ถอดรหัสกองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบ

06 ต.ค. 2563 | 05:40 น.

​​​​​​​อัพเดท  ร่างระเบียบกองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบ มี 8 หมวด คิกออฟ “ศิวะ” เผย 16 ส.ค.64 ทั้งบัตรเขียวและบัตรชมพู ไม่จำกัดสิทธิ์ กว่า 1.8 ล้านคน เฮทั้งประเทศ

เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2563 มีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะทำงานกองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบ ลักษณะสวัสดิการ  อาศัยอำนาจตามความในข้อ3 ของคำสั่งคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทยที่ 9/2563 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานคณะทำงานศึกษาแนวทางการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการเกษตรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบ ลักษณะสังคมสวัสดิการ ลงนามคำสั่งโดย นายสังข์เวิน ทวดห้อย ประธานคณะอนุกรรมการศึกษาข้อมูลการจัดตั้งสวัสดิการเพื่อเกษตรกรชาวสวนยาง ตามมาตรา 49 (5) มีความคืบหน้าตามลำดับ

 

ศิวะ ศรีชาย

 

นายศิวะ ศรีชาย  คณะทำงานศึกษาแนวทางการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการเกษตรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบ ลักษณะสังคมสวัสดิการ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงร่างระเบียบกองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบลักษณะสังคมสวัสดิการว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบ ลักษณะสังคมสวัสดิการ  พ.ศ. 2563  คาดว่าเริ่มใช้ในวันที่ 16 สิงหาคม 2564  ทั้งนี้ร่างระเบียบดังกล่าวมีทั้งหมด 8 หมวด รวมบทเฉพาะกาล

 

สำหรับการดำเนินการจัดตั้งและบริหารกองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบลักษณะสังคมสวัสดิการ  สอดคล้อง  ตามหลักการ  เหตุผล  และสาระสำคัญ   ของพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558 ข้อบังคับคณะกรรมการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ.2559 และระเบียบการยางแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการเพื่เกษตรกรชาวสวนยาง พ.ศ. 2560 และระเบียบการยางแห่ประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวีธีการใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการเพื่เกษตรกรชาวสวนยาง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2563  อาศัยอำนาจตามความในข้อ 15  ของข้อบังคับคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารและจัดสรรเงินกองทุนพัฒนายางพารา พ.ศ.2559  มีการร่างระเบียบซึ่งจะยกตัวอย่างเพียงบางมาตรา

 

หมวดที่1  ข้อความทั่วไป  ข้อ  ๑  ระเบียบนี้เรียกว่า  “ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบลักษณะสังคมสวัสดิการ" ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนกองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบลักษณะสังคมสวัสดิการ  พ.ศ. .............................

 ข้อ  ๒  ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป

 ข้อ  ๓  ในระเบียบนี้

“กองทุน”  หมายความว่า กองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบลักษณะสังคมสวัสดิการ

 

 “เงินกองทุน” หมายความว่า เงินสะสมของสมาชิก และเงินสมทบจากเงินกองทุนพัฒนายางพารา  ตามพระราชบัญญัติการแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๕๘ ในข้อบังคับคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการบริหารและจัดสรรเงินกองทุนพัฒนายางพารา พ.ศ.๒๕๕๙ หมวดที่ ๕ เงินกองทุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการเพื่อเกษตรกรชาวสวนยาง ตามมาตรา ๔๙(๕) หรือเงินที่ได้รับการอุดหนุนหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน

 

 “สมาชิกกองทุน” หมายความว่า เกษตรกรชาวสวนยางตามพระราชบัญญัติการแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๕๘

 

 “คณะกรรมการบริหารกองทุน” หมายความว่า คณะกรรมการที่บริหารกองทุนกองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบลักษณะสังคมสวัสดิการ ระดับอำเภอ  ระดับจังหวัด  ระดับเขต และระดับประเทศ

 

 “คณะกรรมการที่ปรึกษา” หมายความว่า คณะกรรมการที่คณะกรรมการบริหารกองทุนแต่งตั้งขึ้น เพื่อทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการบริหารกิจการกองทุน

 

 “คณะกรรมการบริหารระดับอำเภอ” หมายความว่า  คณะกรรมการที่บริหารกองทุสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบลักษณะสังคมสวัสดิการในระดับอำเภอ

 

 “คณะกรรมการบริหารระดับจังหวัด” หมายความว่า  คณะกรรมการที่บริหารกองทุสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบลักษณะสังคมสวัสดิการในระดับจังหวัด

 

 “คณะกรรมการบริหารระดับเขต” หมายความว่า  คณะกรรมการที่บริหารกองทุสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบลักษณะสังคมสวัสดิการในระดับเขต

 

 “คณะกรรมการบริหารระดับประเทศ” หมายความว่า  คณะกรรมการที่บริหารกองทุสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบลักษณะสังคมสวัสดิการในระดับประเทศ

 

หมวดที่  ๒ วัตถุประสงค์ของกองทุน

 ข้อ  ๔  กองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบลักษณะสังคมสวัสดิการ

มีวัตถุประสงค์ดังนี้

 ๔.๑ เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับอาชีพเกษตรกรชาวสวนยาง

 ๔.๒ เพื่อสร้างหลักประกันความเสี่ยงในอาชีพการทำสวนยาง

 ๔.๓ เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองมากกว่าการพึ่งพาจากภาครัฐ

 ๔.๔ เพื่อให้สามารถกำหนดการบริหารจัดการชุมชนตนเองตามภูมิสังคมที่แตกต่างกัน

 ๔.๕ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความมั่นคงในอาชีพที่ยังยืน

 ๔.๖ เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันในชุมชน

 ๔.๗ เป็นแหล่งเงินทุนในการจัดสวัสดิการตามความต้องการของสมาชิกกองทุน

 

หมวดที่ ๓

สมาชิกกองทุน

 ข้อ ๕ ผู้ที่มีความประสงค์สมัครเป็นสมาชิกกองทุน

ต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้

 ๕.๑ เป็นเกษตรกรชาวสวนยางตามพระราชบัญญัติการแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๕๘

 ๕.๒ มีความสมัครใจที่จะสมทบเงินเข้ากองทุนตามระเบียบของกองทุนกำหนด

 ๕.๓ ยินยอมปฏิบัติตามระเบียบของกองทุนตามที่กำหนด

 

 ข้อ ๖ การสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุน  ดำเนินการดังนี้

 ๖.๑ ต้องมีคุณสมบัติตามข้อ ๕.๑

 ๖.๒ ยื่นใบสมัครเป็นสมาชิกต่อคณะกรรมการระดับอำเภอ

 ๖.๓ ......

 ข้อ ๗ การพ้นสภาพการเป็นสมาชิกกองทุน

 ๗.๑ ตาย

 ๗.๒ ลาออก

 ๗.๓ ขาดการส่งเงิน............เดือน

 ๗.๔ คณะกรรมการให้ออก

 

หมวด ๔

คณะกรรมการบริหารกองทุน / คณะกรรมการที่ปรึกษา

 ข้อ ๘ ให้กองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบลักษณะสังคมสวัสดิการ

ทั้งระดับอำเภอ, ระดับจังหวัด, ระดับเขต  และระดับประเทศ 

มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง

เรียกว่า “คณะกรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบลักษณะสังคมสวัสดิการ ไม่น้อยกว่าเก้าคนแต่ไม่เกินสิบห้าคนซึ่งมาจากสมาชิก โดยการคัดเลือกกันเองจากบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีความรับผิดชอบ ที่จะบริหารจัดการกองทุน และเป็นที่ยอมรับของสมาชิก  

 

(๘.๑)  คณะกรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบลักษณะสังคมสวัสดิการ

ระดับอำเภอ จำนวน  ๑๑  คน ประกอบด้วย

1. ประธานกรรมการ จำนวน ๑ คน

2. รองประธานกรรมการ จำนวน ๒ คน

3. เหรัญญิก จำนวน ๑ คน

4. ผู้ช่วยเหรัญญิก จำนวน ๑ คน

5. เลขานุการ จำนวน ๑ คน

6. ผู้ช่วยเลขานุการ จำนวน ๑ คน

7. กรรมการ จำนวน ๔ คน

 

(๘.๒) คณะกรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบลักษณะสังคมสวัสดิการระดับจังหวัด

มีจำนวน  ๑๓  คน ประกอบด้วย

1. ประธานกรรมการ จำนวน ๑ คน

2. รองประธานกรรมการ จำนวน ๒ คน

3. เหรัญญิก จำนวน ๑ คน

4. ผู้ช่วยเหรัญญิก จำนวน ๑ คน

5. เลขานุการ จำนวน ๑ คน

6. ผู้ช่วยเลขานุการ จำนวน ๑ คน

7. กรรมการ จำนวน ๖ คน

(๘.๓) คณะกรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบลักษณะสังคมสวัสดิการระดับเขต

มีจำนวน  ๑๕  คน ประกอบด้วย

1. ประธานกรรมการ จำนวน ๑ คน

2. รองประธานกรรมการ จำนวน ๒ คน

3. เหรัญญิก จำนวน ๑ คน

4. ผู้ช่วยเหรัญญิก จำนวน ๑ คน

5. เลขานุการ จำนวน ๑ คน

6. ผู้ช่วยเลขานุการ จำนวน ๑ คน

7. กรรมการ จำนวน ๘ คน

 

หมวดที่ ที่ ๓ สมาชิกกองทุน

 ข้อ ๕ ผู้ที่มีความประสงค์สมัครเป็นสมาชิกกองทุน ต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้

 ๕.๑ เป็นเกษตรกรชาวสวนยางตามพระราชบัญญัติการแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๕๘

 ๕.๒ มีความสมัครใจที่จะสมทบเงินเข้ากองทุนตามระเบียบของกองทุนกำหนด

 ๕.๓ ยินยอมปฏิบัติตามระเบียบของกองทุนตามที่กำหนด

 ข้อ ๖ การสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุน  ดำเนินการดังนี้

 ๖.๑ ต้องมีคุณสมบัติตามข้อ ๕.๑

 ๖.๒ ยื่นใบสมัครเป็นสมาชิกต่อคณะกรรมการระดับอำเภอ

 ๖.๓   ข้อ ๗ การพ้นสภาพการเป็นสมาชิกกองทุน

 ๗.๑ ตาย

 ๗.๒ ลาออก

 ๗.๓ ขาดการส่งเงิน............เดือน

 ๗.๔ คณะกรรมการให้ออก

 

หมวด ๔

คณะกรรมการบริหารกองทุน / คณะกรรมการที่ปรึกษา

 ข้อ ๘ ให้กองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบลักษณะสังคมสวัสดิการ ทั้งระดับอำเภอ, ระดับจังหวัด, ระดับเขต  และระดับประเทศ  มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบลักษณะสังคมสวัสดิการ ไม่น้อยกว่าเก้าคนแต่ไม่เกินสิบห้าคนซึ่งมาจากสมาชิก โดยการคัดเลือกกันเองจากบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีความรับผิดชอบ ที่จะบริหารจัดการกองทุน และเป็นที่ยอมรับของสมาชิก  

 

(๘.๑)  คณะกรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบลักษณะสังคมสวัสดิการ ระดับอำเภอ จำนวน  ๑๑  คน ประกอบด้วย 1. ประธานกรรมการ จำนวน ๑ คน 2. รองประธานกรรมการ จำนวน ๒ คน  3. เหรัญญิก จำนวน ๑ คน  4. ผู้ช่วยเหรัญญิก จำนวน ๑ คน  5. เลขานุการ จำนวน ๑ คน 6. ผู้ช่วยเลขานุการ จำนวน ๑ คน 7. กรรมการ จำนวน ๔ คน

 

(๘.๒) คณะกรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบลักษณะสังคมสวัสดิการระดับจังหวัด มีจำนวน  ๑๓  คน ประกอบด้วย  1. ประธานกรรมการ จำนวน ๑ คน 2. รองประธานกรรมการ จำนวน ๒ คน 3. เหรัญญิก จำนวน ๑ คน 4. ผู้ช่วยเหรัญญิก จำนวน ๑ คน 5. เลขานุการ จำนวน ๑ คน 6. ผู้ช่วยเลขานุการ จำนวน ๑ คน 7. กรรมการ จำนวน ๖ คน

 

(๘.๓) คณะกรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบลักษณะสังคมสวัสดิการระดับเขต มีจำนวน  ๑๕  คน ประกอบด้วย1. ประธานกรรมการ จำนวน ๑ คน 2. รองประธานกรรมการ จำนวน ๒ คน 3. เหรัญญิก จำนวน ๑ คน 4. ผู้ช่วยเหรัญญิก จำนวน ๑ คน 5. เลขานุการ จำนวน ๑ คน 6. ผู้ช่วยเลขานุการ จำนวน ๑ คน 7. กรรมการ จำนวน ๘ คน

(๘.๔) คณะกรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบลักษณะสังคมสวัสดิการระดับประเทศ มีจำนวน  ๑๕  คน ประกอบด้วย  1. ประธานกรรมการ จำนวน ๑ คน  2. รองประธานกรรมการ จำนวน ๒ คน 3. เหรัญญิก จำนวน ๑ คน 4. ผู้ช่วยเหรัญญิก จำนวน ๑ คน  5. เลขานุการ จำนวน ๑ คน 6. ผู้ช่วยเลขานุการ จำนวน ๑ คน

 

7. กรรมการ จำนวน ๖ คน

ข้อ ๙ ให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษากองทุนคณะหนึ่ง  เรียกว่า “คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารกองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบลักษณะสังคมสวัสดิการ เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการบริหารกองทุน  จำนวนไม่เกิน ............คน  ข้อ ๑๐ คณะกรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ  1. ตาย 2. พ้นจากการเป็นสมาชิก 3. ลาออก 4. ครบวาระ..........ปี  5. ต้องโทษคดีทางอาญา  6. มติประชุมใหญ่ให้ออกเสียงเกินกว่าสองในสามของสมาชิกทั้งหมด

 

ข้อ ๑๑ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้  กำหนดนโยบาย หลักการ และวิธีดำเนินการของกองทุน

พิจารณาและให้ความเห็นชอบในการจัดสวัสดิการต่างๆให้แก่สมาชิกพิจารณาจัดสรรการใช้เงินสวัสดิการของกองทุน ควบคุม ติดตาม และประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของกองทุน

 

ข้อ ๑๒ ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินงานของกองทุน  ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก  จำนวน  ..........คน

 

หมวดที่ ๕  กองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบลักษณะสังคมสวัสดิการ  ข้อ ๑๓ รายได้ของเงินกองทุนมาจาก สมาชิกของกองทุนในแต่ละเดือน เงินสมทบจากการยางแห่งประเทศตาม ข้อ ๓  (วรรค ๒) เงินอุดหนุนจากหน่วยงานของรัฐ และ องค์กรเอกชน ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร

 

ข้อ ๑๔ ให้คณะกรรมการตาม ข้อ ๘ รวบรวมรายชื่อสมาชิกที่มีความประสงค์สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนทุกรายในพื้นที่ แล้วนำรายชื่อมายื่นสมัครกับการยางแห่งประเทศไทยในพื้นที่นั้นๆ

 ข้อ ๑๕ ให้คณะกรรมการตาม ข้อ ๘ ไม่น้อยกว่า  ๓ คน เปิดบัญชีออมทรัพย์บัญชีที่ ๑ ภายใต้ชื่อบัญชี “กองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบลักษณะสังคมสวัสดิการ(ระบุชื่อ)............................................ตำบล............................อำเภอ..................จังหวัด............................” ไว้กับธนาคาร เพื่อรับฝากเงินในแต่ละเดือนของสมาชิก  คณะกรรมการตาม ข้อ ๘ ไม่น้อยกว่า  ๓ คน เปิดบัญชีออมทรัพย์บัญชีที่ ๒  ภายใต้ชื่อบัญชี “กองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบลักษณะสังคมสวัสดิการ (ระบุชื่อ)............................................ตำบล............................อำเภอ..................จังหวัด............................”  ไว้กับธนาคาร เพื่อเงินโอนสมทบจาก การยางแห่งประเทศไทย หรือหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน

 

 ข้อ ๑๖ ให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีสมาชิก อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ภายในกำหนดระยะเวลา สามวัน นับจากสิ้นปีทางบัญชี เพื่อพิจารณาผลการดำเนินงานของกองทุน  ข้อ ๑๗ นอกจากการประชุมใหญ่สามัญประจำปีแล้ว คณะกรรมการกองทุน อาจเรียกประชุมวิสามัญเมื่อใดก็ได้   เมื่อมีเหตุที่ต้องขอมติ  หรือขอความเห็นชอบจากที่ประชุมสมาชิกตามระเบียบนี้ หรือเมื่อคณะกรรมการเห็นสมควร 

 

ข้อ ๑๘ ในการประชุมสมาชิกแต่ละครั้งต้องมาสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม การประชุมคราวใดมีสมาชิกไม่ครบองค์ประชุม ให้นัดประชุมอีกคั้งหนึ่งภายในสิบห้าวันนับแต่วันนัดประชุมครั้งแรก ในการประชุมครั้งหลังถ้ามิใช่การประชุมใหญ่สามัญประจำปี เมื่อสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดให้ถือเป็นองค์ประชุม   ข้อ ๑๙ สมาชิกคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งเสียงในการออกเสียงลงคะแนน  ถ้าคะแนนเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงชี้ขาด การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเป็นเสียงข้างมาก

 

หมวดที่ ๖ สวัสดิการของกองทุน  ข้อ ๒๐ ให้กองทุนจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิกดังต่อไปนี้  ๒๐.๑ ด้านการเกิด  (๑) ค่ารับขวัญ

 (๒) ค่าคลอดบุตร  (๓).....................  ๒๐.๒ ด้านการเจ็บ  (๑) เงินชดเชยกรณีนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล วันละ.................บาท ไม่เกิน.............วัน/ครั้ง และไม่เกิน..................วัน/ปี  (๒)

 

๒๐.๓ ด้านการแก่   (๑) เงินบำนาญเมื่อเป็นสมาชิก............ปี และอายุครบ  ๖๐  ปี   ๒๐.๔ ด้านการตาย  (๑) เงินทำบุญเมื่อสมาชิกเสียชีวิตรายละ...............บาท   (๒)..........................................................................................  ๒๐.๕ ด้านอื่นๆ

 (๑) ...........................................................................................

 

หมวดที่ 7 การทำบัญชีและการตรวจสอบ  ข้อ ๒๑ ให้คณะกรรมการกองทุนจัดทำบัญชีของกองทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด และจัดทำรายรับ-จ่ายเงินกองทุน อย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง และแจ้งให้สมาชิกทราบ  รวมทั้งให้จัดทำสรุปผลการดำเนินงานประจำปีรายงานต่อคณะกรรมการอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง  คณะกรรมการกองทุนต้องจัดให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการบริหารจัดการ การเงิน  การบัญชี  และการพัสดุ โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบของสมาชิกเป็นหลัก ให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบ เพื่อตรวจสอบ และประเมินผลการบริหารจัดการกองทุน และการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนได้ตามที่เห็นสมควร

โดยให้คณะกรรมการกองทุน มีหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบ ให้ผู้ตรวจสอบตามวรรคสอง จัดส่งผลการประกอบการและงบการเงินให้การยางแห่งประเทศไทยสาขา ภายในเวลาหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี ( ๓๑  ธันวาคม ของทุกปี )  ข้อ ๒๒ ให้คณะกรรมการกองทุน จัดทำงบการเงินพร้อมทั้งรายละเอียดประกอบตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด และส่งให้ผู้ตรวจสอบบัญชีที่คณะกรรมการกำหนดภายในระยะเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีของทุกปี ให้คณะกรรมการกองทุน สรรหาผู้ตรวจสอบบัญชีเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ประจำปี เพื่อขอความเห็นชอบในการทำหน้าที่ตรวจสอบผลการจ่ายเงิน และทรัพย์สินของกองทุนโดยให้แสดงความคิดเห็นเป็นข้อวิเคราะห์การใช้จ่ายเงินของคณะกรรมการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ หรือไม่ และ หมวดที่ 8 บทเฉพาะกาล

ร่างกองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบ

ถอดรหัสกองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบ

ถอดรหัสกองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบ

ถอดรหัสกองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบ

ถอดรหัสกองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบ

 

หนังสือแต่งตั้งคณะทำงาน

ถอดรหัสกองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบ

 

ถอดรหัสกองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รุกจัดสวัสดิการชาวสวนยาง "กยท."ดึงสมาชิก1.8ล้านรายสมทบ'กองทุน'