เบื้องหลังกทม.หักดิบ ยึดโครงการท่อร้อยสาย2หมื่นล.

26 มิ.ย. 2562 | 02:37 น.

ยังไม่จบเรื่องกังขากับการนำสายสื่อสารลงใต้ดินของกรุงเทพ มหานคร เพราะตอนนี้ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศ ไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ สทค. และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) แสดงความกังวลเรื่องราคาค่าเช่าท่อร้อยสายที่แพงกว่าของ ทีโอที และดำเนินธุรกิจนี้ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่เข้าข่ายตามพระราชบัญญัติ การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 หรือไม่

ย้อนกลับไปเมื่อวันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2562 มีการประชุมหารือหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำสายสื่อสารลงใต้ดินของกรุงเทพมหานคร โดย “ฐานเศรษฐกิจ” ได้สรุปความเห็นที่ประชุม และมติที่ประชุมที่สำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ ติดตามอ่านได้จากบรรทัดถัดจากนี้

ที่ประชุมในวันนั้นมีการแจ้งเรื่องเพื่อทราบ คือ คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีประชุมเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 และที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้กรุงเทพมหานครดำเนินการตามแนวทางการสร้างท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินในพื้นที่กรุงเทพ มหานครตามที่เสนอ

ขณะที่สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ สทค. และ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาว

ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงแนวทางปฏิบัติการดำเนินงานอันได้แก่ แนวทางการใช้โครงข่ายและโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน, การกำหนดราคาค่าธรรมเนียมการใช้พื้นที่ที่เหมาะสม และกำหนดราคาค่าเช่าท่อร้อยสายสื่อสารและการใช้โครงข่ายร่วมกันที่เหมาะสม

เบื้องหลังกทม.หักดิบ  ยึดโครงการท่อร้อยสาย2หมื่นล.

 

นายกฯให้ กทม.จัดการ

อย่างไรก็ตาม กรุงเทพ มหานคร ได้แสดงความเห็นที่ประชุมว่า นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กรุงเทพมหานคร ดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสาร ภายในระยะเวลา 3 ปี จัดระเบียบ สายสื่อสารลงใต้ดินในพื้นที่นอกเหนือจากโครงการมหานครอาเซียน ระยะทาง 2,400 กิโลเมตร จากเส้นทางทั้งหมดประมาณ 3,500 กิโลเมตร ปัจจุบันได้ผู้ชนะการแข่งขัน และอยู่ระหว่างการลงนามสัญญา มีการประสานงานกับสำนักงาน กสทช.กำหนดราคาค่าเช่าท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดิน เพื่อไม่ให้สูงเกินกว่าที่ประกาศในปัจจุบัน

 

กทม.รับข้อเสนอจัดทำราคา

กรุงเทพมหานคร ยืนยันว่าจะดำเนินการตามมติที่ประชุมคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีประชุมครั้งที่ 5/2561 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 และจะรับข้อเสนอที่ประชุมเพื่อจัดทำราคาค่าเช่าท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดิน ในอัตราท่อ Subduct/กิโลเมตร/เดือน ทั้งค่าบำรุงรักษา ค่าธรรมเนียมต่างๆ รวมทั้งเงื่อนไขการให้บริการ เสนอที่ประชุมคณะกรรมการโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลต่อไป

 

กสทช. ลดค่า USO

ด้านสำนักงาน กสทช. ชี้แจงว่า มีการออกนโยบายจูงใจ โดยผู้ประกอบการสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการนำสายสื่อสารลงใต้ดินมาลดหย่อนค่าธรรมเนียม USO ได้ไม่เกิน 60% ของรายได้และไม่เกิน 200 ล้านบาทต่อปี เช่น ค่าเช่าท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดิน ค่าแรงติดตั้ง ขณะที่การไฟฟ้านครหลวง ได้มีโครงการ SOCC (Single Overhead Communication Cable) โดยใช้ท่อแบบเดียวกับใต้ดินนำมาร้อยสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้า จะเหลือสายเพียงเส้นเดียว เป็นการกำหนดมาตรฐาน รูปแบบสายที่จะมาพาดบนเสาไฟฟ้า ซึ่ง กสทช.ได้ร่วมประชุมการดำเนินโครงการนำร่องนี้ด้วย

เบื้องหลังกทม.หักดิบ  ยึดโครงการท่อร้อยสาย2หมื่นล.

 

สหภาพTOTชี้ควรหารือก.ม.

ในการประชุมครั้งนั้น สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ว่าควรหารือข้อกฎหมายกับสำนักงานกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และสำนักงาน กสทช.ในประเด็นบทบาทอำนาจหน้าที่ การดำเนินงานของบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ดำเนินธุรกิจนี้ถูกต้องตาม กฎหมายหรือไม่ เข้าข่ายตามพระราชบัญญัติ การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 หรือไม่ รวมถึงวิธีการดำเนินการต้องประมูลหรือสามารถดำเนินการรายเดียวได้

 

สทค.ย้ำค่าเช่าท่อแพง

ส่วนทางด้านข้อเสนอของ สทค.นั้นมีข้อกังวลหลายเรื่องโดยเฉพาะค่าเช่าท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดิน 9,650 บาท/Subduct/กิโลเมตร/เดือน ใช้อ้างอิงเฉพาะโครงการมหานครอาเซียนเท่านั้น แต่ราคาค่าเช่าท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินของกรุงเทพมหานคร ยังคงมีราคาแพง 7,000-9,000 บาท/Micro Duct/กิโลเมตร/เดือน

 

เบื้องหลังกทม.หักดิบ  ยึดโครงการท่อร้อยสาย2หมื่นล.

ผ่ามติที่ประชุม

ที่ประชุมเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2562 มีมติให้กรุงเทพมหานครจัดทำราคาค่าเช่าท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดิน ในอัตราต่อ Subduct/กิโลเมตร/เดือน ทั้งค่าบำรุงรักษา ค่าธรรมเนียม เสนอที่ประชุมคณะกรรมการโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลต่อไป และเห็นควรหารือข้อกฎหมายกับ สำนักงานกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และสำนักงาน กสทช. ในประเด็นบทบาท อำนาจหน้าที่ การดำเนินงานของ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ตามพระราชบัญญัติ การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 เป็นต้น

และทั้งหมด คือ สรุปการประชุม และมติที่ประชุมการหารือหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำสายสื่อสารลงใต้ดินของกรุงเทพมหานคร 

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3482 ระหว่างวันที่ 27 - 29 มิถุนายน 2562

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

● คุ้ยหลักฐาน กทม.ส่อพิรุธท่อร้อยสาย

● สมเกียรติอัด กทม.ให้เอกชนผูกขาดท่อร้อยสาย

● แจงสัมปทานท่อร้อยสาย 2หมื่นล้าน30ปีโปร่งใส

● จี้รื้อสัมปทานทรูบิ๊กสื่อสารรุมต้านผูกขาด30ปีท่อร้อยสาย

● เปิดปูมท่อร้อยสาย 2หมื่นล้าน

● ทรูร่อนหนังสือแจงยังไม่ลงนามสัญญาท่อร้อยสายกทม.

● 6ยักษ์สื่อสารจี้นายกฯ เบรกท่อร้อยสายกทม.2หมื่นล.

● ท่อร้อยสายวุ่น จ่อรื้อสัญญาทรู

● ไขปม ท่อร้อยสาย ให้สิทธิ์เอกชน80%ไม่ผูกขาด

● ใคร...ลุยไฟ ใช้เงิน2.5หมื่นล้าน เพื่อสัมปทานท่อร้อยสาย 30ปี

● บิ๊กกรุงเทพธนาคม โต้ทุกข้อกล่าวหา ท่อร้อยสายสื่อสาร 2 หมื่นล้าน

● กทม.ลักไก่ ท่อร้อยสาย ไร้ราคากลาง

● ท่อร้อยสายใต้ดิน โอนผูกขาด อำนาจรัฐสู่เอกชน

● ‘รสนา’ชี้ทิ้งทวนท่อร้อยสาย ก่อนหมดวาระผู้ว่าฯกทม.

●  สหภาพแคทฯ ร้องนายก ค้านท่อร้อยสาย

● ‘TOT-CAT’ ดับเครื่องชน ท่อร้อยสายกทม.

● ‘ทีโอที’ฮึดสู้! ปรับราคาท่อร้อยสาย

● 'กทม.' หน้ามืดตามัว มีใบอนุญาต 15 ปี ให้สัมปทาน 30 ปี

● ชำแหละผูกขาด ท่อร้อยสาย 2.5 หมื่นล้าน

● ธนาคมฯฝืนกระแสจ่อเซ็นสัญญากับทรูฯ มูลค่า 2.5 หมื่นล้าน

● กสทช.สั่งรื้อโครงการท่อร้อยสายกทม.

● จ่อฟันโครงการท่อร้อยสาย ชี้ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 50 จัดการแน่!

เบื้องหลังกทม.หักดิบ  ยึดโครงการท่อร้อยสาย2หมื่นล.