ม็อบ ‘มะพร้าว-มัน’ ฟื้นเขย่ารัฐ 7 ต.ค. นี้

02 ต.ค. 2562 | 08:20 น.

บังเอิญ! ม็อบชนม็อบ “มะพร้าว-มัน” ตบเท้าเข้าทำเนียบฯ วันที่ 7 ต.ค.นี้ ด้าน “พงษ์ศักดิ์” แกนนำมะพร้าว มานอนรอข้างคลองกระทรวงศึกษาฯ  รอทัพใหญ่จากประจวบฯ สมทบตั้งแต่วันที่ 5 ต.ค.ปิดถนน 1 เลนพร้อมกับพวกสมัชชาคนจนฯ ขณะที่แกนนำมันฯ ขนป้าย เครื่องไฟพร้อมกับมันฯ เตรียมเทหน้าทำเนียบฯกระทุ้งต้องทำตามสัญญาประกันรายได้

 

ช่วงโค้งสุดท้ายของปลายปีสินค้าเกษตรยิ่งทวีความร้อนแรงระอุขึ้นทุกขณะ แม้ว่าราคามะพร้าวจะทะยานพุ่งไปอยู่ที่ลูกละ 20 บาท จนทำให้โรงงานกะทิระงมทั้งประเทศผวาขาดทุน ต้องดิ้นขอนำเข้ากว่า 7.2 หมื่นตัน คิดปริมาณกว่า 60 ล้านผล ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ของปีนี้นั้น

ม็อบ ‘มะพร้าว-มัน’ ฟื้นเขย่ารัฐ 7 ต.ค. นี้

นายพงษ์ศักดิ์ บุตรรักษ์ ผู้ประสานงานกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าจะเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไปพร้อมกับคณะของสมัชชาคนจนนอกอยู่ข้างกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคมนี้จะปิดถนน 1 เสน เพื่อรอคณะใหญ่จากประจวบฯลงมาสมทบพร้อมกับป้ายผ้า แล้วมายื่นข้อเรียกร้องในวันที่ 7 ตุลาคมนี้

ม็อบ ‘มะพร้าว-มัน’ ฟื้นเขย่ารัฐ 7 ต.ค. นี้

สาระสำคัญก็คือ ต้องยุตินำเข้ามะพร้าวผล กะทิเข้มข้น และน้ำกะทิแช่เข็ง เนื้อมะพร้าวสด จนกว่าสถานการณ์ราคามะพร้าวจะดีขึ้น จะต้องกำหนดคุณสมบัตินำเข้า ก็คือให้ผู้นำเข้านำมาใช้ในกิจการของตนเองเท่านั้น ห้ามบุคคลหรือนิติบุคคลที่มิได้ดำเนินกิจการผลิตกะทิ หรือน้ำมันมะพร้าวเพื่อการส่งออกไปต่างประเทศนำเข้า ห้ามจ่ายโอนวัตถุดิบมะพร้าวที่นำเข้าโอนไปยังผู้อื่นโดยเด็ดขาด หากกระทำผิดให้กำหนดโทษพักใบอนุญาต 5 ปี โดยให้ประกาศเป็นกฎกระทรวง

ม็อบ ‘มะพร้าว-มัน’ ฟื้นเขย่ารัฐ 7 ต.ค. นี้

นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า การสำรวจพื้นที่เพาะปลูกควรใช้เทคโนโลยีดาวเทียมในการสำรวจและสำรวจทุกปี และการคำนวณมะพร้าวต่อผลตามความเป็นจริง (8 บาท :ผล) และการสำรวจผลผลิตต่อต้นต่อเดือนให้เป็นปัจจุบัน (7-8 ผล ต่อต้นต่อเดือน) สำรวจทุกปี ควบคู่งานวิจัยเพื่อพิสูจน์ DNA มะพร้าวเพื่อแยกให้ชัดเจนถึงแหล่งที่มาของมะพร้าวมาจากที่ใดในประเทศหรือต่างประเทศ ทั้งนี้ต้องมีชุดอุปกรณ์ตรวจสอบอยู่ทุกด้าน เหมือนชุดเป่าแอลกอฮอลล์เพื่อความสะดวกในการทำงานของเจ้าหน้าที่

ม็อบ ‘มะพร้าว-มัน’ ฟื้นเขย่ารัฐ 7 ต.ค. นี้

“วันนี้พรรคประชาธิปัตย์ต้องแสดงความจริงใจ ตั้งแต่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์,นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ นายประมวล พงศ์ถาวราเดช  ส.ส.เขต 3 เป็นมาหลายสมัยแล้ว ถ้ายังแก้ปัญหาราคามะพร้าวไม่ได้ ก็คิดว่าคนประจวบฯ เห็นว่าถ้ามีการเลือกตั้งครั้งใหม่ควรจะเปลี่ยนผู้แทนได้แล้ว เพราะปัญหามะพร้าวแก้ไม่ยากเลย”

ม็อบ ‘มะพร้าว-มัน’ ฟื้นเขย่ารัฐ 7 ต.ค. นี้

ขณะที่นายธีระชาติ เสยกระโทก รักษาการนายกสมาคมชาวไร่มันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า กองทัพมันสำปะหลังจะขนมาจากจังหวัดนครราชสีมา พร้อมแล้วจะบุกทำเนียบในวันที่ 7 ตุลาคาคมนี้ ขอให้รัฐบาลออกมาตรการช่วยชาวไร่อย่าให้ขายขาดทุน เตรียมป้ายผ้าพร้อมกับเทหัวมันสำปะหลังหน้าทำเนียบฯรัฐบาล วันนี้สินค้าเกษตรอื่นๆ ภาคใต้รัฐบาลสนใจดูแลเดินหน้าหมดแล้วไม่ว่าจะเป็นปาล์มน้ำมันหรือยางพารา แต่ไม่สนใจสินค้าอีสานเลย

ม็อบ ‘มะพร้าว-มัน’ ฟื้นเขย่ารัฐ 7 ต.ค. นี้

“มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ 1 ใน 5  ของประเทศไทยที่มี่พื้นที่ในการเพาะปลูกในปี 2562/63 จำนวน  8.6 ล้านไร่ มีผลผลิตประมาณการณืจำนวน 28.7 ล้านตัน  จำนวนครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังไม่น้อยกว่า 3.7 แสนครัวเรือนที่และในปีที่ผ่านมามันสำปะหลังเป็นพืชที่สามารถสร้างรายได้จากการส่งออกมูลค่าไม่น้อยกว่าแสนล้านบาทต่อปี

ม็อบ ‘มะพร้าว-มัน’ ฟื้นเขย่ารัฐ 7 ต.ค. นี้

ปัจจุบันเกษตรกรที่เพาะปลูกมันสำปะหลังได้เริ่มขุดเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังออกมาจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการเชื้อแป้งเฉลี่ย 25 เปอร์เซ็นต์เกษตรกรขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.20 บาทต่อกิโลกรัมแต่ถ้าเกษตรกรที่นำมันสำปะหลังออกมาจำหน่ายมีเชื้อแป้งต่ำกว่า 25 เปอร์เซ็นต์โรงงานจะรับซื้อหัวมันสดในราคาที่ต่ำลงเปอร์เซ็นต์แป้งละ ๕ สตางค์

ม็อบ ‘มะพร้าว-มัน’ ฟื้นเขย่ารัฐ 7 ต.ค. นี้

ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไปซึ่งจะถึงระยะเวลาเริ่มการขุดเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังแต่รัฐบาลโดยการนำของฯพณฯ ท่านนายกรัฐมนตรียังไม่มีมีมาตรการสำหรับการดูแลพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังออกมาเลย เพราะที่ผ่านมาเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังได้ช่วยเหลือตัวเองมาตลอดเวลาซึ่งเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังและไม่เคยได้รับการดูแลหรือได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลเช่น เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปลูกยางพาราที่รัฐบาลได้ช่วยเหลือปัจจัยการผลิตหรือช่วยเหลือต้นทุนการเพาะปลูก

ม็อบ ‘มะพร้าว-มัน’ ฟื้นเขย่ารัฐ 7 ต.ค. นี้

ดังนั้นเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังที่เดือดร้อนจึงมีข้อเรียกร้องและข้อเสนอต่อ ฯพณ ฯ ท่านนายกรัฐมนตรีในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังดังต่อไปนี้1.ขอใหนายกรัฐมนตรีเร่งรัดกระทรวงพาณิชย์รีบๆออกมาตการในการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังราคากิโลกรัมละ 3  บาทครัวเรือนละ ไม่เกิน 100 ตันโดยการโอนเงินเข้าบัญชีของเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรและขอให้รีบประกาศให้ดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน  2562 จนสิ้นสุดเดือนเมษายน 2563 เป็นต้นไป

ม็อบ ‘มะพร้าว-มัน’ ฟื้นเขย่ารัฐ 7 ต.ค. นี้

จากข้อมูลประมาณการจำนวนครัวเรือนเกษตรกรและจำนวนผลผลิตมันสำปะหลังทั้งหมดรัฐบาลจะใช้เงินงบประมาณในการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังประมาณการไม่เกิน 1.3 หมื่นล้านบาทและรัฐบาลจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้จ่ายของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังได้ไม่น้อยกว่า 910 ล้านบาท

ม็อบ ‘มะพร้าว-มัน’ ฟื้นเขย่ารัฐ 7 ต.ค. นี้

นายธีระชาติ กล่าวอีกว่า ขอให้รัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลือต้นทุนการเพาะปลูกของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังกับกรมส่งเสริมการเกษตรไร่ละ 500 บาท รายละไม่เกิน 20 ไร่หรือตามข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรซึ่งรัฐบาลจะใช้งบประมาณในการช่วยเหลือต้นทุนการเพาะปลูกของพี่น้องเกษตรกรประมาณ 3,200ล้านบาทและรัฐบาลจะได้ภาษีมูลค่าเพิ่มคืนจากเกษตรกรที่ได้รับเงินช่วยเหลือและนำออกมาใช้จ่ายจำนวน  224 ล้านบาท ควบคู่ให้กระทรวงพาณิชย์ดูแลหรือควบคุมการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไม่ให้ขายออกไปในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการเพาะปลูกของเกษตรกร และขอให้มีการส่งเสริมการใช้มันสำปะหลังภายในประเทศเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะการนำมันสำปะหลังไปใช้ในการผลิตเอทานอลเพื่อใช้ในรถยนต์