ไม่อยากเป็น “ไข้หูดับ” ต้องกินและปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง

23 มิ.ย. 2564 | 13:21 น.

นายกสมาคมสัตวแพทย์ฯ ชี้ไข้หูดับป้องกันได้ บริโภคหมูปรุงสุกเท่านั้น ซื้อจากแหล่งผลิตมาตรฐาน เน้น "ปศุสัตว์ OK" 7 พันจุดทั่วประเทศ

ผศ.น.สพ.ดร.สุเจตน์ ชื่นชม นายกสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย กล่าวว่า โดยปกติแล้วการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรฟโตคอกคัส ซูอิส (Streptococus suis) เกิดจากการรับประทานเนื้อสัตว์ดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ อาทิ ลาบดิบ ก้อย ส้า หลู้หมู ซอยจุ๊ ก๋วยเตี๋ยวหมูหมก แหนมดิบ รวมถึงการปิ้งย่างแบบกึ่งสุกกึ่งดิบ ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะป่วยด้วยโรคไข้หูดับ หรือทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นสาเหตุให้เกิดประสาทหูดับเฉียบพลัน สูญเสียการได้ยิน จนอาจทำให้หูหนวกถาวร การติดเชื้อในกระแสเลือด และกรณีร้ายแรงที่สุดอาจเสียชีวิตได้ ส่วนกรณีล่าสุดที่มีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าว หลังจากการสอบสวนโรคพบว่าอาจมีโอกาสที่จะเกิดจากเชื้อเข้าทางบาดแผล ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ได้พบบ่อยนัก ประชาชนจึงไม่ควรตื่นตระหนก เพราะมีวิธีการป้องกันได้ ด้วยการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกเท่านั้น โดยการรับประทานเนื้อสัตว์ทุกชนิด ต้องปรุงให้สุกที่อุณหภูมิตั้งแต่ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป เป็นเวลาอย่างน้อย 10 นาที เพื่อให้มั่นใจว่าเนื้อสุกทั่วถึง และเชื้อโรคต่าง ๆ จะถูกทำลายได้ในอุณหภูมิและเวลาดังกล่าว

ไม่อยากเป็น “ไข้หูดับ” ต้องกินและปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง

ไข้หูดับไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เป็นโรคที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสุขลักษณะของผู้บริโภค โอกาสติดเชื้อมีสองทางคือทางการกินและการสัมผัสเชื้อโดยตรง ดังนั้นการป้องกันคือคำตอบที่ดีที่สุด โดยต้องเลิกรับประทานเนื้อสัตว์ดิบ หรือกึ่งสุกกึ่งดิบอย่างเด็ดขาด กรณีที่มีบาดแผลที่มือ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสเนื้อสัตว์หรือเลือดสัตว์ โดยต้องสวมถุงมือป้องกัน เพื่อลดโอกาสเสี่ยงจากเชื้อที่อาจปนเปื้อนจากแผลที่มือเข้าสู่เนื้อหมูหรือจากเนื้อหมูเข้าสู่แผล ต้องแยกอุปกรณ์สำหรับอาหารดิบและอาหารสุกออกจากกัน เพื่อป้องกันอีกระดับหนึ่ง เช่นการใช้เขียง หรือการใช้ตะเกียบสำหรับคีบเนื้อสด และเนื้อสุก ควรแยกกันด้วย จึงจะปลอดภัยจากเชื้อโรคต่างๆ” ผศ.น.สพ.ดร.สุเจตน์ กล่าว

ไม่อยากเป็น “ไข้หูดับ” ต้องกินและปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง

นอกจากนี้ ขอเน้นย้ำผู้บริโภคให้หลีกเลี่ยงการรับประทานหมูที่ไม่ทราบแหล่งที่มา หรือจากแหล่งจำหน่ายที่ไม่ผ่านการรับรองของกรมปศุสัตว์ ควรเน้นเลือกซื้อเนื้อหมูจากฟาร์มมาตรฐาน GAP หรือ GFM และผ่านโรงฆ่าที่ได้มาตรฐาน จำหน่ายในสถานที่จำหน่ายที่กรมปศุสัตว์รับรอง หรือสังเกตเครื่องหมาย “ปศุสัตว์ OK” ที่ปัจจุบันกระจายอยู่ทั่วประเทศ มากกว่า 7 พันจุดทั่วประเท

 ส่วนวิธีการป้องกันสำหรับผู้ทำงานที่ต้องใกล้ชิดหรือสัมผัสตัวหมู เนื้อ เลือด ต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน อาทิ รองเท้าบู๊ท ถุงมือยาง สวมเสื้อผ้าที่รัดกุม หากมีบาดแผลต้องปิดให้มิดชิดหรือสวมถุงมือ ล้างและฟอกสบู่ทุกครั้งที่สัมผัสหมูดิบหรือชำแหละหมู สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย 100% หมั่นล้างมือทุกครั้ง ซึ่งนอกจากจะป้องกันไข้หูดับแล้ว ยังช่วยป้องกันเชื้อโควิด-19 อีกด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

เตือน! กิน "หมูดิบ"เสี่ยงป่วย ไข้หูดับ

รวมข่าว "โควิด-19" วันที่ 23 มิ.ย.64 แบบอัพเดทล่าสุด

จับลักลอบเคลื่อนย้ายสุกร ไม่มีใบอนุญาต

“กรมปศุสัตว์” ชี้ฝีหนองในเนื้อหมู ไม่ใช่โรคติดต่อสู่คน

ตั้งรางวัล 1 หมื่น ล่าจับ ผู้ทำลายซากหมูไม่ถูกวิธี