โลกยอมจำนน! ‘ค่าปรับ' ประมงไทยแพงที่สุด

19 ก.ย. 2562 | 03:45 น.

ลั่นทะเล! 'สะเทือนอ่าวไทย-อันดามัน' เปิดผลการศึกษาเปรียบเทียบปรับประเทศที่ตกชะตากรรมเดียวกันโดนใบเหลือง ใช้เครื่องมือต้องห้ามสูงสุด ยกให้ไทยโทษปรับ 1แสนถึง 30 ล้าน รองลงมาฟิลิปปินส์ 3 หมื่น-2.9 ล้านบาท ขณะที่โทษปรับน้อยที่สุด “ไต้หวัน” 3 หมื่น-3 แสนบาท “มงคล”ย้ำต้องรื้อกฎหมายใหม่ ก.ต่างประเทศเปิดผลงานโชว์ลุยจับเรือผิดกฎหมายสถิติการจับกุมลดลง

 

ผลสรุปความก้าวหน้าการพิจารณาเปรียบเทียบปรับบทลงโทษ โดยความร่วมมือสมาคมประมงแห่งประเทศไทยและกรมประมง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศที่เคยได้รับใบเหลือง ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย เวียดนาม เกาหลีใต้ และฟิลิปปินส์ ในบริบทของฐานความผิดเกี่ยวกับแนวทางปฎิบัติหรือฐานความผิดในการทำลายทรัพยากร

โลกยอมจำนน! ‘ค่าปรับ' ประมงไทยแพงที่สุด

นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ผลจากตัวอย่าง “ข้อหาทำประมงโดยไม่ได้รับอนุญาต” ประเทศไทย โทษปรับ 1 แสนถึง 30 ล้านบาท โดยปรับตามขนาดเรือ หรือปรับ 5 เท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ทำประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า “ประเทศฟิลิปินส์” โทษปรับ 3 หมื่น-2.59 ล้านบาท โดยปรับตามการทำประมงพาณิชย์ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่) หรือจำนวน 5 เท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำประมงแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า

โลกยอมจำนน! ‘ค่าปรับ' ประมงไทยแพงที่สุด

“ประเทศเกาหลีใต้” โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท “เวียดนาม” โทษปรับ 2.63 หมื่นบาท-9.19 หมื่นบาท โดยปรับตามขนาดเรือ และหากกระทำผิดหลายครั้งไม่เข็ดหลาบ มีบทกำหนดโทษเพิ่มเติม 1.การยึดผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ 2.การตัดสิทธิ์ในการใช้ประกาศนียบัตรรับรองความรู้ความชำนาญของผู้ควบคุมเรือหรือไต๋เรือ ระหว่าง 6-12 เดือน “ไต้หวัน” มีโทษปรับ 3 หมื่นบาท-3 แสนบาท

โลกยอมจำนน! ‘ค่าปรับ' ประมงไทยแพงที่สุด

นายมงคล กล่าวว่า กรณีใช้เครื่องมือต้องห้าม "ประเทศไทย" มาตรา 67 (1) โพงพาง ปรับ 1 แสนบาท-5 แสนบาท หรือปรับ 5 เท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ทำประมง มาตรา 67(2)-(4) ลอบพับ อวนลาก อวนรุน โทษปรับ 5 หมื่นถึง 30 ล้านบาท ปรับตามขนาดเรือ หรือปรับ 5 เท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ทำประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า “ฟิลิปินส์” โทษปรับประมาณ 2.95 แสนบาท-5.9 แสนบาท “เกาหลีใต้” โทษปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท “เวียดนาม” โทษปรับ 2.63 หมื่น-9.19 หมื่นบาท ปรับตามขนาดเรือ และหากกระทำผิดหลายครั้งไม่เข็ดหลาบ มีบทกำหนดลงโทษเพิ่มเติม 1.การยึดผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ 2.การยึดเรือประมง 3.การตัดสิทธิ์ในการใช้ประกาศนียบัตรรับรองความรู้ความชำนาญของผู้ควบคุมเรือหรือกัปตันเรือ ส่วน "ไต้หวัน" ไม่มี

โลกยอมจำนน! ‘ค่าปรับ' ประมงไทยแพงที่สุด

ด้านกระทรวงการต่างประเทศ รายงานข่าว รัฐบาลไทย มีความมุ่งมั่นในการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย โดยที่ผ่านมา จากการเข้มงวดกวดขันของเจ้าหน้าที่ตำรวจและกรมประมง ทำให้สถิติการเกิดคดีการทำประมงผิดกฎหมายลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี2559 มีจำนวนคดีที่เกี่ยวกับการทำประมงผิดกฎหมายรวม 3,270 คดี ปี2560 มีรวม 958 คดี ปี2561 มีรวม 574 คดี และปี2562 จนถึงปัจจุบันมีรวม 333 คดี