“ไทย-จีน” ใช้พิธีสารขยายผลประโยชน์ร่วมเศรษฐกิจ

07 ก.ย. 2565 | 11:14 น.

อธิบดีกรมวิชาการเกษตรติดตามกระบวนงานการส่งออกทุเรียน และผลไม้ไทย สู่จีน รักษาความเชื่อมั่น คุณภาพมาตรฐาน ตามพิธีสาร “ไทย-จีน” ขยายผลมูลค่าเศรษฐกิจ 2 ประเทศ

“ไทย-จีน” ใช้พิธีสารขยายผลประโยชน์ร่วมเศรษฐกิจ

 

วันที่ 7 กันยายน 2565 นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร พร้อมด้วย นายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง และนายสมบัติ ตงเต๊า รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ร่วมประชุม Online กับ ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร อัครราชทูต ฝ่ายการเกษตรประจำกรุงปักกิ่ง กงศุลเกษตร นครกวางโจว และนครเซี่ยงไฮ้  ติดตามกระบวนงานการส่งออกทุเรียน และผลไม้ไทย สู่จีน เพื่อรักษาความเชื่อมั่น คุณภาพมาตรฐาน ตามพิธีสารไทย-จีน ขยายมูลค่าเศรษฐกิจ 2 ประเทศ

“ไทย-จีน” ใช้พิธีสารขยายผลประโยชน์ร่วมเศรษฐกิจ

 

นายระพีภัทร์  กล่าวว่า ตามนโยบายรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านมนัญญา ไทยเศรษฐ์  ที่ได้เน้นย้ำ คุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารไทย และการปฏิบัติตามข้อตกลงพิธีสารว่าด้วยข้อกําหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนําเข้าผลไม้ไทยผ่านประเทศที่สามเข้าสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน ผู้ประสงค์นําเข้าและส่งออกผลไม้สดระหว่างไทยและจีน ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด รายการชนิดของผลไม้สดที่อนุญาตให้นําเข้าและส่งออกเป็นไปตามที่ทั้งสองฝ่ายกำหนด โดยผลไม้ไทย จำนวน 22 ชนิด และผลไม้จีน จำนวน 23 ชนิด อาทิ ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่ มังคุด มะม่วง ชมพู่ กล้วย มะพร้าว สับปะรด ขนุน เงาะ ส้มโอ เป็นต้น

 

“ไทย-จีน” ใช้พิธีสารขยายผลประโยชน์ร่วมเศรษฐกิจ

 

โดยเฉพาะทุเรียนซึ่งมีการส่งออกไปจีน แล้วมากกว่า 7 แสนตัน มีมูลค่ามากกว่า 72,000 ล้านบาท และเพื่อส่งเสริมการส่งออกทุเรียนและผลไม้ไทยที่ดีและมีคุณภาพ พร้อมทั้ง ป้องกันไม่ให้มีการส่งออกทุเรียนและผลไม้ผลสดมีการปนเปื้อนแมลงศัตรูพืชและคุณภาพต่ำไม่ถึงเกณฑ์ตามข้อกำหนด อธิบดีกรมวิชาการเกษตรได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืช ทั้งทางบก อากาศ และทะเล

 

 

เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบคุณภาพทุเรียนและผลไม้ทั้งระบบ และมอบหมายให้สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1-8 ร่วมตรวจสอบย้อนกลับกระบวนงาน ตรวจคุณภาพ ถิ่นกำเนิด และการปนเปื้อนแมลงศัตรูพืช ตาม พรบ.กักพืชฯ กำหนด และพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับให้ผ่านระบบ e-phyto รวมถึงให้ทวนสอบแปลง GAP และ GMP ที่รับรองโรงคัดบรรจุ และผู้ส่งออก เพื่อเพิ่มความเข้มงวดในมาตรการต่างๆ ให้ทุเรียนและผลไม้ไทยมีคุณภาพดีที่สุดของโลก ดังนี้

“ไทย-จีน” ใช้พิธีสารขยายผลประโยชน์ร่วมเศรษฐกิจ

 

1. สวนทุเรียนและ/หรือสวนผลไม้ต้องได้รับขึ้นทะเบียน (GAP) และโรงคัดบรรจุหรือล้ง (GMP) จากทั้งฝ่ายไทยและศุลกากรจีน และศุลกากรจีนได้ประกาศรับรองเลขทะเบียนพร้อมแล้ว

 

“ไทย-จีน” ใช้พิธีสารขยายผลประโยชน์ร่วมเศรษฐกิจ

 

2. สำหรับการตรวจสอบทุเรียนส่งออกในโรงคัดบรรจุ เพื่อรับรองสุขอนามัยพืช เจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการตามข้อสั่งการ “คู่มือปฏิบัติการตรวจสอบศัตรูพืชในการส่งออกทุเรียนไปจีน” อย่างเคร่งครัด หากตรวจพบต้องสงสัย จะตรวจสอบย้อนกลับ และปฏิเสธการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช

 

“ไทย-จีน” ใช้พิธีสารขยายผลประโยชน์ร่วมเศรษฐกิจ

 

3. หากตรวจพบหรือต้องสงสัยว่า ผู้ประกอบการส่งเอกสารแนบหรือหลักฐานอันเป็นเท็จ ให้ดำเนินการกล่าวโทษร้องทุกข์ต่อผู้ประกอบการที่แจ้งข้อความเท็จต่อทางราชการ ในการยื่นขอรับใบรับรองสุขอนามัยพืช (พก.๗) เพื่อส่งออกทุเรียนไปจีน เฉพาะรายที่สงสัยว่ากระทำผิด นั้นทันที

 

“ไทย-จีน” ใช้พิธีสารขยายผลประโยชน์ร่วมเศรษฐกิจ

 

4. ชะลอการคัดบรรจุเพื่อส่งออกชั่วคราว ตามพิธีสารไทย-จีนหา ภายใต้ข้อตกลงการส่งออกผลไม้สด

 

 

 

 

5. ทุกล้งที่ส่งออกไปยังจีนต้องมีมาตรการ COVID PLUS ตามมาตรการ ZERO COVID ที่ประเทศจีนกำหนด พร้อมกับการปฏิบัติตามระเบียบ หรือประกาศที่จังหวัดในพื้นที่นั้นๆ กำหนดเป็นมาตรการเฉพาะ

 

อธิบดีกรมวิชาการเกษตรยังย้ำอีกว่า “การนำเข้าทุเรียนสำแดงเท็จ และการลักลอบส่งออกทุเรียนคุณภาพต่ำ ปนเปื้อนศัตรูพืช เป็นสิ่งผิดกฎหมาย และทำลายเศรษฐกิจของประเทศ จึงขอให้เกษตรกรและผู้ส่งออกปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อกำหนดของพิธีสารไทย-จีน และข้อกำหนดดังกล่าวข้างต้น อย่างเคร่งครัด และหากพบเบาะแส สงสัยว่ามีการการกระทำผิดกฎหมายให้แจ้ง กรมวิชาการเกษตรทราบและดำเนินการตามกฎหมายต่อไป”