ไขปม ท่อร้อยสาย ให้สิทธิ์เอกชน80%ไม่ผูกขาด

06 ก.ค. 2562 | 23:40 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

กำลังเป็นคำถาม สำหรับ กลุ่มผู้ประกอบการโทรคมนาคม กับกรณีค่าเช่าโครงข่ายสื่อสารลงใต้ดิน ระยะทาง 2,450 กิโลเมตร ที่บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที ได้คัดเลือก บริษัททรู อินเทอร์เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด มารับสัมปทานเป็นระยะเวลา 30 ปี ด้วยมูลค่าโครงการ 2 หมื่นล้านบาท และจัดเก็บค่าเช่าสูงกว่า บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

อย่างไรก็ตาม “ฐานเศรษฐกิจ” ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร ประธาน กสทช.ในฐานะองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องให้ใบอนุญาตและ กำหนดอัตราค่าเช่าท่อร้อยสาย

 

ทางออก

ทุกฝ่ายต้องหาข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ให้สิทธิทางสาย และผู้รับบริการ เรื่องนี้ต้องถือผลประโยชน์ของประเทศเป็น
สิ่งสำคัญ

 

คำถามคือผูกขาดรายเดียว

ไม่เกี่ยวเพราะกรุงเทพธนาคมเปิดให้ใช้เพื่อสร้างผลประโยชน์ของประเทศ บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้สิทธิในการบริหารท่อ 80% ส่วนอีก 20% กทม. จะคงไว้เพื่อใช้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบการสื่อสารของภาครัฐ เช่น ด้านการจราจร กล้องวงจรปิด (CCTV)

ดังนั้นหลักเกณฑ์ของการให้บริการและสิทธิต่างๆ กีดกันไม่ได้ บรรดาผู้ร้องเรียนอาจได้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนว่ากีดกันไม่ให้คนอื่นมาใช้หรือเก็บค่าเช่าแพง

เพราะค่าเช่าท่อร้อยสาย กสทช.กำลังหาจุดร่วมเพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันราคาไหนจึงจะเหมาะสมที่สุด

 

ไขปม  ท่อร้อยสาย ให้สิทธิ์เอกชน80%ไม่ผูกขาด

พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร

 

อัตราค่าเช่าท่อสรุปแล้วหรือยัง

ยังไม่ได้มีการก่อสร้าง กสทช. จึงไม่สามารถประกาศอัตราค่าเช่าท่อร้อยสาย และโครงการนี้อยู่นอกเหนือการควบคุมของ กสทช. เพราะเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ กทม. และ ธนาคม

สิ่งที่ผู้ประกอบการโทร คมนาคมออกมาคัดค้านเพราะเห็นว่ารัฐบาลชุดนี้ยังสามารถ ออก ม. 44 ได้

 

นำราคาของทีโอทีเปรียบเทียบ

กระทรวงดีอี (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) มีมติให้ ทีโอที, กสท, กฟน.และ รฟม. ร่วมกันดำเนินการวางท่อร้อยสายไฟฟ้าและท่อร้อยสายสื่อสารโทรคมนาคมไปพร้อมกับการก่อสร้างสถานี รถไฟฟ้า และกระทรวงได้เห็นชอบตามที่ ทีโอที, กสท เสนอปรับลดอัตราค่าเช่าใช้ท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินให้มีราคาเป็น 9,650 บาท/ท่อย่อย/กิโลเมตร/เดือน (เฉพาะโครงการมหานครแห่งอาเซียน)

 

ท่อร้อยสายของ ทีโอที ของเดิมสร้างอยู่เกาะกลางถนน แต่แนวคิดใหม่ของ กทม.วางท่อร้อยสายบนทางเท้า ที่สำคัญ กทม.เป็นเจ้าของพื้นที่ และทำตามมติคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นชอบให้ กทม. เป็นผู้ดำเนินการสร้างท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินในพื้นที่ กทม.

 

ใบอนุญาตหมดก่อนสัมปทาน

ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมสูงสุดอยู่ที่ 15 ปี แต่โครงการท่อร้อยสายมีระยะเวลา 30 ปี เมื่อใบอนุญาตหมดอายุสามารถมาต่อใหม่ได้ เพราะโครงการนี้ลงทุน 2 หมื่นล้านบาท ระยะเวาล 15 ปีคงไม่คุ้มทุน

“เอกชนที่ได้รับใบอนุญาตเมื่อสัญญาหมดลงสามารถขอต่อใบอนุญาตใหม่ได้” 

สัมภาษณ์ โดย ทีมข่าวไอที

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3485 ระหว่างวันที่ 7 - 10 กรกฎาคม 2562

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

● คุ้ยหลักฐาน กทม.ส่อพิรุธท่อร้อยสาย

● สมเกียรติอัด กทม.ให้เอกชนผูกขาดท่อร้อยสาย

● แจงสัมปทานท่อร้อยสาย 2หมื่นล้าน30ปีโปร่งใส

● จี้รื้อสัมปทานทรูบิ๊กสื่อสารรุมต้านผูกขาด30ปีท่อร้อยสาย

● เปิดปูมท่อร้อยสาย 2หมื่นล้าน

● ทรูร่อนหนังสือแจงยังไม่ลงนามสัญญาท่อร้อยสายกทม.

● เบื้องหลังกทม.หักดิบ ยึดโครงการท่อร้อยสาย2หมื่นล.

● 6ยักษ์สื่อสารจี้นายกฯ เบรกท่อร้อยสายกทม.2หมื่นล.

● ท่อร้อยสายวุ่น จ่อรื้อสัญญาทรู

● ใคร...ลุยไฟ ใช้เงิน2.5หมื่นล้าน เพื่อสัมปทานท่อร้อยสาย 30ปี

● บิ๊กกรุงเทพธนาคม โต้ทุกข้อกล่าวหา ท่อร้อยสายสื่อสาร 2 หมื่นล้าน

● กทม.ลักไก่ ท่อร้อยสาย ไร้ราคากลาง

● ท่อร้อยสายใต้ดิน โอนผูกขาด อำนาจรัฐสู่เอกชน

● ‘รสนา’ชี้ทิ้งทวนท่อร้อยสาย ก่อนหมดวาระผู้ว่าฯกทม.

●  สหภาพแคทฯ ร้องนายก ค้านท่อร้อยสาย

● ‘TOT-CAT’ ดับเครื่องชน ท่อร้อยสายกทม.

● ‘ทีโอที’ฮึดสู้! ปรับราคาท่อร้อยสาย

● 'กทม.' หน้ามืดตามัว มีใบอนุญาต 15 ปี ให้สัมปทาน 30 ปี

● ชำแหละผูกขาด ท่อร้อยสาย 2.5 หมื่นล้าน

● ธนาคมฯฝืนกระแสจ่อเซ็นสัญญากับทรูฯ มูลค่า 2.5 หมื่นล้าน

● กสทช.สั่งรื้อโครงการท่อร้อยสายกทม.

● จ่อฟันโครงการท่อร้อยสาย ชี้ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 50 จัดการแน่!

 

ไขปม  ท่อร้อยสาย ให้สิทธิ์เอกชน80%ไม่ผูกขาด