เปิดชื่ออีก ใคร ? ผู้ส่งออก 100 อันดับแรกของไทย

06 ก.พ. 2564 | 01:47 น.

เปิดชื่ออีก 50 บริษัทส่งออกในอันดับ 51 ถึง 100 ของไทยที่ทำรายได้เข้าประเทศมากที่สุด หลังอันดับ 1 ถึง 50 ปรากฏชื่อส่วนใหญ่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่แบรนด์ดังจากต่างประเทศ

 

ครั้งที่แล้ว “ฐานเศรษฐกิจ”ได้นำเสนอข่าว รู้แล้วจะอึ้ง ! ใครผู้ส่งออก 50 อันดับแรกของไทย โดยได้นำชื่อบริษัทส่งออกที่มีมูลค่าสูงสุด ใน 50 ดันดับแรก พบว่าส่วนใหญ่สัดส่วนมากกว่า 80% เป็นบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนใช้ไทยเป็นผลิตเพื่อส่งออก  ประกอบด้วย 1.บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย)จำกัด (บจก.) 2.บจก.วาย แอล จี บลูเลียน อินเตอร์เนชั่นแนล, 3.บจก.เอชจีเอสที (ประเทศไทย) 4.บจก.โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย 5.บจก.เอ็มทีเอสโกลด์ (หรือแม่ทองสุก) 6.บจก.โตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิปิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง, 7.บจก.ฮั่วเซ่งเฮง คอมโมดิทัช, 8.บจก.ซิเลซติกา (ประเทศไทย), 9.บจก.มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย), 10.บจก.เวสเทิร์น ดิติตอล (ประเทศไทย)

 

11.บจก.บริงค์ส (ประเทศไทย) 12. บจก.เอเชียนฮอนด้ามอเตอร์ 13.บริษัทไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (บมจ.) 14.บจก.ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย), 15 บจก.เอ็นเอ็มบี-มินีแบ ไทย 16.บจก.นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) 17.บจก.ฟาบริเนท 18. บจก.ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ 19.บจก.โซนี เทคโนโลยี (ประเทศไทย) 20.บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย)

 

21.บจก.อีซูซุมอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล โอเปอเรชั่น (ประเทศไทย) 22.บจก.ไทย ไลอ้อน เมนทารี 23.บจก.แม็กซิม อินทริเกรดเต็ด โปรดักส์ (ประเทศไทย) 24.บจก.ไมโครชิพ เทคโนโลยี (ไทยแลนด์) 25.บมจ.แคล-คอมพ์ อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) 26.บจก.ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) 27.บจก.ไดกิ้น อินดัสทรีส์ (ประเทศไทย) 28.บจก.ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี (ประเทศไทย) 29.บจก.ยูแทคไทย 30.บจก.มิตซูบิชิ อีเลคทริค คอนซูมเมอร์ โปรดักส์ (ประเทศไทย)

 

31.บจก.พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง 32.บมจ.การบินไทย 33.บจก.สยามมิชลิน 34.บมจ.ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) (สาขา 1) 35.บจก.บีเอ็มดับเบิลยู แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) 36.บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล 37.บจก.โตโยต้า ทูโช (ไทยแลนด์) 38.บจก.ค้าผลผลิตน้ำตาล 39.บจก.ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม 40.ราชการกองบัญชาการกองทัพไทย

 

41.บจก.แอลแอลไอที (ประเทศไทย) 42.บจก.ซูมิโตโม รับเบอร์ (ไทยแลนด์) 43.บจก.สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น 44.บจก.ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม 45.บจก.ซี.พี.เมอร์แชนไดซิ่ง 46.บจก.เอสซีจี เพอร์ฟอร์มานซ์ เคมิคอลส์ 47. บจก.โรม อินทิเกรเต็ด ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) 48.บจก.แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) 49.บจก.สแนชั่น (ไทยแลนด์) และ 50.บจก.แคนนอน ปราจีนบุรี (ประเทศไทย)

 

ในฉบับนี้จะเปิดรายชื่อบริษัทส่งออกในอันดับ 51-100  ซึ่งก็พบว่าสัดส่วนกว่า 80% ก็ยังเป็นบริษัทต่างชาติที่เข้ามาตั้งฐานผลิตหรือตั้งสาขาในไทยเพื่อใช้เป็นฐานส่งออก โดยที่เม็ดเงินส่วนใหญ่ตกกับบริษัทแม่ในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่

 

 

โดยอันดับ 51-100 ได้แก่ 51.บมจ.การบินไทย 52.บจก.ริโก้ แมนูแฟคเจอริ่ง(ประเทศไทย) 53.บจก.นิคอน (ประเทศไทย) 54. บมจ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี 55.บจก.มิตซูบิชิ เฮฟวี อินดัสตรีส์-มหาจักร แอร์ คอนดิชั่นเนอร์ส 56.บจก.ฟูจิตสึ เจเนอรัล (ประเทศไทย) 57.บจก.เอ็นเอ็กซ์พี แมนูแฟคเจอริ่ง (ไทยแลนด์) 58.บจก.ไพโอเนียร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) 59.บจก.เซาท์แลนด์รีซอร์ซ 60.บจก.จงเช่อ รับเบอร์ (ไทยแลนด์)

 

61.สถานทูตอเมริกา 62.บจก.ฟูจิคูระ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) 63.บจก.แพนดอร่า โพรดักชั่น 64.บมจ.ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก 65.บมจ.ไทยฮั้วยางพารา 66.บจก.แคนนอน ไฮ-เทค (ประเทศไทย) 67.บจก.แคนาเดียนโซลาร์ แมนูแฟคเจอริ่ง(ประเทศไทย) 68.บจก.เอสซีจี พลาสติกส์ 69.บจก.ชาร์พ แอพพลายแอนซ์(ประเทศไทย) 70.บมจ.ยูนิคอร์ด

 

71.หจก.โอทีแอล (ประเทศไทย) 72.บจก.พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) 73.บมจ.ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป 74.บจก.มาสด้า พาวเวอร์เทรน แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) 75.บจก.เอสซีจี เทรดดิ้ง 76.บมจ.ฮานา ไมโครอิเล็กทรอนิคส์ 77.บจก.ดาว เคมิคอล ประเทศไทย 78.บจก.โฮยาเลนส์ไทยแลนด์ 79.บจก.เอสอีไอ ไทย อิเล็คทริค คอนดัคเตอร์

 

80.บจก.พีทีที ฟีนอล 81.บจก.คาวาซากิ มอเตอร์ เอ็นเตอร์ไพรส์ (ประเทศไทย) 82.บจก.ดีสโตน คอร์ปอเรชั่น 83.บจก.ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง 84.บจก.ไทยแอร์เอเชีย 85.บจก.มิตซูบิชิ อิเลคทริค ไทย ออโต้-พาร์ท 86.บจก.ไทยแอโรว์ 87.บจก.โคเวสโตร (ประเทศไทย) 88.บจก.คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) 89.บจก.สยามโพลิเอททีลีน 90.บจก.พาราโซนิค ออโต้โมทีฟ ซิสเต็มส์ เอเชีย แปซิฟิค

 

91.บจก.โตชิบา คอนซูมเมอร์ โปรดัคส์ (ประเทศไทย) 92.บจก.สยามเลเทกซ์สังเคราะห์ 93.บจก.โตชิบา แคเรียร์ (ประเทศไทย) 94.บมจ.เอสวีไอ 95.บจก.ซี.พี.อินเตอร์เทรด 96.บมจ.ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) 97.บจก.เอเซีย โกลเด้น ไรซ์ 98.บจก.เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ 99.บจก.อีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย 100.บจก.ไทรอัมพ์มอเตอร์ไซเคิลส์ (ไทยแลนด์)

 

ทั้งนี้จะสังเกตเห็นว่าบริษัทที่ลงท้ายด้วยวงเล็บ (ประเทศไทย) (ไทยแลนด์)เป็นบริษัทจากต่างประเทศ และส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และรถยนต์ ที่เป็นสินค้าที่มูลค่าสูง ขณะที่บริษัทไทยที่ติดในกลุ่ม 10 อันดับแรก อยู่ในกลุ่มบริษัทค้าทองคำที่ซื้อมาขายไปเพื่อกินกำไรจากส่วนต่างราคาทองที่ปรับตัวสูงขึ้นมากในปีที่ผ่านมา  ซึ่งไม่ได้มีโรงงานผลิตสินค้า หรือช่วยเพิ่มการจ้างงานในประเทศ

 

ส่วนบริษัทในภาคการผลิตและส่งออกของไทยส่วนใหญ่เป็นบริษัทชั้นนำที่รู้จักกันดี เช่น ไออาร์พีซี กลุ่ม ปตท. ไทยยูเนี่ยนฯ เครือเจริญโภคภัณฑ์(ซีพี) เอสซีจี บริษัทในกลุ่มส่งออกยางพารา และส่งออกข้าว

 

เปิดชื่ออีก  ใคร ? ผู้ส่งออก 100 อันดับแรกของไทย

 

เปิดชื่ออีก  ใคร ? ผู้ส่งออก 100 อันดับแรกของไทย

                                  เกรียงไกร  เธียรนุกุล

 

นายเกรียงไกร  เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ให้ความเห็นกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า บริษัทส่งออก ใน 50 หรือใน 100 อันดับแรกตามรายชื่อแล้ว เป็นบริษัทต่างชาติเป็นส่วนใหญ่ที่เข้ามาลงทุนหรือตั้งสาขาในไทย แล้วก็ใช้ไทยเป็นฐานผลิตเพื่อการส่งออก โดยที่ไทยได้เรื่องค่าแรง การจ้างแรงงาน และได้อย่างอื่นบ้าง แต่ไม่ถือว่ามาก

 

ส่วนบริษัทไทยที่มี 3 บริษัท(วาย แอล จี บลูเลียน อินเตอร์เนชั่นแนล,เอ็มทีเอสโกลด์ (หรือห้างทองแม่ทองสุก),ฮั่วเซ่งเฮง คอมโมดิทัช) ติดกลุ่มใน 10 อันดับแรกแล้วเป็นภาคที่ไม่เกี่ยวกับภาคการผลิต แต่เป็นการส่งออกทองคำเพื่อทำกำไรจากส่วนต่างราคา จากปีที่ผ่านมาราคาทองคำทั้งในและต่างประเทศพุ่งขึ้นสูงมาก

 

ขณะที่บริษัทการบินไทยที่ติดอันดับผู้ส่งออก  50 อันดับแรก มองว่า เป็นรายได้จากการขายตั๋วผ่านเอเย่นต์ในต่างประเทศ รวมถึงการขายเครื่องบินออกไป ขณะที่กองบัญชาการกองทัพไทยก็ติดอันดับส่งออก 50 แรก เป็นเรื่องของการบันทึกทางศุลกากรที่เขานำพวกอาวุธยุทโธปกรณ์เข้ามาร่วมซ้อมรบคอบร้าโกลด์ หรือซ้อมรบกับกับประเทศต่างๆ  ก่อนหน้านี้ แล้วตีเป็นมูลค่าส่งกลับออกไป  แต่ไม่มีภาคการผลิต หรือธุรกรรมที่แท้จริง

 

“ถึงเวลาแล้วที่ไทยต้องกลับมาทบทวน เพื่อปรับโครงสร้างของประเทศ โดยเฉพาะโครงสร้างของการส่งออกเพื่อให้สอดคล้องไปกับทิศทางของโลก เช่นเศรษฐกิจ BCG รวมถึงการพึ่งพาตัวเองจากตลาดหรือการบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้น ก็คือค่อย ๆ ลดจาก 60-70%ของจีดีพี (ที่พึ่งพาการส่งออก) ภายใน 5 ปีจะลดเหลือได้เท่าไหร่ และ 10 ปี เท่าไหร่ 15 ปีเท่าไหร่ 20 ปีเท่าไหร่ ซึ่งตัวเลขที่ดีที่สุด ถ้าเราทำได้ คือการพึ่งพาการส่งออก 50%  และพึ่งพาในประเทศ 50% ก็จะเป็นอะไรที่ทำให้เกิดความเข้มแข็ง แข็งแรง แล้วก็สามารถลดการเสียดทาน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องการค้าระหว่างประเทศ เรื่องของการกีดกันการค้า การถูกตัดจีเอสพี เรื่องแรงงาน รวมไปถึงค่าเงินบาทด้วย” นายเกรียงไกร กล่าว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รู้แล้วจะอึ้ง ! ใครผู้ส่งออก 50 อันดับแรกของไทย

ส่งออกขานรับ ‘ไบเดน’ มั่นใจโตกว่ายุค‘ทรัมป์’

“กรอ.พาณิชย์”เคาะส่งออกปีนี้ ขยายตัว4%

3 บริษัทค้าทองผู้ส่งออก แซงโปรดักส์แชมป์เปี้ยน

“พาณิชย์”ชี้ค้าไทย-เมียนมา กลับเป็นปกติคาดส่งออกดีขึ้น