สมาคมการค้าในเมียนมา “ไม่สน” ร่วมหารือผู้แทนรัฐบาลทหาร

05 มี.ค. 2564 | 11:09 น.

สถานการณ์ในเมียนมายังดำดิ่ง หลังถูกนานาชาติต่อต้านหนักไม่ยอมรับใช้ความรุนแรง หอการค้า-สมาคมการค้าต่างประเทศออกแถลงการณ์ ปฏิเสธร่วมหารือกับผู้แทนรัฐบาลทหาร

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ(สคต.) หรือทูตพาณิชย์ ณ กรุงย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งประเทศเมียนมา รายงานสถานการณ์ ณ วันที่ 5 มีนาคม 2564 โดยอ้างอิงข้อมูลสื่อของเมียนมาว่า ทูตพิเศษของสหประชาชาติด้านกิจการเมียนมา (นางคริสติน ชราเนอร์ บูร์เกเนอร์) ได้หารือกับรองประธานสภาบริหารแห่งรัฐของเมียนมา (พลเอกโซ วิ่น) โดยเรียกร้องให้กองทัพเมียนมาหยุดใช้ความรุนแรงในการปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วง ไม่เช่นนั้นอาจต้องเจอมาตรการตอบโต้ที่รุนแรงจากนานาชาติยิ่งขึ้น ซึ่งไม่มีท่าทีตอบรับจากรองประธานสภาบริหารแห่งรัฐของเมียนมาที่ระบุว่าเมียนมาเคยถูกคว่ำบาตรมาก่อน และเรียนรู้ที่จะอยู่รอดได้

หอการค้าต่างประเทศและสมาคมการค้าในเมียนมา ประกอบด้วย หอการค้าสหรัฐฯ (AMCHAM) หอการค้าสหภาพยุโรป (EUROCHAM) และสมาคมธุรกิจ อิตาลี-เมียนมา ได้ออกแถลงการณ์ร่วม (Joint Statement) ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการหารือกับผู้แทนที่มาจากรัฐบาลทหารของเมียนมา

สมาคมการค้าในเมียนมา “ไม่สน” ร่วมหารือผู้แทนรัฐบาลทหาร

ขณะที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง ได้ให้ชาวไทยที่อยู่ในประเทศเมียนมาลงทะเบียนออนไลน์แจ้งชื่อ ที่อยู่ และเบอร์ติดต่อ รวมถึงตั้งกลุ่มไลน์สำหรับประสานให้ข้อมูลเพื่อ ช่วยเหลือหากเกิดกรณีฉุนเฉินขึ้น นอกจากนี้ จะมีเที่ยวบิน Relief Flight เดินทางย่างกุ้งกรุงเทพฯ ซึ่งมีจัดเป็นประจำทุกเดือน (ไม่ใช่ evacuation flight) โดยในเดือน มีนาคมจะมีจำนวน 2 เที่ยวบิน ในวันที่ 12 มีนาคม 2564 จำนวน 1 เที่ยวบิน และในวันที่ 16 มีนาคม 2564 จ่านวน 1 เที่ยวบิน

สมาคมการค้าในเมียนมา “ไม่สน” ร่วมหารือผู้แทนรัฐบาลทหาร

สคต. ณ กรุงย่างกุ้ง ระบุว่า นานาชาติมีแนวโน้มที่จะมีมาตรการกดดันต่าง ๆ เพิ่มเติมมากขึ้น ซึ่งรัฐบาลทหารของเมียนมายังไม่มีท่าทีประนีประนอมต่อคำร้องขอใด ๆ จากนานาชาติ ท่าให้เมียนมาภายใต้การบริหารของสภาบริหารแห่งรัฐ มีแนวโน้มที่จะถูกโดดเดี่ยวจากประเทศชาติตะวันตกและชาติพันธมิตรมากยิ่งขึ้น จนอาจส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและการลงทุนของเมียนมาในอนาคต

จากแนวโน้มที่เมียนมาจะมีโอกาสถูกคว่ำบาตรและถูกโดดเดี่ยวจากชาติตะวันตกและชาติพันธมิตรนี้ ทำให้ภาคธุรกิจของไทยจำเป็นต้องเตรียมพร้อมรับมือและประเมินสถานการณ์จากมาตรการดังกล่าวของนานาชาติ ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวต่อไป ทั้งนี้ช่องทางการค้าหลักที่ประเทศเมียนมาใช้ในการทำการค้ากับไทยยังคงพึ่งพาช่องทางการค้าผ่านทางด่านชายแดนเป็นหลัก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

โดนแล้ว! สหรัฐขึ้น "บัญชีดำ" กระทรวงกลาโหม-กระทรวงกิจการภายในประเทศเมียนมา

ด่วน! รัฐบาลเพิ่มเที่ยวบิน เร่งอพยพคนไทยออกจากเมียนมา วันที่ 12 และ 16 มีนาคมนี้  

นานาชาติเร่งอพยพประชาชนออกจากเมียนมา รัฐบาลไทยจัดเที่ยวบินอพยพคนไทย 16 มี.ค. นี้

‘เมียนมา’แรง ธุรกิจไทยอัมพาต ต่างชาติถอนลงทุน

“โดนแล้ว”สินค้ากองทัพเมียนมา ห้าง-ร้านค้าถอดจากชั้นจำหน่าย