“นิพนธ์”ลั่นแพ็กเกจรัฐบาล เอื้อเอกชนปรับตัวฝ่าโควิด

27 พ.ย. 2563 | 04:50 น.

"นิพนธ์"ชี้แพ็กเกจนโยบายรัฐ เอื้อเอกชนปรับตัวรับมือฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจยุคโควิด คาดหวังเวทีกรอ.จังหวัดทำให้ได้ข้อมูลความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง ช่วยลดช่องว่างหน่วยงานในพื้นที่กับส่วนกลาง

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวปาฐกถาพิเศษ  “กลไกความร่วมมือภาครัฐและเอกชน ภายใต้วิถีใหม่ New Normal” ในงานสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 38 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการประชุมวันสุดท้ายว่า ปัจจุบันภาครัฐและภาคเอกชนต่างๆ จำเป็นต้องปรับตัวเข้าสู่แนวทางวิถีใหม่ (New Normal) ที่ผ่านมาพบว่าการดำเนินนโยบายได้รับความร่วมมืออย่างดีจากทุกภาคีเครือข่ายโดยต้องมีการถอดบทเรียน และนำไปใช้แก้ปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของประเทศ

 

นายนิพนธ์ กล่าวอีกว่า โควิด-19 ทำให้การค้าในอนาคตเปลี่ยนแปลงไป จากการค้าขายผ่านหน้าร้านสู่ระบบออนไลน์ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องสร้างความคุ้นเคย ความชำนาญให้ประชาชน ได้ใช้งานระบบ Digital รัฐบาลให้ความสำคัญกับระบบ E-Government , E-Commerce เช่น โครงการ “คนละครึ่ง”ที่ประชาชนให้ความสนใจเข้าร่วม ส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและกระจายรายได้อย่างแท้จริง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หอการค้าเตรียมยื่นสมุดปกขาว เร่งรัฐบาลขับเคลื่อนHappy Mode

หอการค้า ผุด “Happy Model” ยกระดับสินค้า บริการในท้องถิ่น

ม.หอการค้าชี้มาตรการรัฐ กระตุ้นจีดีพี Q 4 ขยายตัว0.7-1%

“นิพนธ์”ลั่นแพ็กเกจรัฐบาล  เอื้อเอกชนปรับตัวฝ่าโควิด

 

รวมทั้งการพัฒนา Digital Platform ที่ผ่านมาทำให้การจัดเก็บข้อมูลมีประสิทธิภาพ อาทิ การทำฐานข้อมูล Big Data โดยบูรณาการข้อมูลกับทุกส่วนราชการเพื่อแก้ไขปัญหาสังคม ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการพัฒนาระบบ เช่น รวบรวมฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน การพัฒนาบุคลากรในระบบการเรียนการสอน ทั้งนี้ต้องได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนเพื่อให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จ เป็นต้น

“นิพนธ์”ลั่นแพ็กเกจรัฐบาล  เอื้อเอกชนปรับตัวฝ่าโควิด

 

นอกจากนี้ ในส่วนของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน และการดำเนินงานในอนาคต ภาครัฐออกนโยบายเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการภาคเอกชน เช่น สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ(Soft Loan) การบริการข้อมูลที่ดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน (กรมที่ดิน) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันของประเทศ

 

ความคาดหวังต่อจากนี้ คือภาครัฐและภาคเอกชนร่วมทำแผนการพัฒนาจังหวัดผ่านเวที กรอ.จังหวัด เพื่อให้ได้ข้อมูลความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง และเพื่อกำหนดงบประมาณดำเนินการอย่างเหมาะสมโดยแผนยุทธศาสตร์ชาติ จะช่วยลดช่องว่างระหว่างหน่วยงานในพื้นที่กับส่วนกลาง เนื่องจากแต่ละฝ่ายได้ถูกวางหน้าที่และบทบาทการขับเคลื่อนไปด้วยกัน