รู้จัก "Carbon Neutrality” กับ “Net Zero emissions” ต่างกันอย่างไร?

13 ก.พ. 2566 | 05:44 น.

ทำความรู้จัก "Carbon Neutrality” กับ “Net Zero emissions” ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ? เเละทำไมต้องให้ความสำคัญ

การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ Climate change เป็นเรื่องที่เราทราบกันอยู่เเล้วว่ามีความสำคัญอย่างไร ที่ผ่านมาจะเห็นได้จากภัยพิบัติเกิดถี่ขึ้น เเละรุนเเรงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ฝนตกไม่ตรงฤดูกาล คลื่นความร้อน ซึ่งก็เป็นหนึ่งในผลจาก "โลกร้อน" ที่เกิดจาก การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากสู่ชั้นบรรยากาศ ปัจจุบันเป็นปัญหาที่นานาชาติให้ความสำคัญและมีการร่วมกันตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อที่จะชะลอหรือหยุดปรากฏการณ์โลกร้อน

จำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียสและให้พยายามตั้งเป้าไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ประเทศไทยก็ได้ประกาศเจตนารมย์ที่จะบรรลุเป้า “Carbon neutrality” ภายในปี 2050 และ บรรลุเป้า “Net zero emissions” ภายในปี 2065

Carbon Neutrality  หรือ ความเป็นกลางทางคาร์บอน

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกดูดกลับคืนมา โดยผ่าน 3 กลไก คือ  ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  ดูดกลับก๊าซเรือนกระจกจากชั้นบรรยากาศ เช่น การปลูกป่าเพื่อเพิ่มแหล่งสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามธรรมชาติ (Carbon Sink) เเละชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Offset)

เช่น ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 100 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และมีความสามารถในการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกได้เพียง 80 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า จะสามารถชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เหลืออีก 20 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิต

Net Zero Emissions หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์  

เกิดขึ้นได้เมื่อก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์มีภาวะสมดุลกับการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก 

ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับที่ 21 ของโลก ในปี ค.ศ. 2019 เท่ากับ 354 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 

ภายในปี ค.ศ. 2025 เพื่อเข้าสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065  เช่น ยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ กำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย (Nationally Determined Contribution; NDC) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20-25 เป็นร้อยละ 30-40 จากระดับปกติภายในปี ค.ศ. 2030