การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ยังเผชิญความไม่แน่นอนสูง

08 ต.ค. 2564 | 10:44 น.

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ยังเผชิญความไม่แน่นอนสูง : คอลัมน์บทความ โดย ศูนย์วิจัยกรุงศรี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3,720 หน้า 5 วันที่ 7 - 9 ตุลาคม 2564

กิจกรรมทางเศรษฐกิจในเดือนสิงหาคมเกือบทุกภาคได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรง ขณะที่การฟื้นตัวในระยะถัดไปยังมีความไม่แน่นอน โดยดัชนีการบริโภคภาคเอกชนเดือนสิงหาคมลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน (-2.6% MoM sa) ตามกำลังซื้อที่อ่อนแอ และมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวด ความเชื่อมั่นผู้บริโภคตํ่าสุดเป็นประวัติการณ์

ด้านดัชนีการลงทุนภาคเอกชนลดลงจากเดือนก่อนเช่นกัน (-1.6%) โดยลดลงในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ ขณะที่การลงทุนในหมวดก่อสร้างปรับดีขึ้นบ้างหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดในพื้นที่ก่อสร้าง 

ด้านมูลค่าการส่งออกเติบโตชะลอลงเหลือเลขหลักเดียว เนื่อง จากการแพร่ระบาดที่รุนแรงขึ้นทั้งในประเทศและประเทศคู่ค้า และปัญหา supply disruption ทั้งในและต่างประเทศ 

ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปรับลดลงเหลือ 15,105 คนจากเดือนก่อน 18,056 คน นอกจากนี้ ผลของอุปสงค์ทั้งในและต่าง ประเทศที่อ่อนแอลง ประกอบกับปัญหา supply disruption ทำให้ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน

 

เศรษฐกิจในไตรมาส 3 ของปีนี้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรง และมีความเสี่ยงที่จะติดลบเป็นครั้งแรกนับตั้ง แต่ไตรมาส 2 ปีที่แล้ว 

ขณะที่ปัจจุบันสถานการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันที่ผ่านจุดสูงสุดการฉีดวัคซีนที่มีความคืบหน้ามากขึ้น และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดลง 

 

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ยังเผชิญความไม่แน่นอนสูง

 

 

รวมถึงมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐ คาดว่าจะมีส่วนช่วยหนุนให้เศรษฐกิจในช่วงที่เหลือฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่การฟื้นตัวยังไม่สมํ่าเสมอและมีความไม่แน่นอนอยู่ 

 

ศูนย์วิจัยกรุงศรีประเมินภายใต้การฉีดวัคซีนเฉลี่ยวันละ 460,000 โดส และประสิทธิภาพของวัคซีนต่อไวรัสสายพันธุ์เดลต้าอยู่ที่ 50% พบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มลดลงอย่างช้าๆ โดยคาดว่าในช่วงสิ้นปีนี้จะมีผู้ติดเชื้อประมาณ 2,500 รายต่อวัน และเสียชีวิตราว 40 รายต่อวัน 

ทั้งนี้ ประเมินภายใต้ข้อสมมติว่า ทางการยังใช้มาตรการควบคุมการระบาดตลอดทั้งปี แม้จะมีการผ่อนคลายทีละขั้นตอน แต่ยังคงข้อจำกัดบางประการด้วยความระมัดระวัง

นอกจากนี้ ยังต้องติดตามสถานการณ์นํ้าท่วมที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงแก่เศรษฐกิจไทย