ค้าข้าวเดือด “โรงสี” เปิดศึกชิงเค้ก 3 แสนล้าน

30 ม.ค. 2564 | 13:10 น.

​​​​​​​ส่งออกข้าวสะดุด “นายกโรงสีฯ” ประชุมนัดแรก วันนี้ ส่งสัญญาณสมาชิกค้าข้าวในประเทศ เปิดศึกชิงเค้ก 3 แสนล้าน  ปลุกกระแสชวนคนไทยหันมาบริโภคข้าวเพิ่มขึ้น

 

ประชุมกรรมการบริหารสมาคมโรงสีข้าวไทย นัดแรก

 

วันที่ 30 มกราคม 2564 นายรังสรรค์ สบายเมือง นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า วันนี้ได้มีการประชุมกรรมการบริหารสมาคมโรงสีข้าวไทย นัดแรก บรรยากาศคับคั่ง อบอุ่น ทุกคนก็มาให้กำลังใจในการทำงาน ก็ได้รับความร่วมไม้ร่วมมือจากสมาชิกทุกคนเป็นอย่างดี จากผลกระทบการส่งออกข้าวที่ทำให้พ่อค้าส่งออกต้องเสีค่าปรับเพิ่มเรื่องผิดนัดชำระหนี้ เนื่องจาก ตู้คอนเทนเนอร์ขาด ค่าระวางเรือสูง เป็นสถานการณ์ที่ไม่ปกติ มีวิกฤติเป็นช่วงๆ เป็นธรรมดาทุกธุรกิจย่อมมีปัญหามากบ้างน้อยเป็นปกติ

 

ในส่วนของฝั่งโรงสีมองแล้วข้าวไทย คงจะส่งออกได้น้อยลง เนื่องจากปัจจัยที่ผู้ส่งออกได้รับผลกระทบจากที่ไทยส่งออกข้าวไปต่างประเทศไม่ได้หรือส่งออกได้น้อยลง โดยภาวะราคาที่แพงกว่าคู่แข่งด้วย  ดังนั้นโรงสีจึงต้องพยายามปรับตัวลงขายภายในประเทศกันมากขึ้น พร้อมกับปลุกกระแสการรับประทานข้าวไทยให้มากขึ้น

 

นายรังสรรค์ กล่าวว่า เมื่อส่งออกได้รับผลกระทบ จะไม่ส่งผลกระทบกับชาวนา อย่างน้อยเกษตรกร มีโครงการประกันรายได้ ช่วยเป็นหลักประกันในลำดับแรกแล้ว ถ้าราคาตกกว่าราคาที่รัฐประกันไว้ อย่างน้อยก็ยังมีการจ่ายเงินชดเชยรายได้ให้กับเกษตรกรได้รับรายได้ที่คงที่

 

ส่วนผู้ประกอบการธุรกิจค้าขาย โรงสี ผู้ค้ารายใหญ่ รายเล็ก รายกลาง ค้าข้าวสาร หรือข้าวถุง  ก็พยายามปรับตัวกันอยู่ ยอมรับธุรกิจวันนี้ไม่มีอะไรที่ง่าย สบาย มีความซับซ้อนที่มากขึ้น ต้องพยายามที่จะปรับตัวกันไป อาทิ ลดต้นทุน เพิ่มยิวส์ในการผลิตให้ดีขึ้น ก็จะอยู่รอดในระบบค้าขายได้

 

บรรยากาศในที่ประชุม

 

นายรังสรรค์ กล่าวว่า วันนี้สมาชิกโรงสี มีสมาชิกเข้าร่วมประชุมแน่นเลย ทุกจังหวัดที่ให้ข้อมูลรายงานสถานการณ์การเพาะปลูกข้าวในพื้นที่ของตัวเอง 1.น้อยลง ทุกจังหวัด 2.ภาวะความแห้งแล้ง น้ำ ไม่น่าที่จะมีเพียงพอเลี้ยงต้นข้าวได้ดี  โรงสีเมื่อรู้ว่าข้าว หรือซัพพลายมีน้อย ต้องหาวิธีเช่น จะทำอย่างไรให้สีแปรให้ได้ต้นข้าวที่มาก ลดรายจ่าย แต่ละโรงก็ไม่เหมือนกัน

 

“อยากจะฝากสังคมว่า  “โรงสี” เป็นเฟืองขับเคลื่อนการค้าข้าว ที่อยู่ระหว่างกลาง แปรรูปจากข้าวเปลือกไปเป็นข้าวสาร เป็นเฟืองตัวหนึ่ง หากมีนโยบายรัฐก็ดี หรือไม่มีนโยบายรัฐก็ดี เฟืองตัวนี้ยังคงขับเคลื่อนต่อไป เพื่อต้นน้ำและปลายน้ำ เป็นตัวช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาพรวมได้”

 

นายรังสรรค์ กล่าวว่า ส่วน “โรงสี” กับ “ชาวนา” ต้องบอกว่า ถ้าไม่มีชาวนา ก็จะทำให้ไม่มีโรงสี แล้วถ้าไม่มีโรงสี ชาวนาก็จะทำข้าวออกไปไม่ได้ ดังนั้นสถานะ ในต้องนี้เป็นคู่กัน เรียกว่าดีก็จะดีด้วยกัน แล้วถ้าย่ำแย่ จะไปด้วยด้วย ตามสภาวะและกลไกตลาด  ดังนั้นคำว่า “โรงสี” ไปกดราคาชาวนา จากวันนี้การซื้อขายเปิดเผยทั้งหมด จึงเรียกว่าไม่มีใครจะไปกดราคาใครได้ เป็นโลกสมัยใหม่ของการค้าขาย และการแข่งขันที่สมบูรณ์ แล้วจะไปบอกว่าโรงสีไปกดราคาเกษตรกร ยิ่งเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากโรงสีมีศักยภาพการผลิตมากกว่าวัตถุดิบในประเทศ ต้องแย่งกันซื้ออยู่แล้ว

 

 

รายงานสถานการณ์การค้าข้าว

 

อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ นายเกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ อดีตนายกสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า ระบบการค้าข้าวของประเทศไทย ที่มีวงเงินหมุนเวียนในประเทศกว่าปีละ 3 แสนล้านบาท  ประเมินจากไทยมีผลผลิตข้าวเปลือกเฉลี่ยปีละมากกว่า 30 ล้านตัน ตีราคาเฉลี่ยที่ตันละ 8,000 บาท ขณะที่การซื้อขายข้าวในตลาดมีมากกว่า 20 ล้านตันข้าวสารต่อปี แบ่งเป็นการส่งออกและเพื่อบริโภคในประเทศใกล้เคียงกันอย่างละ 10 ล้านตัน

 

โรงสีทั่วประเทศที่มีมากกว่า 1,000 โรงมีกำลังการผลิตหรือกำลังการสีแปรรวมกันมากกว่า 100 ล้านตันต่อปี มากกว่าผลผลิตข้าวเปลือกในประเทศที่เฉลี่ยแต่ละปีมีราว 30 ล้านตัน หรือสัดส่วนกำลังสีแปรมากกว่าผลผลิตถึง 3-4 เท่า ทำให้โรงสีทำงานได้ไม่เต็มกำลัง ขณะที่มีการแข่งขันที่สูง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โคม่า “ข้าวไทย” โดนปรับอื้อ ผิดเบี้ยวนัด

ส่งออกข้าวปี64 ไม่ฟื้น ชาวนาผวาโดนหางเลข

ผวา “สต็อกข้าวท่วม” กดราคาชาวนา

10 ก.พ. "นบข." นัดเคาะเพิ่มวงเงิน “ประกันราคาข้าว”

จับเข่าคุย‘เกรียงศักดิ์’ อนาคตโรงสีข้าวต้องมองนอกกรอบ