จับตาให้ดี นักเศรษฐศาสตร์ฮาร์วาร์ดชี้ “ฮ่องกงอาจเป็นจุดเริ่มต้นเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก”

24 ส.ค. 2562 | 23:59 น.

ขณะที่การชุมนุมประท้วงในฮ่องกงยังคงดำเนินต่อไปเข้าสู่สัปดาห์ที่ 12 และยังคงมีการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจลเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (24 ส.ค.) คาร์เมน ไรน์ฮาร์ท นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวกับสถานีโทรทัศน์บลูมเบิร์กว่า เหตุการณ์การความไม่สงบในฮ่องกงอาจเป็นจุดเปลี่ยนสำหรับเศรษฐกิจโลก

  คาร์เมน ไรน์ฮาร์ท

เมื่อพิจารณาถึงเหตุการณ์ต่างๆที่ส่งผลสั่นสะเทือนการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น  ไรน์ฮาร์ทกล่าวว่าเหตุการณ์ในฮ่องกงคือหนึ่งในสิ่งที่น่าวิตกมากที่สุด ทั้งนี้ ในเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาเธอได้ออกมาเตือนว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ของฮ่องกงกำลังอยู่ในสภาวะฟองสบู่ และแง้มว่าเศรษฐกิจโลกจะได้รับผลกระทบที่น่ากลัวทั้งในรูปแบบเหตุการณ์ที่ ‘ซัดโครมโฉ่งฉ่าง’ หรือ ‘ค่อยๆกระซิบ’


 

จับตาให้ดี นักเศรษฐศาสตร์ฮาร์วาร์ดชี้ “ฮ่องกงอาจเป็นจุดเริ่มต้นเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก”

“สิ่งที่น่าวิตกอย่างมากในตอนนี้คือสถานการณ์ความไม่สงบในฮ่องกง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อจีนและเอเชียในวงกว้างขึ้น และจะไม่เป็นการบานปลายแค่ในระดับภูมิภาค แต่จะกระเทือนไปทั่วโลก โดยอาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ก่อให้เกิดการชะลอตัวหรือภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก”

 

ไรน์ฮาร์ทกล่าวว่า การชุมนุมประท้วงรัฐบาลในฮ่องกงที่เข้าสู่เดือนที่ 3 กำลังสร้างแรงกดดันเพิ่มมากขึ้นให้กับเศรษฐกิจของฮ่องกงเองที่บอบช้ำอยู่แล้วจากผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ และภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวของจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งจากการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์จัดทำโดยบลูมเบิร์กชี้ว่า อัตราภาษีใหม่ที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ขู่จะเล่นงานสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่า 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จะส่งผลฉุดรั้งอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจรายปีของจีนให้ลงมาอยู่ในระดับต่ำกว่า 6% ซึ่งจะเป็นการขยายตัวในอัตราต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2533


 

ทั้งนี้ หลังจากที่ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯสาขาบอสตัน นายอิริก เอส โรเซนเกรน ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์วิกฤติในฮ่องกงว่าเป็นประเด็นที่น่ากังวลในระดับโลก บรรดานักวิชาการต่างทยอยออกมาเตือนในทำนองเดียวกัน อิริกกล่าวว่า เห็นได้ชัดเจนแล้วว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในฮ่องกงสามารถส่งผลกระทบขยายวงกว้างออกไปยังตลาดต่างประเทศ “ฮ่องกงเป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ระดับโลก ดังนั้น เราจึงต้องกังวลว่าทางออกของปัญหาเหล่านี้จะเป็นอย่างไร”

 

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมายังมีความเคลื่อนไหวในสหรัฐฯเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยนายมิตช์ แม็คคอนเนล ผู้นำเสียงข้างมากในสภาสูงของสหรัฐฯ ผู้ที่เขียนกฎหมายปี 1992 ซึ่งเป็นกรอบทางกฎหมายที่รัฐบาลสหรัฐฯ มีข้อตกลงในการปฏิบัติเป็นกรณีพิเศษต่อฮ่องกงที่ต่างจากจีนทั้งหมด ทั้งในประเด็นการค้าและเศรษฐกิจ แม็คคอนเนลได้เขียนบทความในเดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัลว่า วุฒิสภาสหรัฐฯจะพิจารณาทบทวนเกี่ยวกับความสัมพันธ์พิเศษนี้หากสถานะการเป็นเขตปกครองตนเองของฮ่องกงถูกทำลายลง “ความจริงที่เห็นก็คือสถานการณ์ที่อ่อนแอลงในฮ่องกง  ซึ่งเราได้เห็นการชะลอตัวในหลายภาคส่วน และนับวันสถานการณ์ยิ่งจะเลวร้ายลงอีก” ไรน์ฮาร์ทกล่าวในที่สุด

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

● โจฉัว หว่อง ขู่ชุมนุมยาวถึง1ตุลาวันชาติจีน ปลุกสหรัฐหนุนประท้วงในฮ่องกง

● สนามบินฮ่องกงประกาศทำการบินปกติวันนี้

● ตรวจแถวส่องกำลังพลจีนประจำการในฮ่องกง

● "สุวรรณภูมิแจงยกเลิก 14 เที่ยวบินฮ่องกง จัดพื้นที่รองรับ

● จับสัญญาณ จีนสนธิกำลัง พร้อมใช้ ‘กำปั้นเหล็ก’ กับผู้ชุมนุม

● ทางการจีนลั่นประท้วงปิดสนามบิน "สัญญาณก่อการร้าย"

● เปิดภาพดาวเทียม "shut down"สนามบินฮ่องกง

● ระส่ำหนัก! 60 เที่ยวบินไทย-ฮ่องกงยกเลิก

● กระทรวงต่างประเทศเตือนคนไทยออกจากสนามบินฮ่องกงด่วน

● ฮ่องกงยกเลิก เที่ยวบินเข้า-ออกทั้งหมด การบินไทยยกเลิกแล้ว 3 เที่ยวบิน

● ยกเลิกเที่ยวบินทั้งหมด ผู้ประท้วงยึดสนามบินฮ่องกง

● เข้าพื้นที่แล้วผู้ประท้วงขอยึดสนามบินฮ่องกงชุมนุม 3 วัน

● สุวรรณภูมิ” เคลียร์พื้นที่ รับผู้โดยสารตกค้างจากม็อบฮ่องกง

● วิทยุการบินฯ แจง ม็อบฮ่องกงไม่กระทบเที่ยวบินในไทย

● สมคิด” สั่งรับมือผลกระทบจาก “ฮ่องกง

● ม็อบฮ่องกงป่วนรถไฟใต้ดิน เศรษฐกิจจ่อทรุดต่ำสุดในรอบ 10 ปี

● ประท้วงในฮ่องกงเริ่มแบ่งสีเสื้อ ทุบภาพลักษณ์ท่องเที่ยว-การเงิน

● ม็อบฮ่องกงเดือด รำลึก 22 ปีคืนสู่จีนแผ่นดินใหญ่

● ทำไมคนฮ่องกง ถึงออกมาประท้วงเรือนล้าน กรณีส่งผู้ร้ายข้ามแดน

● #612strike ยกระดับรุนแรง ฮ่องกงใช้ตำรวจปราบจลาจลสลายม็อบ

● ผู้ชุมนุมล้อมสภาฯ ฮ่องกงเลื่อนพิจารณาแก้ก..ผู้ร้ายข้ามแดนไม่มีกำหนด!

● สถานกงสุล” เตือนคนไทย เลี่ยงพื้นที่ชุมนุมในฮ่องกง