หลักฐานเพียบ แก้ “ไอยูยู” ทำเกินกว่าเหตุ

06 มี.ค. 2564 | 09:30 น.

​​​​​​30 มี.ค. ประธานสมาคมประมงฯ พร้อม ชี้แจง สผผ. เผยหลักฐานเพียบ แก้ไอยูยู ทำเกินกว่าเหตุ “เลิกอาชีพ” ขายเรือให้รัฐ บางลำเงินยังไม่ได้ โทษหนัก ค่าปรับสูงสุด 30 ล้าน

กฎระเบียบ “การป้องกัน ยับยั้งและขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and UnregulatedFishing)  หรือ "ไอยูยู ฟิชชิ่ง" ทาง สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน (สผผ.)  มีหน้าที่ในการอำนวยความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนและตรวจสอบกระบวนการบริหารราชการแผ่นดิน รวมถึงอีกภารกิจหนึ่งที่สำคัญ คือ การพิจารณาและแสวงหาข้อเท็จจริง  โดยมุ่งหมายที่จะส่งเสริมสนับสนุนและให้คำแนะนำ

 

เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ขจัดความเหลื่อมล้ำ อำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนอย่างทัดเทียมกัน และลดภาระที่เกิดขึ้นกับประชาชนโดยไม่จำเป็นหรือเกินสมควรแก่เหตุ รวมทั้งขจัดหรือระงับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมที่หน่วยงานของรัฐปฏิบัติต่อประชาชน

 

กำจร มงคลตรีลักษณ์

 

นาย กำจร มงคลตรีลักษณ์ นั่งประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เมื่อความปรากฏต่อประธานผู้ตรวจการแผ่นดินว่า การทำประมงไทยภายใต้กฎหมายประมง ได้แก่ พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558พระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ. 2481  

 

พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 รวมทั้งกฎระเบียบการป้องกัน ยับยั้งและขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and UnregulatedFishing) ซึ่งสหภาพยุโรปได้ประกาศใช้กฎระเบียบดังกล่าวอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563

 

ที่ได้กำหนดให้ประเทศที่จะส่งออกสินค้าประมงไปยังกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจะต้องจัดทำระบบเพื่อป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงแบบ เบU อีกทั้งจะต้องมีระบบที่สามารถตรวจสอบที่มาของสินค้าประมงตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางและมีใบรับรองการจับสัตว์น้ำ (Catch Certificate) ประกอบการส่งออกสัตว์น้ำไปยัง สหภาพยุโรป(อียู) ทุกครั้ง เพื่อรับรองว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ได้มาจากการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (IบU)

 

 

ทั้งนี้ สหภาพยุโรป (อียู) ได้ส่งคณะผู้แทนมาประเมินผลการติดตาม ตรวจสอบ และรายงานผลความคืบหน้าการดำเนินการของประทศไทยในการแก้ไขปัญหาการทำการประมงที่ผิดกฎหมายและการดำเนินการภายใต้กฎระเบียบ อย่างต่อเนื่องประจำทุกปี

 

กรมประมง ได้พยายามแก้ไขปัญหาและดำเนินมาตรการต่าง ๆ ในการควบคุมการทำการประมงของเรือประมงไทยเพื่อมิให้ทำการประมงที่ผิดกฎหมายขาดการรายงานและไร้การควบคุม แต่การดำเนินการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวพบว่า ยังก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบต่อภาคชาวประมง ซึ่งหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีแผนงานรองรับในการแก้ไขปัญหาให้กับชาวประมงอาจส่งผลกระทบต่อการทำประมงไทย

 

ประกอบกับจากการหารือร่วมกับ พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ได้รับทราบถึงปัญหาการทำประมงในพื้นที่จังหวัดปัตตานีโดยเฉพาะปัญหาในการนำเรือประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม หรือ IUU ออกนอกระบบเพื่อจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืนพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยที่มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินที่จะแสวงหาข้อเท็จจริง

 

หรือดำเนินการอื่นใดด้วยความรอบคอบ เพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ปรับปรุงกฎหมาย กฎหรือคำสั่ง หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใด ๆ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องพิจารณาและแสวงหาข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว

 

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยได้รับมอบหมายจากประธานผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การพิจารณาเรื่องดังกล่าวเป็นไปด้วยความรอบคอบ หน่วยงานของรัฐสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดภาระที่จะเกิดขึ้นแก่ประชาชนโดยไม่จำเป็นหรือเกินสมควรแก่เหตุ ตลอดจนนำมาสู่ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

 

จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 25(1 ) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560 ขอให้สมาคมการประมงแห่งประเทศไทยชี้แจงข้อเท็จจริงในประเด็นเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบของการทำประมง ภายใต้กฎหมายประมง โดยขอให้ชี้แจงโดยละเอียด พร้อมทั้งส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปยังสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ สำนักงานผู้ตรวจแผ่นดินได้จัดให้มีการประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าว ในวันอังคารที่ 30 มีนาคม 2564  

 

จับโป๊ะแตก ส่งออกอาหารทะเลไปอียู

นายกำจร กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดี ปัจจุบัน ผมได้สั่งให้กรรมการ ช่วยกันไปร่วมพิจารณาและประชุม ชี้แจงข้อเท็จจริงผลกระทบชาวประมง เรือกลุ่มขาวแดง ประกาศขายแล้ว รัฐยังไม่มาซื้อตามที่รับปาก ที่มีหลายคนรอคอยอยู่ รวมทั้งกฎข้อบังคับ ต่างๆ ที่ไม่เป็นธรรมก่อนหน้านี้ ได้ประชุมร่วมกับคณะทำงานแก้ไขปัญหาประมง แต่ยังไม่มีการประกาศออกมาเลย

 

การกระทำต่างที่ผ่านมาเป็นการแก้ปัญหาประมงเกินกว่าเหตุ มีการใช้ข้อมูลบิดเบือน ทำลายประมง ล่มสลาย บางคนไม่ไหวต้องเลิกอาชีพ ตรงนี้จะเป็นอีกหนึ่งเวที ที่จะร่วมกันสะท้อนชีวิตชาวประมงก่อนที่จะมี พ.ร.ก.การประมง ปี 2558 และหลังมี พ.ร.ก. 2 ฉบับที่บังคับใช้ ซึ่งมีโทษรุนแรงมาก โดนทีหนึ่ง เรียกว่าสิ้นเนื้อประดาตัว โดยเฉพาะค่าปรับ แรงงาน สูงมาก โทษปรับสูงสุด 30 ล้านบาท และปรับเป็นรายบุคคล ปรับเป็นตันกรอสของเรือ

 

นายกำจร กล่าวว่า ข้อมูลที่อ้างจากรัฐในขณะนั้น หากไม่แก้ไข ปรับปรุงตามระเบียบอียู จะทำให้เสียหายกว่า 2 แสนล้านบาท แต่ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทยนำข้อมูลมาเปิดเผย มีมูลค่าส่งออกไปอียู แค่ 5% เพียงแค่กว่า 4 พันล้านบาท ต้องถามกลับว่า คุ้มค่ากับชีวิตชาวประมงหรือไม่ ที่บางคนต้องฆ่าตัวตาย บางคนต้องโทษ บางคนต้องคดี ยังขึ้นลงศาลรายวัน ดังนั้นก็หวังว่า สผผ. จะช่วยเป็นที่พึ่ง ลดภาระ สร้างความเท่าเทียม ให้กับชาวประมง ในฐานะเกษตรกร อีกสาขาหนึ่งใน เกษตรกรรม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ประมงไทย” ล่มสลาย จี้รับผิดชอบ