ขนม็อบ ขวาง กยท. ยุบรวมเขตภาคใต้ตอนกลาง

09 ธ.ค. 2563 | 20:00 น.

เดือด "เครือข่ายยางใต้"  ขวางการยุบรวม กยท.เขตภาคใต้ตอนกลาง สุดตัว จี้ "ประพันธ์" ต้องถอนมติ ไม่เช่นนั้นจะขนม็อบบุก เกษตรฯ พบรัฐมตรี หลังพ้นกำหนดเส้นตาย 7 วัน นับตั้งแต่วันยื่นหนังสือ "ถนอมเกียรติ" อุบ แฉ

การประชุมคณะกรรมการเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เขตภาคใต้ตอนกลาง (คยท.) ครั้งที่ 2-2564วันที่ 8 ธันวาคม 2563 ณ ห้องประชุมศูนย์เรียนรู้ยางพารา จังหวัดกระบี่โดยมี คณะกรรมการเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางระดับจังหวัด นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง กระบี่  พังงา ภูเก็ต ระนองและคณะกรรมการเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางระดับเขตภาคใต้ ตอนบน ตอนกลาง และตอนล่าง เข้าร่วมประชุม ในการนี้ นายสุนทร  รักษ์รงค์ กรรมการการยางแห่งประเทศไทย (บอร์ด กยท.)และ นายสุขทัศน์  ต่างวิริยกุล รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยด้านธุรกิจและปฏิบัติการ ได้รับเชิญมาเข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นด้วย

 

ขนม็อบ ขวาง กยท. ยุบรวมเขตภาคใต้ตอนกลาง

 

โดยมีวาระสำคัญในการประชุมคือการพิจารณามติที่ประชุมของคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (บอร์ด กยท.) เมื่อวัน  26 พฤศจิกายน 2563 เรื่องกำหนดให้มีส่วนงานที่ดำเนินการด้านธุรกิจและควบคุมการผลิตอยู่ภายใต้สังกัดเดียวกัน เพื่อให้สามารถบริหารจัดการได้อย่างเป็นระบบ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยรวมงาน กยท.เขตภาคใต้ตอนบน กยท.เขตภาคใต้ตอนกลาง และ กยท.เขตภาคใต้ตอนล่าง" จาก 3 เขต เป็น 2 เขต เพื่อกำหนดส่วนงานเพื่อดูแลด้านธุรกิจขององค์กร ดังนี้

 

“กยท.เขตภาคใต้ตอนบน, กยท.เขตภาคใต้ตอนกลาง, กยท.เขตภาคใต้ตอนล่าง" จาก 3 เขต เป็น 2 เขต เพื่อกำหนดส่วนงานที่ดูแลด้านธุรกิจขององค์กร ดังนี้ กยท.เขตภาคใต้ตอนบน รับผิดชอบ กยท.จังหวัด 7 แห่ง ได้แก่  กยท.สุราษฎร์ธานี (ที่ตั้ง กยท.เขต)  ชุมพร,ระนอง,พังงา,นครศรีธรรมราช, ภูเก็ต และ กระบี่ ส่วน กยท.เขตภาคใต้ตอนล่าง รับผิดชอบ กยท.จังหวัด 7 แห่ง ได้แก่ กยท.จ.สงขลา (ที่ตั้งเขต) พัทลุง, ตรัง, สตูล, ปัตตานี, ยะลา, นราธิวาส “

 

ขนม็อบ ขวาง กยท. ยุบรวมเขตภาคใต้ตอนกลาง

 

ทั้งนี้กำหนด "กยท.ส่งเสริมและบริหารการผลิต" โดยควบคุม กำกับและดูแลธุรกิจ โรงงานและสวนยาง ซึ่งในที่ประชุมคณะกรรมการเครือข่ายสถาบันฯ ได้หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาพิจารณาและอภิปรายแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง ใช้เวลาหลายชั่วโมง สุดท้าย ที่ประชุมมติเห็นชอบการคัดค้าน ไม่เห็นด้วยกับมติของที่ประชุมบอร์ด กยท. ในเรื่องดังกล่าว และมีมติเคลื่อนไหวคัดค้านโดยการร่วมกันลงชื่อในหนังสือแสดงความไม่เห็นด้วย คัดค้าน ส่งไปถึงประธานบอร์ด กยท. นายประพันธ์  บุณยเกียรติ และ ดร.เฉลิมชัย  ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้ยับยั้งในเรื่องนี้ โดยเร็วที่สุดพร้อมกับเสนอให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อพิจารณาหาแนวทางการบริหารจัดการโรงงานและสวนยาง ของ กยท. ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่เขตภาคใต้ตอนกลาง ต่อไป

 

สรุปข้อเสนอและเรียกร้องของเครือข่ายสถาบันเกษตรกรเขตภาคใต้ ทั้ง 3 เขต และมติที่ประชุมคณะกรรมการเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางระดับประเทศ มีมติ ดังนี้ 1. ให้ทบทวนมติที่ประชุมคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (บอร์ด กยท.) เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2563 2.ให้ปฏิบัติตามข้อเสนอของที่ประชุมของคณะกรรมการเครือข่ายสถาบันฯเขตภาคใต้ ทั้ง 3 เขต ที่เสนอไปกับนายสุขทัศน์  ต่างวิริกุล รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ฝ่ายธุรกิจและปฏิบัติการ

 

เพื่อเปิดโอกาสให้ประธานเครือข่ายสถาบันฯเขตภาคใต้ ทั้ง 3 เขต ได้เข้ายื่นหนังสือคัดค้าน ข้อเสนอแนะ ต่อ ประธานฯ "ประพันธ์  บุณยเกียรติ" และ คณะกรรมการการยางฯ (บอร์ด กยท.) 3. ให้ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการ เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของสวนยางและโรงงาน เป็นหน่วยธุรกิจ  4. ให้แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพของโรงงานและสวนยางให้มีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มความสามารถ มากยิ่งขึ้นโดยให้มีคณะกรรมการเครือข่ายสถาบันฯเขตภาคใต้ ทั้ง 3 เขต และหน่วยธุรกิจ(BU) ของ กยท.เข้าไปมีส่วนร่วมในคณะทำงาน

 

หมายเหตุ ทั้ง 4 ข้อเสนอ ให้ประธานฯ และคณะกรรมการการยางฯ (บอร์ด กยท.) ดำเนินการให้ได้รับคำตอบภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือ แต่ถ้าไม่เป็นไปตามข้อเสนอนี้  เครือข่ายสถาบันฯเขตภาคใต้ ทั้ง 3 เขต ร่วมกับเครือข่ายสถาบันฯระดับประเทศ.ทั่วประเทศ พร้อมด้วยสมาชิกจาก กยท.ทุกสาขา (อย่างน้อยสาขาละ 1 คันรถตู้) จะเดินทางเข้าพบท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์(ดร.เฉลิมชัย  ศรีอ่อน) เพื่อเสนอให้ใช้อำนาจรัฐมนตรี รักษาการตาม พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 พิจารณาดำเนินการต่อไป

.

.

ถนอมเกียรติ ยิ่งฉ้วน

 

สอดคล้องกับ นายถนอมเกียรติ ยิ่งฉ้วน ที่ปรึกษาประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า เรื่องดังกล่าว มีความไม่ชอบมาพากล ซึ่งยังไม่อยากจะแฉไปมากกว่านี้ แต่ถ้าพ้นขีดเส้น 7 วัน จะพูดแบบหมดเปลือก ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพราะฉะนั้นอย่าบังคับให้พูดออกมา ซึ่งวันนี้ทางเครือข่ายถามถึงเหตุผลว่าทำไมถึง ยุบ ก็ยังตอบไม่ได้ หรือไม่ก็บอกว่า แค่ปรับโครงสร้าง ผมก็ถามต่อทำไมถึงเปลี่ยน จะมาอ้างการลดงบประมาณ แต่ความจริงภาคใต้จ่ายเงินเซสส์กิโลกรัมละ 2 บาท แต่ได้มาเพียงแค่ 40% หลายเรื่องมีผลกระทบ วันนี้ต้องเอาความจริงมาพูดกัน แต่ถ้าไม่ยอม ก็เป็นไปตามมติ ที่ประชุม

 

บรรจงกิจ บุญโชติ

 

ด้าน บรรจงกิจ บุญโชติ ประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า การที่ บอร์ด กยท.เสนอยุบเขตใต้กลางจากทั้งหมด7เขต เหลือ 6 เขต ชึ่ง เขตภาคใต้กลาง จำนวนปริมาณยางก็มีมาก สถาบันเกษตรกรก็มีมาก วันนี้ถามว่าถ้าพวกผมรวมตัวกันยุบ "บอร์ดการยาง" ออกสักสองถึงสามคน พวกคุณจะว่าอย่างไร  เขาเข้ามาบริหารให้องค์กรใหญ่ขึ้น นี่กลับมาบริหารให้องค์กรเล็กลง ถ้าเล็กลงแล้วบอร์ดก็ต้องลดจำนวนลงด้วย ตกลงหรือไม่ ถ้ายุบ กยท.เขตใต้กลางพวกผมก็จะรวมตัวกันลดท่านออกจากบอร์ดแน่นนอน

 

 

ขนม็อบ ขวาง กยท. ยุบรวมเขตภาคใต้ตอนกลาง

 

แหล่งข่าวบอร์ด กยท. เผยว่า เป็นเรื่องความไม่โปร่งใสใน กยท. ในการประชุมคณะกรรมการฯ(บอร์ด) ครั้งล่าสุด มีมติเสียงส่วนใหญ่ (6 เสียงจาก 15 เสียง) มีบอร์ดไม่เห็นด้วย 3 เสียง นอกนั้นงดออกเสียง
ให้ยุบเลิกสำนักงานการยางแห่งประเทศไทย เขตภาคใต้ตอนกลาง (กยท.ขตก.) ซึ่ง 1 ใน 6 เสียง  คือ นายพีระพันธ์ เหมะรัต กรรมการโดยตำแหน่ง ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้ซึ่งกำลังเป็นที่กังขากันทั่วไปว่า มีคุณสมบัติตรงตามตำแหน่ง และแต่งตั้งได้ตามกฏหมาย หรือไม่ 


"จากการตั้งข้อสังเกตการได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม จะต้องเป็น "ข้าราชการ" ในสังกัด หากเป็นคนนอก จะต้องผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบก่อน หากไม่มีมติ ครม. คงจะมีปัญหาและผิดกฎหมาย อาจส่งผลกระทบต่อมติของคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย ที่ผ่านมาว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่?"