พาณิชย์ ชี้ส่งออกไทยปีหน้าเริ่มฟื้นตัว ตลาดหลัก-ตลาดรองเริ่มกลับมาฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง สินค้าส่งอออกไทยหลายตัวเริ่มมีทิศทางทีดีขึ้น คาดตัวเลขส่งออกปี64 ขยายตัว4% ส่วนส่งออก11เดือนปีนี้ ติดลบ6.96% ทั้งปีน่าจะติดลบ6-7%
นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยถึง สถานการณ์การส่งออกไปยังตลาดสำคัญๆของไทยว่าเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป แม้ว่าแนวโน้มการฟื้นตัวจะชะลอลงบ้างจากการกลับมาแพร่ระบาดของของไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศ โดยภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ โดย ตลาดหลัก ยังคงขยายตัว 5.9% เช่น ตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวสูงต่อเนื่อง 15.4% และญี่ปุ่นกลับมาขยายตัว 5.4% ขณะที่สหภาพยุโรป (15) ติดลบ8.5%
ส่วนตลาดศักยภาพสูงยังคง ติดลบ 11% โดยตลาดจีน ติดลบ 8.9% อาเซียน (5)ติดลบ 15% และ CLMV ติดลบ13% เป็นต้น ในขณะที่ ตลาดศักยภาพระดับรอง ขยายตัว 4.2 % ตามการขยายตัวต่อเนื่องของส่งออกไปทวีปออสเตรเลีย (25)ที่ขยายตัว23.7% แอฟริกาขยายตัว 4.9% เป็นต้น
อย่างไรก็ตามตลาดหลักอย่างสหรัฐในช่วง11เดือนขยายตัว9% สินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ ผลิตภัณฑ์ยาง รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศ โทรศัพท์และอุปกรณ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ตลาดจีน 11 เดือน ขยายตัว 1.5 % สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมพิวเตอร์ และเม็ดพลาสติก เป็น ตลาดญี่ปุ่น กลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือนที่ 5.4% สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ โทรศัพท์และอุปกรณ์ ยางพารา และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น ขณะที่ 11 เดือนแรกของปี 2563 หดตัว 8.4%
ตลาดสหภาพยุโรป (15) ติดลบ 8.5% สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ และเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น ด้านสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง หม้อแปลงไฟฟ้า และโทรศัพท์และอุปกรณ์ เป็นต้น ขณะที่ 11 เดือนแรกของปี 2563 ติดลบ13.6% ตลาดอาเซียน (5) 11 เดือนติดลบละ 13.2%ตลาด CLMV 11 เดือนติดลบ 11.6% เป็นต้น
ส่งผลให้การส่งออกเดือนพฤศจิกายน ว่ามีมูลค่า18,923 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดลบ3.65% นำเข้า มีมูลค่า18,880ล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดลบ0.99% แต่ดุลการค้าเป็นบวก52.59ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้การส่งออก11เดือน(ม.ค.-พ.ย.)ส่งออกมีมูลค่า211,385ล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดลบ6.92% นำเข้ามีมูลค่า187,872ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือลด13.74%แต่ไทยยังได้ดุลการค้า มีมูลค่า23,512ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังได้สัญญาณการส่งออกและการค้าโลกดีขึ้นและการฟื้นตัวตามทิศเศรษฐกิจและการค้าโลกปรับตัวดีขึ้น และเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญโดยเฉพาะเอเชียเริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง สินค้าอาหารเกษตร เกษตรแปรรูป สินค้าที่เกี่ยวกับWORK For HOME และสินค้าที่เกี่ยวกับการป้องกันโควิด-19ยังคเป็นสินค้ากลุ่มหลักที่ยังขยายตัวได้ดีและมีคงามสามารถในการแข่งขัน เป็นต้น ส่วนปัจจัยเสี่ยง การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดรอบใหม่ อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ยังคงเป้าส่งออกทั้งปีที่ติดลบ6-7% หากส่งออกเดือนที่เหลือสามารถทำได้18,500ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ส่วนปีหน้าคาดว่าส่ออกน่าจะเป็นบวกที่4%
“ตลาดส่งออก ตลาดสหรัฐฯ และออสเตรเลีย ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่หลายตลาดกลับมาฟื้นตัวเป็นบวกอีกครั้ง โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และมาเลเซีย รวมทั้งตลาดอื่นๆ ที่มีสัดส่วนสำคัญกับการส่งออกไทย ล้วนมีอัตราการหดตัวที่ลดลงมากในเดือนนี้ เช่น อาเซียน (5) และตะวันออกกลาง ในขณะที่การค้าชายแดนของไทย โดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม CLMV ยังได้รับผลกระทบจากการกลับมาแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา ”
สำหรับการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ติดลบละ 2.4% เป็นการติดลบที่ลดลงจากเดือนก่อน ซึ่งสินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ ยางพารา ขยายตัว 32.5% ขยายตัว 2 เดือนต่อเนื่อง อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัว 23.6% ขยายตัว 15 เดือนต่อเนื่อง ข้าว กลับมาขยายตัว 16.7% ในรอบ 7 เดือน ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง กลับมาขยายตัว14% ในรอบ 2 เดือน
ส่วนการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมติดลบ 2.9% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 เดือน สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ กลับมาขยายตัว 10.3% ในรอบ 9 เดือน ผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัว 13.3% ขยายตัว 6 เดือนต่อเนื่อง เป็นต้น