svasdssvasds
logo-pwa

เพิ่ม thansettakij

ลงในหน้าจอหลักของคุณ

ติดตั้ง
ปิด
thansettakij

130 ปี ก.เกษตรฯ ดัน “4 เป้าหมาย 15 นโยบาย” พ้นกับดักยากจน

31 มีนาคม 2564

"อลงกรณ์" เผย รัฐมนตรีเกษตรฯ แม่ทัพ เดินหน้าชู  “4 เป้าหมาย 15 นโยบาย” นำ "เกษตรกร" พ้นกับดักยากจน

อลงกรณ์ พลบุตร

 

วันที่ 31 มีนาคม 2564 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยว่า ว่า วันพรุ่งนี้ จะตรงกับ วันที่ 1 เมษายนนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะก้าวเข้าสู่ปีที่ 130  ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทานสู่มิติใหม่ภายใต้เป้าหมายใหม่ ได้แก่

 

1. เพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมหรือจีดีพีในประเทศสาขาเกษตรเฉลี่ย 3.8% ต่อปี 2) เพิ่มผลิตภาพการผลิตของภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1.2% ต่อปี 3) ลดเกษตรกรที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนไม่น้อยกว่า 10% ต่อปี 4) เพิ่มพื้นที่ชลประทานไม่ต่ำกว่าปีละ 350,000 ไร่

 

ทั้งนี้ ภายใต้วิกฤติโควิด 19 ที่ผ่านมา ยอมรับว่ามีปัญหาอุปสรรคอย่างมาก จึงจำเป็นต้องมีกลยุทธ์และยุทธศาสตร์บริหารการพัฒนาที่ชัดเจนสามารถปฏิบัติได้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ จึงได้วางแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรกรรม 5 ยุทธศาสตร์ และ15 นโยบายหลัก เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารสู่เป้าหมายดังกล่าว

 

ได้แก่ 1.ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต 2. ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 3. ยุทธศาสตร์ “3’s” (Safety-Security-Sustainability- เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคงและเกษตรยั่งยืน) 4. ยุทธศาสตร์การบริหารเชิงรุกแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะโมเดล “เกษตร-พาณิชย์ทันสมัย” และ 5. ยุทธศาสตร์เกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวทางศาสตร์พระราชา

 

นอกจากนั้น ยังมีการกำหนด 15 นโยบายหลักที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคการเกษตรอย่างเป็นระบบประกอบด้วย 1. นโยบาย “ตลาดนำการผลิต” เพิ่มช่องทางตลาดให้หลากหลายทั้งออฟไลน์และออนไลน์ 2. การสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันเกษตรกรและเศรษฐกิจฐานราก 3. การส่งเสริมสถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการ และ Start up 4. การส่งเสริมเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) 5. การพัฒนาศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC)

 

6. การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตร 7. การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ 8. การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม และแปลงใหญ่ 9. การส่งเสริมศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) 10. การ ประกันภัยพืชผลให้ความคุ้มครองความเสียหายหรือความสูญเสียต่อพืชผล 11. การส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อเป็นภูมิคุ้มกัน และสร้างความมั่นคงแก่เกษตรกร 12. การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน

13. การวิจัยและพัฒนา เพื่อตอบสนองการพัฒนาภาคเกษตรของประเทศไทย บนพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม 14. การพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศ Big Data โดยศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ และ 15. การประกันรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมันและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  ซึ่งทั้งหมดในเบื้องต้นเป็นแนวทางพัฒนาและปฏิรูปภาคการเกษตรไทยที่จะสร้างความมั่นคงให้เกษตรและคาดว่าจะสามารถขจัดความยากจนให้เกษตรกรอย่างยั่งยืนต่อไป 

 

สำหรับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในชื่อ กระทรวงเกษตรพานิชการ มีเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) ขณะมีบรรดาศักดิ์ที่ "พระยาภาสกรวงศ์ "เป็นเสนาบดีคนแรกจนถึงปีนี้ครบ 129 ปี ที่กระทรวงเกษตรฯ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเกษตรกรรม การจัดหาแหล่งน้ำและพัฒนาระบบชลประทาน ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ส่งเสริมและพัฒนาระบบสหกรณ์ รวมตลอดทั้งกระบวนการผลิตและสินค้าเกษตรกรรม และราชการอื่นที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์