“วันทำประมงหมด” ลามธุรกิจเจ๊ง 6 แสนล้าน ตกงานพุ่ง

21 ม.ค. 2564 | 01:45 น.

ประมง 22 จังหวัด ร้องรัฐทำประมงเพิ่ม ระบุกฎหมายควบรวมออกมาช้า สวนทาง “วันทำประมง” หมด ชี้เรือต้องจอดลามธุรกิจต่อเนื่องเจ๊งเสียหาย 6 แสนล้าน คนตกงาน 2 แสนคน ทันที

 

สุรเดช นิลอุบล

 

นายสุรเดช นิลอุบล นายกสมาคมประมงสงขลา เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ความจริงหากกฎหมายควบรวมออกมาแล้ว ก็ไม่สมควรที่จะขอเพิ่มวันทำประมง เพราะมีทางออกในตัวเอง แต่กฎหมายควบรวมควรที่จะออก ความจริงต้องออกตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2563  แต่เพิ่งมาออกต้นมกราคมปี 2564 เมื่อคำนวณกลางมกราคม ถึงเดือนมีนาคม คำนวณระยะเวลา เพียงแค่ 2 เดือนครึ่งก็ไม่ทัน ต้องไปหาเรือ ซื้อมาควบรวมแล้วต้องหาเงินมาซื้อเรือไม่ทัน

 

“ก่อนหน้านี้เคยเสนอไปแล้วควบรวม กฎหมายที่ออกมาควรจะใช้ในปี การประมงปี2564 ที่จะเริ่มนับวันทำประมง วันที่ 1 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจะต้องไม่มีวันเพิ่มทำการประมงแล้ว ก็ให้ใช้กฎหมายควบรวมไป แต่การแก้ปัญหาใน3 เดือนนี้ จะแก้ปัญหาอย่างไร”

 

1.เรือที่หมดวันทำการประมงแล้ว จะเริ่มทยอยกันหมด 2.กำลังเงินไม่พอ แล้วไม่ได้วางแผนตั้งแต่ต้น แต่ถึงแม้ว่าจะวางแผนมาตั้งแต่ต้นปีแล้ว ก็ยังไม่พอ แต่ถ้าปีหน้าเรายอมรับ แต่ในระยะสั้นจะแก้ปัญหาอย่างไร

 

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเหตุการณ์โควิด-19 แบบนี้ด้วย รัฐบาลต้องการให้คนมีงานทำ มากกว่าที่จะคอยรับเงินช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างเดียว “ประมง” คุณไม่ต้องช่วยเหลืออะไรเลย ขอแค่ให้วันทำประมง เพื่อให้ชาวประมงได้ทำงานครบทั้งปี เพื่อให้มีระบบการจ้างงาน พอจ้างงานได้ก็เป็นนโยบายส่งเสริมการจ้างธุรกิจการทำธุรกิจ แต่ วันนี้ที่เสนอไปเรื่องขอเพิ่มวันทำประมงก็ไม่รู้ว่าจะได้หรือไม่ได้

 

“เข้าใจว่าภาครัฐพยายามเร่งที่จะควบรวมเรืออย่างไรก็ไม่เสร็จ เราก็มีแนวคิดถ้าเรือวันหมดทำการประมง ก็ต้องปลดคนงาน ต้องเลิกจ้าง คนก็เข้าสู่ระบบการว่างงานมากขึ้น ถ้าบวกในเรื่องของโควิด ซึ่งความจริงเรือประมงไทย ปลอดโควิด100% ลูกเรือที่ตรวจกันไป ดังนั้นการที่นำเรือออกไปทำการประมงรอบหนึ่งก็เป็นการกักตัวข้างนอกอยู่แล้ว ถ้ามองตามหลักการ”

 

 

ห่วงโซ่ประมงไทย

 

นายสุรเดช กล่าวว่า พอเรือจอดหมด เลิกจ้างก็เป็นภาระของภาครัฐ ลามปิดตลาดปลา เมื่อไม่มีสัตว์น้ำเข้ามา ก็นำสัตว์น้ำเข้าจากเพื่อนบ้าน อาทิ เมียนมา หรือมาเลเซีย มีความเสี่ยงหรือไม่ ขณะที่ความสามารถศักยภาพในธุรกิจทำได้ ทำไมรัฐไม่ส่งเสริม ไปบอกว่ามีข้อตกลงกับอียู อย่างนั้นอย่างนี้ แต่ ณ เวลานี้อยากให้กลับมามองคนในชาติก่อนมากกว่าที่จะมองสหภาพยุโรป (อียู)  ผมถามว่าอียู นึกถึงคนต่างชาติบ้างหรือไม่ นอกจากตัวของเค้าเอง 1.ต้องมีงานทำ 2.ต้องมีกิน แล้วถามว่ารัฐให้ 3,500 บาท รวม 2 เดือน  ผมว่าไม่นานระบบการเงินการคลังของเมืองไทยก็ล่ม แต่รัฐก็ต้องให้งานด้วย ซึ่งเราไม่ได้เรียกร้องทุกปี

 

ที่สำคัญอยากให้ไปคิดทบทวนใหม่ ว่า “วันทำการประมง” ที่เหมาะสมของประเทศไทยควรอยู่ที่เท่าไร เช่น  “อันดามัน” ทำประมง 270 วัน ไม่มีแท่นขุดเจาะน้ำมันเลย  และ “อ่าวไทย” 240 วัน มีแท่นขุดเจาะน้ำมัน 338 แท่น 1 แทนกินพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร จะเห็นว่าพื้นที่ทำการประมงในอ่าวไทยลดไปเท่าไร แต่ไม่เคยคิดว่าจะต้องไปหาพื้นที่เพิ่มเพื่อทดแทนตรงนี้ ทำไมไม่คิดถึงจุดนี้บ้าง อย่างโควิด ก็ต้องป้องกัน คนก็ต้องมีงานทำ เงินในกระเป๋าก็ต้องมี หากมัวไปกังวลแต่อียู คนในชาติไม่มีงานทำ เงินในประเป๋าไม่มี ท้ายสุดจะมีอาชญากรเต็มบ้านเมือง ทำไมไม่ถึงเวลาแล้วที่จะกลับมามองคนในประเทศตัวเองก่อน

 

ศราวุธ โถวสกุล

 

เช่นเดียวกับนายศราวุธ โถวสกุล ที่ปรึกษาสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กฎหมายควบรวม ความจริงออกมาตั้งแต่เมษายน -เดือนพฤษภาคม ปี2563 พอออกมาได้ 2 เดือน มีปัญหาก็เลยระงับการควบรวม ตั้งแต่เดือนมิถุนายนปี 2563 พอมามีประกาศใหม่ก็เดือนมกราคม ปี2564 “ปัญหาก็คือการควบรวมโดยกฎหมายใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงระบบกว่าจะซื้อเรือ มาทำลาย แล้วไปทำเรือประเภทอื่น จนถึงการได้โควตาปลาในลำดับสุดท้าย รวมขั้นตอนใช้ระยะเวลา 60 วัน ขณะที่ฤดูกาลนี้เหลือแค่ 70 วัน”

 

สำหรับการใช้เงินซื้อเรือไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท ตอนนี้ไม่มีใครมีเงิน ชาวประมงต้องจ่ายค่าแรงงาน 12 เดือน แต่ทำการประมงได้แค่ 8 เดือน ประกอบกับในรอบปีนี้มีเรือประมงไม่ได้ออกไปทำการประมงเป็นจำนวนมาก มากกว่าทุกปีที่ผ่านมา เพราะขาดแคลนแรงงาน ทำให้จำนวนปลาเหลือ ไม่ต่ำกว่า 15-20% ทางอียู มีข้อกังวลอย่างเดียวเรื่อง ทำประมงต้องไม่ "โอเวอร์ฟิชชิ่ง" (Overfishing)  แต่ตอนนี้กรมประมง มีปลาเหลือจากการที่เรือประมงหยุด ไม่สามารถออกไปทำประมงได้ แต่กรมประมงเก็บตัวเลขนี้ไว้ ไม่เปิดเผยออกมา ทำให้ระบบมีปัญหา

 

ประกอบกับสถานการณ์โควิด แรงงานประมงไม่มีโควิด แล้วให้ลองนึกภาพหากเรือประมง 22 จังหวัด ทีมีวันทำประมงไม่ถึง 30 วัน มีกว่า 70% ของจำนวนเรือทั้งหมด เรือที่มีวันทำประมงเหลือ ก็ไม่สามารถออกไปทำประมงได้ หากแรงงานกลุ่มนี้กลับมาอยู่บนฝั่งทั้งหมด อาจจะทำให้มีแรงงานติดโควิดเพิ่มขึ้น เพราะจะกระจายออกไป 22 จังหวัด มีความเสี่ยงติดโรคมากกว่าอยู่ในทะเล

 

นายศราวุธ กล่าวว่า มีอีกวิธีการหนึ่ง ก็คือ “การยกสัตว์น้ำ”  ก็ดี คือเรือที่จอดใช้ปลาไม่หมด ก็สามารถนำปลาที่เหลือไปขายโควตากับเรือที่ออกไปทำการประมงได้  ตอนนี้ปลาล้นระบบ ทำไม่รัฐถึงจัดให้เรือจอด กลุ่ม 4,000-5,000 ลำ เป็นกลุ่มที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมต่อเนื่องถึง 80-90% ต้นน้ำเดือนละหมื่นล้าน หมุนรอบไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านต่อเดือน แก้เศรษฐกิจโดยไม่ต้องใช้เงินเลย ก็แค่เปิดทำการประมงให้ทั้งทั้งปี

 

“กรมประมงบิดเบือนข้อมูลหรือไม่ อ้างว่าปลามีน้อย แต่กลับไปโชว์อียูว่าจำนวนปลาาเพิ่มเท่าโน้นเท้านี้ ทำมา 6ปี เพิ่มจำนวนปลา เฉลี่ยปีละ 10% คิดคำนวณ ที่เพิ่มมาถึงปัจจุบัน 60%  แต่ทำไมยังใช้วันทำประมงเท่าเดิม 220-240 วัน  เพียงแค่ปล่อยวันประมงเพิ่ม เป็นการเพิ่มเศรษฐกิจโดยที่ไม่ต้องใช้เงินสักบาทเดียว

 

“นโยบายยกสัตว์น้ำ” กรมประมงต้องประกาศออกมา สามารถใช้งานได้เลย เพราะเรือประมงที่จอดอยู่ มีวันทำการประมงเหลือ ก็สามารถนำสัตว์น้ำที่เหลือไปขายให้กับเรือที่จะออกไปทำการประมงได้ ซึ่งผู้ขายและผู้ซื้อ ไปแจ้งสำนักงานประมงอำเภอใช้เวลา 4-5 วัน ก็สามารถดำเนินงานได้เลย แต่ควบรวมใช้เวลา 60 วัน จะต้องมีกระบวนการทำลายเรือเรียบร้อยก่อน ถึงจะมาใช้ทรัพยากรจากโควตาของเรือไปทำลาย คนที่เรือจอด หากไม่มีเงินจะขายได้ก็สามารถนำไปซ่อมเงินบำรุงเรือตัวเอง หรือจะนำไปใช้การครองชีพ การยกสัตว์น้ำ มีระยะเวลาแค่ปีต่อปีเท่านั้น

 

ปีนี้ไม่ใช่ปีปกติ ชาวประมงไม่เอาเปรียบ  ตอนนี้เรือเริ่มทยอยจอดเยอะ พวกตลาดผัก เป็นต่อเนื่องเศรษฐกิจหายไปครึงหนี่งเลย แล้วกำลังจะหายไปมากกว่านี้อีก จับจ่ายใช้สอย ความเสียหายจะมีถึง  6 แสนล้าน เพราะแต่ละโรงงานต่อเนื่องก็ไม่มีสินค้าใช้ เป็นวัตถุดิบหลักของโรงงาน จะต้องปิดทันที  เศรษฐกิจรอบข้างโรงงานอีก กระทบยาว คนตกงานไม่ต่ำกว่า 2 แสนคน นี่จะต้องเป็นภาระที่เกิดผลกระทบ เชื่อว่ารัฐบาลคงไม่อยากให้เกิดในช่วงนี้

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดควบรวมใบอนุญาตประมง แลกกองเรือลดลง-ทำประมงได้ทั้งปี

ประมงนัด “เค้าท์ดาวน์” หน้าทำเนียบ ร้องวันทำประมงเพิ่ม-ควบรวมเรือ

11 พ.ย. นัดยื่นแก้ “กฎหมายประมง”

“ประมง” สั่งชะลอเดินเท้าบุกทำเนียบ (มีคลิป)