนไว้ ตั้งแต่ 8.00 - 17.00 น. 

กกต. ได้มีคำแนะนำ 7 ขั้นตอนการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนน เลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตเลือกตั้ง ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบรายชื่อ

สามารถตรวจสอบรายชื่อและลําดับที่จากบัญชีรายชื่อ ที่ประกาศไว้หน้าที่เลือกตั้งกลาง ที่ผู้มีสิทธิลงทะเบียนขอใช้สิทธิ์ไว้ หรือ ตรวจสอบข้อมูลการใช้สิทธิทางแอปฯ Smart Vote อ่านเพิ่มเติม ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า 7 พฤษภาคม 2566 ที่ไหน คลิกเดียวรู้

ขั้นตอนที่  2 ยื่นหลักฐานแสดงตน

ยื่นบัตรประชาชนหรือหลักฐานแสดงตน เพื่อตรวจสอบข้อมูลและยืนยันตัวตน พร้อมลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง

ขั้นตอนที่ 3 รับบัตรเลือกตั้งและซองใส่บัตร

รับซองใส่บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวา บนต้นขั้วบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ประเภท กรรมการประจําที่เลือกตั้งกลางลงลายมือชื่อ ในต้นขั้วบัตร พร้อมลงรายการเกี่ยวกับจังหวัด เขตเลือกตั้งและรหัสเขตเลือกตั้งลงบนซองใส่บัตรเลือกตั้ง

 

ขั้นตอนที่  4 ทําเครื่องหมายกากบาท

เข้าคูหาลงคะแนน ท่าเครื่องหมายกากบาท X ลงในช่องท่าเครื่องหมายในบัตรเลือกตั้ง แต่ละประเภท

  • บัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง สีม่วง  มีหมายเลขผู้สมัคร และ ช่องสำหรับกากบาท โดยไม่มีชื่อผู้สมัครและโลโก้พรรค
  • บัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สีเขียว มีสัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมายของพรรคการเมือง และ มีชื่อพรรคในบัตรเลือกตั้ง

บัตรเลือกตั้ง ส.ส.เขต และบัญชีรายชื่อ

ขั้นตอนที่ 5 พับบัตรเลือกตั้งที่ทําเครื่องหมายแล้ว ใส่ซองใส่บัตรเลือกตั้ง

เมื่อลงคะแนนเสร็จแล้วพับบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ใบ ใส่ลงในซองใส่บัตรเลือกตั้งปิดผนึก ให้เรียบร้อยก่อนออกจากคูหาเลือกตั้ง

ขั้นตอนที่  6 กปน.ลงลายมือชื่อกํากับใส่ซอง บัตรเลือกตั้ง

ผู้ทําหน้าที่ควบคุมคูหาลงลายมือชื่อก๋ากับตรงรอยต่อผนึกซอง พร้อมปิดกับรอยต่อผนึกชอง ด้วยเทปกาวใส เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้กรรมการประจําที่เลือกตั้งกลางยื่นซองใส่บัตรเลือกตั้งคืนให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

ขั้นตอนที่  7 หย่อนบัตรด้วยตนเอง

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งน่าซองใส่บัตรเลือกตั้ง ใส่ลงในหีบบัตรเลือกตั้งด้วยตนเอง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข้อควรรู้ เลือกตั้งล่วงหน้า เลือกส.ส.เขตที่ไหน

กกต. ระบุว่า ใครไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต อย่าลืม! "จำเบอร์ ส.ส.เขต” ตามเขตที่เรามีสิทธิเลือกตั้ง

สำหรับใครที่ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าในและนอกเขตไว้ จะได้ไปใช้สิทธิกันในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 โดยเริ่มใช้สิทธิ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น.

อย่างไรก็ตามผู้ที่ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตยังเกิดความเข้าใจผิด ว่าต้องเลือก ส.ส.เขต ที่ตนไปลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตไว้ ซึ่งความจริงแล้ว ไม่ใช่อย่างนั้น

กกต.อธิบายว่า การเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต คุณจะต้องเลือกผู้สมัครส.ส.ตามเขตในทะเบียนบ้านที่เรามีสิทธิเลือกตั้งเท่านั้น หากไม่ทราบว่าในเขตที่เรามีสิทธิเลือกตั้ง ใครลงสมัครรับเลือกตั้งบ้าง ให้ตรวจสอบข้อมูลผู้สมัครรับเลือกตั้งได้จาก แอปพลิเคชัน Smart Vote หรือ ในวันเลือกตั้งล่วงหน้า กกต.จะอำนวยความสะดวก ด้วยการทำเอกสารรายชื่อ ของส.ส.เขต ในพื้นที่ต่างๆ ติดประกาศไว้ ณ ที่เลือกตั้งให้เราดูก่อนเข้าคูหา เพื่อ "กาคนที่ใช่ เลือกพรรคที่ชอบ”

กกต.ยกตัวอย่างเกี่ยวกับการเลือกตั้งเลือกหน้า ดังนี้ 

เช่น นาย A มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เขต 1 จังหวัดสงขลา แต่มาประกอบอาชีพและอาศัยอยู่ในเขต ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ซึ่งในวันเลือกตั้ง (14 พฤษภาคม 2566) นาย A ไม่ได้กลับบ้านที่จังหวัดสงขลา และนาย A ได้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตไว้ที่เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

ดังนั้น ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 นาย A จะต้องเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ณ ที่เลือกตั้ง ณ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร แต่นาย A ต้องเลือกผู้สมัครที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. เขต 1 จังหวัดสงขลา ซึ่งนาย A มีสิทธิอยู่

ในกรณีที่ต้องการเลือกทั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต และ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ จากพรรคเดียวกัน ต้องระวังเรื่อง "เบอร์” ให้ดี เนื่องจาก ส.ส.เขตจากพรรคเดียวกัน อาจได้หมายเลขคนละเบอร์กับ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (เบอร์พรรค) ดังนั้น ก่อนเข้าคูหา เตรียมจดจำเบอร์ ส.ส.แบบแบ่งเขตบ้านเราและเบอร์ของพรรคไว้ให้ขึ้นใจ เพื่อป้องกันความสับสน