“บริดจสโตน” ผวายางขาด หลังไทยลดจำนวนต้นยางลง

17 ก.พ. 2564 | 12:29 น.

บอร์ด กยท. แฉ ความจริง “บริดจสโตน” ผวายางโลกขาด หลังไทย หันทำ “สวนยางยั่งยืน” ลดจำนวนต้นยางลง แนะปลูกจำนวนต้นต่อพื้นที่เพิ่มขึ้น ถึงจะมาถูกทาง

สุนทร รักษ์รงค์

 

นายสุนทร รักษ์รงค์ กรรมการการยางแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” นโยบายการผลิตยางของ "บริดจโตน" สวนทางกับ "นโยบายของรัฐบาลไทย" ซึ่งมีเป้าหมายต่างกัน นโยบายย่อมต่างกัน “ผู้ประกอบการ” เป้าหมายสูงสุด คือ "ผลกำไร" สูงสุด กลัววัตถุดิบยางขาดแคลน เลยชูนโยบายการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางโดยการปลูกยางให้มีจำนวนต้นต่อพื้นที่เพิ่มขึ้น

 

แต่ในการทำเกษตรเคมีเชิงเดี่ยว คือการ "ผูกคอเกษตรกร" ให้ติดกับดักต้นทุน ทั้งปุ๋ยและเคมี ผลลัพธ์คือเกษตรกรไทยมีหนี้สินล้นพ้นตัว สุขภาพย่ำแย่ นายทุนผูกขาดมักมีชุดความคิดแบบแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 2504 สมัย ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม ซึ่งล้าสมัยไปแล้ว

 

การมีนโยบายเพิ่มจำนวนต้นยางต่อไร่ให้มากขึ้นของงบริดจโตน น เป็นความคิดที่โคตรล้าหลัง ไม่เคารพ Disruption หรือความเปลี่ยนแปลงของโลก และการพัฒนาที่ยั่งยืน(SDG)ของ UN

 

 

นายสุนทร กล่าววว่า “สวนยางยั่งยืน”  ที่ลดจำนวนต้นยางเหลือ 40-50 ต้น แต่น้ำยางเท่าเดิมหรือมากกว่า ด้วยการปลูกพืชร่วมยาง ปลูกต้นไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ และทำเกษตรผสมผสาน ตามศาสตร์พระราชา คือคำตอบสุดท้าย

 

เพื่อปลดแอกชาวสวนยาง ให้หลุดพ้นจากความเหลื่อมล้ำและความยากจน รวมทั้งเป็นชุดความคิดใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ที่ทรงประสิทธิภาพมากที่สุด อย่างไรก็ดีก็ต้องขอบคุณ “บริดจโตน” ที่ทำให้รู้ว่ากลัวยางขาดตลาด

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปลดแอก “ชาวสวนยางชายขอบ”