“เกษตรกร” เสียชีวิต ก่อนมติ ครม.ชวดเยียวยาเกษตรกร

06 มิ.ย. 2563 | 08:40 น.

ตรวจสอบสิทธิ์เยียวยาเกษตรกร ก.เกษตรฯ เคลียร์ชัด "เกษตรกร" เสียชีวิต ก่อน มติ ครม.28 เม.ย. "ทายาทเกษตรกร" ชวด เงินเยียวยา5,000 แต่หากหลังมีมติ ครม. ต้องไม่ซ้ำซ้อนต้องเข้าหลักเกณฑ์การจ่ายเงิน "เยียวยาเกษตรกร"

จากมาตรการเยียวยาเกษตรกร ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทยอยโอนเงินเยียวยารายละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือน พ.ค.-ก.ค. 2563 ให้กับเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์ ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค.63 ที่ผ่านมา โดยเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์นั้นจะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการ "เราไม่ทิ้งกัน" รวมถึงผู้มีประกันตน ข้าราชการประจำที่รับเงินเดือนจากกรมบัญชีกลาง และข้าราชการบำนาญ จะไม่เข้าหลักเกณฑ์การในการจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกรในครั้งนี้

แหล่งข่าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” เมื่อได้รับข้อมูลจาก ธ.ก.ส. ได้ส่งรายชื่อเกษตรกรที่มีสิทธิ์รับเงินเยียวยาเกษตรกร 132,905 รายที่เสียชีวิตคืนกลับมาที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อตรวจสอบสิทธิ์การรับเงินเยียวยาใหม่ จะเช็กไปที่เกษตรกรที่เสียชีวิต หากเสียชีวิตก่อน มติ ครม. วันที่ 28 เมษายน 2563  ทายาทจะไม่ได้รับเงินเยียวยาเกษตรกร

แต่ถ้าเสียชีวิตหลัง มติ ครม.วันที่ 28 เมษายน 2563 ซึ่งทายาทที่ได้จะมีสิทธิ์ได้เงินเยียวยาเกษตรกร และจะต้องทำการเกษตรแทนหัวหน้าครอบครัวที่เสียชีวิต ผ่านการตรวจสอบความซ้ำซ้อนกับผู้ได้รับสิทธิ์ตามโครงการเยียวยา 5,000 บาท เราไม่ทิ้งกัน มาตรการเยียวยาผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ไม่เป็นข้าราชการบำนาญ และ ข้าราชการ ซึ่งการคัดกรองแม้จะทำให้เกิดความล่าช้าในการจ่ายเงินเยียวยาบ้าง แต่ก็ต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบ

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เช็กเงินเข้า เยียวยาเกษตรกร ตรวจสอบยื่นอุทธรณ์ “อธิบดีกรมปศุสัตว์” เผยมีอุทธรณ์สำเร็จ เช็กด่วน

"เยียวยาเกษตรกร" กลุ่ม3 กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดแอพ FARMBOOK รับขึ้นทะเบียนเกษตรกร

ปิดอุทธรณ์ “เยียวยาเกษตรกร” ตรวจสอบสถานะ รับเงิน 5,000 บาท ผ่านแอป "เกษตรดิจิทัล"

 

ทั้งนี้ทายาทเกษตรกรสามารถ ตรวจสอบสถานะ ตรวจสอบสิทธิ์เงินเยียวยาเกษตรกร ได้ที่ www.moac.go.th "ตรวจสอบสิทธิ์เงินเยียวยาเกษตรกร" หากตรวจสอบพบว่าเป็นผู้มีสิทธิ์รับเงินเยียวยา สามารถตรวจสอบผลการโอนเงิน หรือแจ้งช่องทางโอนเงินในกรณีไม่มีบัญชีเงินฝากกับธ.ก.ส.ได้ที่ www.เยียวยาเกษตรกร.com