ส่อง "บอร์ด กยท." พลิกเกมสู่สนามเลือกตั้งใหม่?

31 มี.ค. 2562 | 06:24 น.


การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เตรียมสรรหาบอร์ดผู้ทรงคุณวุฒิจากเกษตรกร / สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง จำนวน 7 คน ประกอบด้วย ผู้แทนจากเกษตรกรชาวสวนยาง 3 คน ผู้แทนจากสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง 2 คน ผู้แทนผู้ประกอบกิจการยาง มีความเชี่ยวชาญด้านการค้า 1 คน และผู้แทนผู้ประกอบกิจการยาง มีความเชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรม 1 คน โดยผู้แทนจากเกษตรกร / สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง จำนวน 5 คน จะต้องผ่านการคัดเลือกมาจากทั่วประเทศ โดยจะเปิดรับสมัครในวันที่ 5-19 เม.ย. นี้ ... "ฐานเศรษฐกิจ" แอบมาส่องว่า แต่ละบอร์ดสนใจที่จะมาสมัครหรือไม่ แล้วสิ่งที่จะดันนโยบายต่อเนื่องมีอะไรบ้าง

 

ส่อง "บอร์ด กยท." พลิกเกมสู่สนามเลือกตั้งใหม่?

 

นายสังข์เวิน ทวดห้อย ผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยาง กรรมการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า กำลังประเมินว่า ภาคตะวันออกจะมีคนลงสมัครหรือไม่ ในความคิดอยากจะสมัครต่อ เนื่องจากยังมีงานคั่งค้างที่อยากจะไปทำต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับชาวสวนยางอยู่ 3 เรื่องด้วยกัน ก็คือ 1. เรื่องสวัสดิการ เพราะถ้าไม่ผลักดันต่อ เกรงว่าจะเสียประโยชน์กับชาวสวนยาง เพราะว่าตอนนี้สวัสดิการที่เราทำประกันที่เสียเงินไปกว่า 100 ล้านบาท แล้วที่คืนกลับมากับชาวสวนยางคิดเป็นเงินแล้ว 85 ล้านบาท ยังไม่ถึง 1 ปีเลย ดังนั้น มองว่า ถ้าถึง 1 ปี มองว่า ไม่ขาดทุนแน่นอน ที่ชาวสวนยางจะได้ประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วย

 

ส่อง "บอร์ด กยท." พลิกเกมสู่สนามเลือกตั้งใหม่?

 

2.เรื่องการขับเคลื่อนโรงเลื่อยไม้ยางพารา ซึ่งทาง พล.อ.ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข ประธานกรรมการ กยท. (ประธานบอร์ด) ได้มอบหมายให้เป็นประธานคณะอนุฯ เดินเรื่องโรงเลื่อยไม้ยางพารา เปิดแล้วจะเร่งเดินให้ได้ เพื่อหวังจะพลิกให้เป็นรายได้กลับมาให้กับชาวสวนยาง ประเด็นนี้สำคัญมาก เพราะ กยท. มีไม้ยางจำนวนมาก พอจะประมูลขายไม้ยางพาราก็ตกลงมา ดังนั้น ก็มาคิดว่า ในเมื่อมีโรงเลื่อยอยู่ ก็จึงคิดว่าจะทำเอง โดยจะหาตลาดมาให้ คาดว่าจะเปิดประมาณเดือน เม.ย. นี้ (โรงเลื่อยไม้ยางปิดกิจการมาไม่ต่ำกว่า 6 ปีแล้ว) ส่วนเจ้าหน้าที่ 17 คน ก็ไม่ได้ทิ้ง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาก็ยังดูแลเป็นพนักงานปกติ เมื่อมาพิจารณาแล้ว ค่าใช้จ่ายแต่ละคนไม่ใช่น้อยเลย

 

ส่อง "บอร์ด กยท." พลิกเกมสู่สนามเลือกตั้งใหม่?

 

3.ปัจจุบันเป็นประธานอนุ "กำหนดราคายางพารา" ทั้งระบบ ตั้งคำถามว่า คณะนี้มีประโยชน์หรือไม่ ก็มีประโยชน์ ยกตัวอย่าง ในอดีต ราคายางพาราแผ่นรมควันอยู่ที่ 40 บาทต่อกิโลกรัม ปัจจุบัน หาที่รองรับที่อัดก้อนเอง มีที่จัดเก็บเอง และหาตลาดเอง ก็ทำให้ราคาค่อยขยับขึ้นมา จนถึงทุกวันที่ 54 บาทต่อกิโลกรัม แนวคิด ก็คือ จะทำวิธีไหนที่จะทำให้ราคายางพาราได้กันทั่วประเทศ จำเป็นที่จะมา "เปิดตลาดกลางยางพาราภาคตะวันออก" จะมากำหนดราคายางพาราอบกึ่งแห้ง โดยจะแตกต่างจากภาคใต้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มชนิดยางแผ่นรมควัน เป็นต้น

 

ส่อง "บอร์ด กยท." พลิกเกมสู่สนามเลือกตั้งใหม่?

 

นายสังข์เวิน กล่าวว่า การจ่ายเงินเบี้ยประกันชีวิตให้กับบริษัทประกันชีวิตกว่า 130 ล้านบาทนั้น ถามว่า สิ้นเปลืองหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมามีหลายคนคิดว่าสิ้นเปลือง แต่อย่าลืมว่า เงินกองสวัสดิการที่มีอยู่ในสวัสดิการ 570 ล้านบาทต่อปี ซึ่งทุกปีจะมีการจัดสรรมาให้ หากใช้ไม่หมด แล้วจำนวนเงินเหลือทุกปี เฉลี่ยปีละกว่า 200-300 ล้านบาท เงินดังกล่าวนี้จะกลับไปสู่มาตรา 49 เพื่อเอาไปรวมเป็นกองกลาง แล้วจะนำไปจัดสรรใหม่เป็นรายมาตราในปีถัดไป

 

ส่อง "บอร์ด กยท." พลิกเกมสู่สนามเลือกตั้งใหม่?

 

"เมื่อมีประกันอุบัติเหตุให้กับชาวสวนยาง เรียกว่าเป็นพืชชนิดเดียวที่มีการคุ้มครองประกันภัยสูงถึง 5 แสนบาท เสียชีวิตได้ 3 หมื่นบาท สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นงานต่อเนื่องที่จะต้องมีคนเสนอ เพราะถ้าไม่มีคนเสนอ เกรงว่างานจะไม่เดินหรือหยุดกลางคัน"

 

ส่อง "บอร์ด กยท." พลิกเกมสู่สนามเลือกตั้งใหม่?

 

ขณะที่ นายธีรพงศ์ ตันติเพชราภรณ์ กรรมการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ไม่ลงแล้ว อยากให้พี่น้องชาวสวนยางในเขตของผม​ ซึ่งมีความรู้​ความสามารถ​มาเป็นตัวแทนเกษตรกร​ เป็น​ปากเป็นเสียงให้พี่น้องชาวสวนยาง​ต่อจากผม แต่ก็ยินดี​ทำงานช่วยเหลือ​ กยท.​ ช่วยเหลือ​พี่น้องเกษตรกร​เช่นเดิมเพียงแค่ไม่ได้ใส่หมวก​บอร์ด​แค่นั้นเอง