กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ “ฤดูฝน” ปี 2564

23 เม.ย. 2564 | 12:10 น.

“ฤดูฝน” ประจำปี 2564 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดกลางสัปดาห์ที่ 2 เดือนพฤษภาคม  ปีนี้จะมากกว่าค่าเฉลี่ย 5-10% ระวัง ส.ค.-ก.ย. ฝนตกชุก เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ ฤดูฝน ปี2564  คาดว่า จะเริ่มต้นประมาณกลางสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม 2564 ซึ่งจะเร็วกว่าปกติเล็กน้อย และจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนตุลาคม 2564 โดยปริมาณฝนรวมของทั้งประเทศในช่วงฤดูฝนปีนี้จะมากกว่าค่าปกติร้อยละ 5 – 10 และจะมากกว่าปีที่แล้ว (ปีที่แล้วในช่วงฤดูฝนปริมาณฝนรวมน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 3 และปริมาณรวมทั้งปีน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 4) โดยช่วงครึ่งแรกของฤดูฝน (ประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม) ปริมาณฝนรวมส่วนใหญ่จะมากกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 10 ส่วนช่วงครึ่งหลังฤดูฝน (เดือนสิงหาคมถึงกลางตุลาคม) ปริมาณฝนรวมส่วนใหญ่จะใกล้เคียงค่าปกติ

 

ในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน ซึ่งเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกหนาแน่นที่สุด และมีโอกาสสูงที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบน ซึ่งจะส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่และอาจก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำตลิ่งได้ในบางแห่ง

 

ลักษณะอากาศทั่วไปในช่วงกลางและปลายเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มมากขึ้นและต่อเนื่องโดยส่วนใหญ่มีฝนตกร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง เนื่องจาก มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย โดยมีกำลังแรงเป็นระยะๆ

 

ประกอบกับจะมีร่องมรสุมพาดผ่านประเทศไทยตอนบนเป็นระยะๆ นอกจากนี้ จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงก่อตัวบริเวณทะเลอันดามัน แล้วทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชั่นหรือพายุไซโคลน และเคลื่อนตัวเข้าใกล้ด้านตะวันตกของประเทศไทย

 

จากนั้นช่วงประมาณครึ่งแรกของเดือนกรกฎาคม ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง และอาจทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำด้านการเกษตรในบางแห่ง โดยเฉพาะพื้นที่ที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยจะมีก าลังอ่อนลง ส่วนร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณตอนใต้ของประเทศจีน

 

สำหรับช่วงตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ประเทศไทยจะกลับมามีฝนตกชุกหนาแน่นอีกครั้งโดยส่วนใหญ่จะมีฝนตกร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่เป็น กับมีฝนหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งในหลายพื้นที่ เนื่องจาก มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย จะกลับมามีก าลังแรงเป็นระยะๆ และต่อเนื่องมากขึ้น ประกอบกับร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบนเป็นระยะๆ


คาดการณ์ฤดูฝน ปี2564

 

ส่วนในเดือนตุลาคม ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลงและเริ่มจะมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า โดยเฉพาะตอนบนของภาค แต่ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่นต่อไป กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง เนื่องจาก บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะเริ่มแผ่ลงมาปกคลุมตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับร่องมรสุมจะเลื่อนลงไปพาดผ่านบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบนและภาคตะวันออก นอกจากนี้ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยจะเริ่มเปลี่ยนเป็นมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมแทน

 

“พายุหมุนเขตร้อน" (ดีเปรสชั่นโซนร้อนและไต้ฝุ่น) สำหรับในช่วงฤดูฝนปีนี้ คาดว่า จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยจำวน 2-3 ลูก โดยมีโอกาสสูงที่จะเคลื่อนผ่านบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือในช่วงเดือนสิงหาคมหรือกันยายน”

 

รายละเอียดคาดการณ์ตามภาคต่างๆ

“ภาคเหนือ”  เดือนพฤษภาคม คาดว่า ปริมาณฝนรวมจะมากกว่าค่าปกติร้อยละ 20 (ค่าปกติ 178 มิลลิเมตร) จากนั้น เดือนมิถุนายนถึงตุลาคม ปริมาณฝนรวมจะใกล้เคียงค่าปกติ(ค่าปกติ 156, 176, 223, 218 และ 124มิลลิเมตร ตามลำดับ)

 

"ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ" เดือนพฤษภาคมและเดือนกันยายน คาดว่า ปริมาณฝนรวมจะมากกว่าค่าปกติ ร้อยละ 10 และ 5 ตามลำาดับ (ค่าปกติ 187 และ 242 มิลลิเมตร ตามลำดับ) ส่วนเดือนอื่นๆ ปริมาณฝนรวมจะใกล้เคียงค่าปกติ(ค่าปกติ 203, 211, 266 และ 117 มิลลิเมตร ตามลำดับ)

 

"ภาคกลาง" เดือนพฤษภาคม คาดว่า ปริมาณฝนรวมจะมากกว่าค่าปกติร้อยละ 20 (ค่าปกติ 172 มิลลิเมตร)จากนั้น เดือนมิถุนายนถึงตุลาคม ปริมาณฝนรวมจะใกล้เคียงค่าปกติ(ค่าปกติ 145, 156, 181, 257 และ 187มิลลิเมตร ตามลำดับ)

 

"ภาคตะวันออก" เดือนพฤษภาคม คาดว่า ปริมาณฝนรวมจะมากกว่าค่าปกติร้อยละ 10 (ค่าปกติ 224มิลลิเมตร) จากนั้น เดือนมิถุนายนถึงตุลาคม ปริมาณฝนรวมจะใกล้เคียงค่าปกติ(ค่าปกติ 262, 278, 303, 330 และ 225 มิลลิเมตร ตามลำดับ)

 

"ภาคใต้ฝั่งตะวันออก" (ฝั่งอ่าวไทย) เดือนพฤษภาคมและตุลาคม คาดว่า ปริมาณฝนรวมจะมากกว่าค่าปกติร้อยละ 10 และ 5 ตามลำดับ (ค่าปกติ 144 และ 255 มิลลิเมตร ตามล าดับ) ส่วนเดือนมิถุนายน ปริมาณฝนรวมจะน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 10 (ค่าปกติ 113 มิลลิเมตร) สำหรับเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ปริมาณฝนรวมจะใกล้เคียงค่าปกติ (ค่าปกติ 119, 124 และ 150 มิลลิเมตร ตามลำดับ)

 

"ภาคใต้ฝั่งตะวันตก" (ฝั่งทะเลอันดามัน) เดือนพฤษภาคมและตุลาคม คาดว่า ปริมาณฝนรวมจะมากกว่าค่าปกติร้อยละ10 และ 5 ตามลำดับ (ค่าปกติ 310 และ 367 มิลลิเมตร ตามล าดับ) ส่วนเดือนมิถุนายน ปริมาณฝนรวมจะน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 10 (ค่าปกติ 312 มิลลิเมตร) ส าหรับเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ปริมาณฝนรวมจะใกล้เคียงค่าปกติ (ค่าปกติ 337, 399 และ 424 มิลลิเมตร ตามลำดับ)

 

"กรุงเทพมหานครและปริมณฑล" เดือนพฤษภาคม คาดว่า ปริมาณฝนรวมจะมากกว่าค่าปกติร้อยละ 20(ค่าปกติ 248 มิลลิเมตร) จากนั้น เดือนมิถุนายนถึงตุลาคม ปริมาณฝนรวมจะใกล้เคียงค่าปกติ(ค่าปกติ 157, 175,219, 334 และ 292 มิลลิเมตร ตามลำดับ

 

กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ “ฤดูฝน” ปี 2564

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง