ไขข้อสงสัยทำไม? ต้องฉีดวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้น อ่านที่นี่มีคำตอบ

14 เม.ย. 2565 | 03:30 น.

ไขข้อสงสัยทำไม? กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โหมประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น อ่านที่นี่มีคำตอบ

จากกรณีที่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พยายามให้ประชาชนมารับวัคซีนเข้มกระตุ้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 สายพันธ์โอไมครอน โดยกรมควบคุมโรคได้ชี้แจงดังนี้

 

วัคซีนเสื่อมตามกาลเวลา

ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการติดเชื้อและจากวัคซีนสามารถเสื่อมไปตามกาลเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเราไม่ได้เจอเชื้อโรคเป็นเวลานาน ระยะเวลาที่ภูมิคุ้มกันเริ่มเสื่อมก็ขึ้นอยู่กับแต่ละโรค เช่น วัคซีนโรคหัดจะให้ภูมิคุ้มกันสูงสุดได้นานมาก หรือวัคซีนไข้เหลืองเข็มเดียวสามารถปกป้องเราได้ตลอดชีวิต แต่เนื่องจากโรคโควิดเพิ่งจะระบาดเมื่อปี 2019 เราเลยยังมีข้อมูลไม่มากว่าระบบภูมิคุ้มกันของเราและวัคซีนจะรับมือกับเชื้อนี้ได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งเราจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อเรานำวัคซีนที่มีมาใช้และเมื่อมีไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ เกิดขึ้น ทั้งนี้ ก่อนที่จะมีโอมิครอน ข้อมูลที่เรามีระบุว่าวัคซีนต้านโควิด 19 สายพันธุ์ก่อนโอมิครอน จะสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน รวมถึงป้องกันการป่วยหนัก การเข้าโรงพยาบาล และการเสียชีวิต

 

ไวรัสกลายพันธุ์

เหตุผลที่สองที่เราต้องรับเข็มกระตุ้นก็เพราะว่าเชื้อไวรัสสามารถกลายพันธุ์ได้เร็ว หากการกลายพันธุ์ทำให้โปรตีนที่เปลือกหุ้มของไวรัสเปลี่ยนไป ภูมิคุ้มกันของเราอาจจะจดจจำเชื้อโรคไม่ได้ เพราะอย่างนี้ เราถึงต้องฉีดไวรัสต้านไข้หวัดใหญ่ทุกปี เพราะเป็นไวรัสที่กลายพันธุ์บ่อยมาก

 

ข้อมูลที่เรามีชี้ว่าวัคซีนต้านโควิด 19 ที่เรามีป้องกันการติดเชื้อจากโอมิครอนได้ไม่ดีเท่าโควิดสายพันธุ์ก่อนหน้า แต่ถึงอย่างนั้น วัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบันก็ยังปกป้องเราไม่ให้ป่วยหนักจากเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนได้ และนั่นคือสิ่งที่สำคัญที่สุด

ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น

 

 

ผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลกจึงแนะนำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อโควิด 19 รับวัคซีนเข็มกระตุ้นหลังจากที่รับเข็มพื้นฐานไปแล้วประมาณ 4-6 เดือน เหตุผลก็เพราะว่าวัคซีนจะเสื่อมประสิทธิภาพไปตามกาลเวลา และปกป้องเราจากการติดเชื้อแบบไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อยจากโอมิครอนได้น้อยลง

 

วัคซีนต้านโควิด 19 ยังคงปกป้องเราจากการป่วยรุนแรงได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจะต้องรับวัคซีนเมื่อถึงคิว.

 

ที่มา: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข