EIU ประเมินไทย กำลังเผชิญความเสี่ยงจากภาวะโลกร้อนอย่างรุนแรง

10 ก.พ. 2566 | 00:49 น.

EIU ประเมินไทย กำลังเผชิญความเสี่ยงจากภาวะโลกร้อนอย่างรุนแรง พร้อมประเมินผลกระทบในอีก 30 ปีข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate change ไม่ใช่เรื่องใหม่และไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัว ที่ผ่านมาเราคุ้นเคยกันดีกับคำว่า “ภาวะโลกร้อน” หรือ “ปรากฏการณ์ก๊าซเรือนกระจก” ซึ่งในระยะเวลาที่ผ่านมาจะพบว่านานาประเทศ รวมถึงประเทศไทย มีความพยายามจะช่วยกันบรรลุเป้าหมาย Net Zero เป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์มาใช้อยางแพร่หลายทั่วโลก

เป็นปัจจัยสำคัญในการจัดการกับปัญหาสภาวะอากาศ ข้อตกลงปาริสมีเป้าหมายลดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และพยายามรักษาอุณหภูมิให้อยู่ที่ระดับ 1.5 องศาเซลเซียส  และแน่นอนเราต่างก็รับรู้ได้ว่าบางอย่างในระบบภูมิอากาศของโลกนั้นมีความผิดปกติไปจากเดิม

ในครั้งนี้จะพูดถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ EIU The Economist Intelligence Unit ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยด้านเศรษฐกิจและการเมือง  ประเมินประเทศไทย ว่า กำลังเผชิญความเสี่ยงจากภาวะโลกร้อนอย่างรุนแรง แต่ความมุ่งมั่นในการต่อสู้ของประเทศในปัจจุบันกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับโลกยังคงอยู่ในระดับปานกลาง 

ความเร่งด่วนในการจัดการกับความเสี่ยงด้านสภาพอากาศของไทย พบว่า ที่ผ่านมารัฐบาลประกาศเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ เเละมีความพยายามมากขึ้น โดยมีโมเดล  Bio-Circular-Green หรือ BCG

EIU ประเมินไทย กำลังเผชิญความเสี่ยงจากภาวะโลกร้อนอย่างรุนแรง

Climate change ความเสี่ยงครั้งใหญ่ของไทย

ตามดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพอากาศในระยะยาวโดย Germanwatch องค์กรพัฒนาอิสระและองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม ชี้ว่า ประเทศไทยมีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และจัดอยู่ในอันดับที่ 9 ของประเทศในกลุ่ม "ความเสี่ยงสูง" ในอนาคตมากที่สุด

ผลกระทบในอีก 30 ปีข้างหน้า

ประเทศไทยเผชิญกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อกรุงเทพฯ ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1.5 เมตร

ภาคการเกษตรของไทยคิดเป็น 6% ของ GDP และประมาณ 30% ของการจ้างงานทั้งหมด

สภาพอากาศที่รุนแรงและคาดเดาไม่ได้ ตั้งแต่น้ำท่วมและภัยแล้ง สำคัญมากโดยเฉพาะประชากรในชนบท

Climate change ความเสี่ยงครั้งใหญ่ของไทย

สัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทย

ข้อมูลของ BP Statistical Review of World Energy 2022 พบว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ของไทยที่ 0.8% ต่อปีในปี 2554-2564 สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 0.6% แต่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ 1.8% เเละมีการคาดการณ์ว่า การปล่อย CO2 จะสูงสุดก่อนปี 2573

ข้อมูลจากสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ พบว่าไทยได้ประโยชน์จากส่วนแบ่งที่สูงของภาคบริการ ซึ่งปล่อยมลพิษน้อยกว่าภาคอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ตาม การผลิตไฟฟ้ามีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 36% ของประเทศไทย รองลงมาคืออุตสาหกรรม 30% และการขนส่ง 28% สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยจำเป็นต้องกระจายแหล่งพลังงานของอุตสาหกรรมการผลิต โดยเลิกใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล รวมทั้งขยายขบวนการขนส่งคาร์บอนต่ำ

การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลของไทยยังคงสูง

ข้อมูลจากการทบทวน BP ระบุว่า  ประเทศไทยมีเเนวโน้มใช้พลังงานน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอย่างมาก ซึ่งคิดเป็น 77% ของการใช้พลังงานทั้งหมดในปี 2564  ขณะที่ถ่านหินคิดเป็น 17%  แต่ถ้าเทียบกับเอเชียก็ยังถือว่าต่ำ ซึ่งค่าเฉลี่ยของภูมิภาคแปซิฟิกอยู่ที่ 47% ได้แรงหนุนจากการใช้งานที่สูงในจีน 55% อินเดีย 57% และอินโดนีเซีย 39% การใช้พลังงานหมุนเวียนคิดเป็น 6.3% ของทั้งหมด ซึ่งใกล้เคียงกับพลังงานทดแทนในภูมิภาค 

EIU ประเมินไทย กำลังเผชิญความเสี่ยงจากภาวะโลกร้อนอย่างรุนแรง

ความเร่งด่วนที่เพิ่มขึ้นในการพยายามไปสู่เป้าหมาย

พฤศจิกายน  2565 ประเทศไทยกำหนดนโยบายระดับประเทศฉบับปรับปรุงเป็นครั้งที่สอง ซึ่งแสดงให้เห็นเป้าหมายที่มีความพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 30-40% จากระดับปกติ ที่คาดการณ์ไว้ภายในปี พ.ศ. 2573 นอกจากนี้ รัฐบาลยังประกาศฉบับแก้ไขของ ยุทธศาสตร์การพัฒนาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำในระยะยาว ซึ่งเสนอความพยายามเร่งรัดเพื่อต่อสู้กับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

โดยนำโมเดล BCG ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี 2564 มุ่งเน้นไปที่ 4 ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ อาหารและการเกษตร การแพทย์และสุขภาพ พลังงาน วัสดุ ชีวเคมี และการท่องเที่ยวกับเศรษฐกิจการริเริ่มนโยบาย BCG รวมการผลักดันอย่างยั่งยืนของประเทศไทยเข้ากับนโยบายส่งเสริมการลงทุนเพื่อดึงดูดความสนใจให้มากขึ้น ชี้ให้เห็นถึงความพยายามเร่งรัดในการเปลี่ยนแปลงคือ Climate Change Act หรือ กฎหมายหลักใน การวางกรอบการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ภาคการเงิน ออกแบบนโยบายสนับสนุนแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน

ธนาคารแห่งประเทศไทย  ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ อยู่ระหว่างยกร่าง Thailand Taxonomy รวมถึงมาตรฐานเพื่อวางกรอบการทำงานในระบบนิเวศทางการเงินที่ยั่งยืน ซึ่งจะอำนวยความสะดวกในผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินเพื่อสนับสนุนการเงินสีเขียว

มองผ่าน EIU ประเทศไทยต้องทำอะไร

จัดทำแผนการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานสำหรับภาคพลังงานและการขนส่งในระยะยาว

ภาคพลังงานซึ่งเป็นแหล่งปล่อยมลพิษที่ใหญ่ที่สุด จำเป็นต้องเปลี่ยนจากก๊าซธรรมชาติ ไปสู่พลังงานหมุนเวียน

ภาคการผลิตเพื่อการส่งออกและอุตสาหกรรมหนักของไทยจำเป็นต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานและผ่านการเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าในกรณีที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อการบริโภคโดยตรง

ภาคการขนส่งต้องปรับปรุงประสิทธิภาพของการขนส่งสาธารณะและส่งเสริมการใช้พลังงานไฟฟ้า

ภาคเกษตรกรรม จำเป็นต้องจัดการกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การกักเก็บคาร์บอน (เช่น การปลูกป่า) และการดักจับและกักเก็บคาร์บอน 

ที่มา : Thailand’s sustainability policy: getting its act together