หอฯอีสานจี้รัฐปรับแผน‘รถไฟทางคู่’ฟื้นเศรษฐกิจ

09 มี.ค. 2565 | 06:31 น.

โครงการรถไฟจีน-ลาว จุดประกายแข่งขันชิงศูนย์กลางโลจิสติกส์ในอนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขง หอการค้าอีสานจี้รัฐเร่งสร้างทางคู่ขอนแก่น-หนองคายเร็วขึ้นกว่าปี 2569 ตามแผน พร้อมดันรถไฟท่องเที่ยว"โรแมนติกส์รูท"เลียบโขง-สัญจรท้องถิ่น ขนส่งสินค้า เส้นอุบล-อำนาจเจริญ-มุกดาหาร


   นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย ประธานพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองประธานหอการค้าไทย เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า โครง การรถไฟจีน-ลาวได้สร้างการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมต่างๆ ในพื้นที่และระดับอนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขง

 

โดยทางการและเอกชนลาว ได้ลงทุนพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่อเนื่องในหลายๆ โครงการ อาทิการจัดตั้งศูนย์รวมและกระจายสินค้า (CY) และท่าเรือบก ให้เชื่อมโยงกับทางรถไฟจีน-ลาว เสริมระบบขนส่งทางราง เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าเข้าออกกับจีนอย่างคึกคักแล้ว

   นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย ประธานพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองประธานหอการค้าไทย
    

หอฯอีสานจี้รัฐปรับแผน‘รถไฟทางคู่’ฟื้นเศรษฐกิจ

ซึ่งปัจจุบันจังหวัดหนองคาย และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้เตรียมความพร้อมรองรับโครงการรถไฟจีน-ลาว-ไทย ออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย

 

ระยะเร่งด่วน (ภายใน 1-2 ปี) รฟท. จะเพิ่มความถี่ขบวนรถไฟข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 หนองคาย-เวียงจันทน์ จากเดิมไป-กลับ วันละ 4 เที่ยว เป็นวันละ 14 เที่ยว การขนส่งสินค้าจากเดิมขบวนละ 12 แคร่ เพิ่มเป็น 25 แคร่ การพัฒนาที่พักรถบรรทุก สิ่งอำนวยความสะดวก รวมไปถึงเตรียมความพร้อมกระบวน การและพิธีการศุลกากร

หอฯอีสานจี้รัฐปรับแผน‘รถไฟทางคู่’ฟื้นเศรษฐกิจ

หอฯอีสานจี้รัฐปรับแผน‘รถไฟทางคู่’ฟื้นเศรษฐกิจ

ระยะปานกลาง (ช่วง 3-5 ปี) เช่น การก่อสร้างรถไฟทางคู่ขอนแก่น-หนองคาย การก่อสร้างสะพานข้ามแม่นํ้าโขงเป็นทาง วิ่งของรถไฟโดยเฉพาะ ห่างจากตัวสะพานมิตรภาพไทย-ลาวฯเดิม ประมาณ 30 เมตร จะเสร็จในปี 2569

 

ระยะยาว (5 ปีขึ้นไป) การพัฒนาโครงการรถไฟความ เร็วสูง นครราชสีมา-หนองคายระยะทาง 356 ก.ม.

 

โดยโครงการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167 ก.ม. มูลค่าโครงการ 29,748 ล้าน บาท ได้รับการอนุมัติโครงการฯจากบอร์ดรฟท.แล้ว จะเปิดประมูลหาผู้รับเหมาในไตรมาสที่ 2/2565 เริ่มก่อสร้าง 2566 กำหนดเแล้วเสร็จปี 2569

หอฯอีสานจี้รัฐปรับแผน‘รถไฟทางคู่’ฟื้นเศรษฐกิจ

ประธานหอการค้าภาคอีสาน กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามภาคเอกชนอีสานเห็นร่วมกันว่าภาครัฐต้องให้ความสำคัญกับโครงการมากกว่านี้ และเรียกร้องไปยังทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องขอให้เร่งโครงการรถไฟทางคู่เส้นทางขอนแก่น-หนองคาย ให้เร็วกว่าแผนเดิม เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขงเวลานี้

 

รวมทั้งมอบให้นายวันชัยอนุตรชัชวาล ประธานหอการค้าจังหวัดอุดรธานี นำข้อเสนอดังกล่าวนี้เข้าสู่การประชุมปรึกษาหารือ กับคณะเจ้าหน้าที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ที่ลงพื้นที่ขอนแก่น อุดรธานีและหนองคายระหว่าง 9-11 มี.ค. 2565 นี้

 

นายสวาทกล่าวอีกว่า เพื่อให้เร็วขึ้นอาจบริหารโครง การแบบเร่งด่วน เช่น แบ่งซอย TOR โครงการเพิ่มหลายช่วงขึ้นให้ผู้รับเหมาหลายรายทำให้งานเร็วขึ้น เพิ่มรอบทำงานเป็น 2 กะ และอาจโอนงบก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายบ้านไผ่-นครพนมที่ได้เซ็นสัญญาก่อสร้างแล้ว โดยปรับเหลือทางเดี่ยวไปพลางก่อน เพื่อนำงบมาเร่งทางคู่เส้นขอนแก่น-หนองคาย เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลการศึกษาระบุ ในปี พ.ศ. 2580 จะมีปริมาณขนส่งสินค้าในเส้นทางรถไฟไทย-ลาว-จีน ปีละ 12 ล้านตัน แล้วค่อยพัฒนาเส้นทางบ้านไผ่-นครพนม เป็นทางคู่ในภายหลังได้

 

ส่วนเส้นทางรถไฟอุบล ราชธานี-อำนาจเจริญ-มุกดหารนั้น นายสวาท กล่าวว่า เป็นข้อเสนอเดิมของภาคเอกชนอีสานที่ให้รัฐบาลไว้นานแล้ว และเร็วๆ นี้ จังหวัดอำนาจเจริญและเอกชนอีสานบางส่วน จัดเวทีระดม สมองโครงการศึกษาความเป็นไปได้เพื่อพัฒนาโครงข่ายรถไฟ จึงนำแนวคิดเส้นทางนี้มาหารืออีกครั้ง

 

เป้าหมายเพื่อให้เป็นเส้นทางรถไฟเพื่อการเดินทางของท้องถิ่น การขนส่งสินค้าเกษตรสู่ตลาด ส่งเสริมการค้าชายแดนไทยกับเพื่อนบ้าน โดยจะเป็นทางรถไฟที่ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งต่างๆ เข้าด้วยกันเพิ่มความสะดวกและสมบูณ์ ทั้งระบบศุลกากร และระบบค้าขายให้เป็นสากลมากยิ่งขึ้น

 

“นอกจากนี้ยังจะเป็นเส้นทางรถไฟเพื่อการท่องเที่ยวสายวัฒนธรรมสองฝั่งโขงของสองประเทศ ด้วยการนำเอาตู้โบกี้เก่ามาทำการปรับปรุงรูปโฉมให้สวยงาม แปลกใหม่ พร้อมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก อีกส่วนก็พ่วงตู้โบกี้ธรรมดาสำหรับโดยสารในราคาประหยัด วิ่งผ่านภูมิประเทศสองฝั่งโขง ที่สวยงามแปลกตาของแม่นํ้าโขงได้ประโยชน์ 2 อย่างในคราวเดียวกัน คือการท่องเที่ยว ตามแนวทางการท่องเที่ยวแบบใหม่แบบลดโลกร้อน และเพื่อการเดินทางในท้องถิ่น” นายสวาทฯกล่าวยํ้าตอนท้าย 

 

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,764 วันที่ 10-12 มีนาคม พ.ศ.2565