เปิดขายแล้ว พันธบัตร"ออมเพิ่มสุข"ผ่าน 4 ธนาคาร เริ่ม 15 มิ.ย.นี้

14 มิ.ย. 2565 | 20:59 น.

เปิดจำหน่าย พันธบัตรออมทรัพย์"ออมเพิ่มสุข" ผ่าน 4 ธนาคาร "กรุงเทพ กรุงไทย กสิกรไทย และ ไทยพาณิชย์" ดอกเบี้ย 2.90- 3.60% เริ่ม 15 มิถุนายนนี้ เช็คเงื่อนไข - วงเงินลงทุน

หลังจากพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่น"ออมเพิ่มสุข บนวอลเล็ต สบม."ได้จำหน่ายจนครบวงเงิน 10,000 ล้านบาท ในวันแรกของการจำหน่าย 

 

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้เปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ "ออมเพิ่มสุข" อีกครั้งในวงเงิน 45,000 ล้านบาท ผ่าน 4 ธนาคารพาณิชย์ไทย ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์  เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2565 โดยแบ่งเป็น 

 

1.เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2565  จำหน่ายให้แก่ประชาชน วงเงิน 40,000 ล้านบาท 2 รุ่นอายุ ได้แก่ 
 

  • รุ่นอายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได  เฉลี่ยร้อยละ 2.90 ต่อปี
  • รุ่นอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได  เฉลี่ยร้อยละ 3.60 ต่อปี 

 

2.เริ่มวันที่ 20-30 มิถุนายน 2565  จำหน่ายให้แก่นิติบุคคลที่ไม่แสวงหากำไรที่กระทรวงการคลังกำหนด วงเงิน 5,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดเฉลี่ยร้อยละ 3.30 ต่อปี 

 

เปิดขายแล้ว พันธบัตร\"ออมเพิ่มสุข\"ผ่าน 4 ธนาคาร เริ่ม 15 มิ.ย.นี้

 

อ่านเพิ่มเติม : ลงทุนพันธบัตร"ออมเพิ่มสุข"คุ้มค่าไหม เทียบผลตอบแทน จุดดี- จุดด้อย

                  ส่อง 5 อันดับเงินฝากปลอดภาษี2565 แบงก์ไหนให้ผลตอบแทนดีสุด

 

จำนวนเงินลงทุน

 

  • ลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาท โดยจะจำกัดวงเงินซื้อรายละไม่เกิน 10 ล้านบาท จนถึงวันที่ 19 มิถุนายน 2565 และเริ่มจำหน่ายแบบไม่จำกัดวงเงินตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2565 ภายใต้วงเงินที่เหลือจากช่วงแรก


 

เงื่อนไขดอกเบี้ยพันธบัตร“ออมเพิ่มสุข” มีดังนี้

 

พันธบัตรรุ่นอายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได

 

  • ปีที่ 1-2 : 2.50% ต่อปี
  • ปีที่ 3-4 : 3.00% ต่อปี
  • ปีที่ 5 : 3.50% ต่อปี

(อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 2.90% ต่อปี)

 

พันธบัตรรุ่นอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได

 

  • ปีที่ 1-2 : 2.50% ต่อปี
  • ปีที่ 3-6 : 3.50% ต่อปี
  • ปีที่ 7-8 : 4.00% ต่อปี
  • ปีที่ 9-10 : 4.50% ต่อปี

(อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3.60% ต่อปี)

 

 

ผู้สนใจสามารถสอบถามเงื่อนไขและวิธีการจัดจำหน่ายได้ที่ธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 4 แห่ง หรือติดตามข่าวสารได้ที่ Facebook สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ