"คนละครึ่ง" จุดเริ่มต้นของ E-commerce platform ไทย

12 พ.ย. 2563 | 19:05 น.

มาถูกทาง "กรณ์" ชี้ ความสำเร็จของ "คนละครึ่ง" จุดเริ่มต้นของ E-commerce platform ไทย หากขับเคลื่อนอย่างมีวิสัยทัศน์-มียุทธศาสตร์อย่างชัดเจน ไม่ต่างคนต่างทำ

จากความสำเร็จโครงการ "คนละครึ่ง" ของรัฐบาลที่ได้รับเสียงตอบรับจากประชาชนอย่างถล่มทลายมากที่สุดเวลานี้ ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นกันได้ง่ายๆ การขยายผลจากข้อมูลที่ได้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ นำไปต่อยอด รวมไปถึงเพื่อใช้ขับเคลื่อนในเรื่องต่างๆหลังจากนี้ นับว่าน่าสนใจอย่างมาก โดย นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว เรื่อง #คนละครึ่ง กับ อนาคต E-commerce ไทย ใจความว่า 

 

เมื่อวานผมอ่านหลายความคิดเห็น หลังจากที่ผมได้โพสเกี่ยวกับธุรกิจการค้าออนไลน์ พบว่า มีหลายคำถาม ว่าทำไมประเทศไทยไม่พัฒนาระบบ E-commerce platform ของตัวเองบ้าง ทั้งๆ ที่ไทยมียอดการใช้จ่ายในโลกออนไลน์เพิ่มขึ้นทุกปี อุปสรรค คือ อะไร ทำไมเรายังไม่ไปถึงจุดนั้น

 

ผมว่า โอกาสเรามี แต่ขึ้นอยู่กับว่า จะมีคนมองเห็นมันหรือไม่

 

โดยเหตุการณ์เมื่อวานนอกจากจะมีวันโปรดุ 11.11 แล้ว ก็มีอีกหนึ่งโครงการที่ร้อนแรงไม่แพ้กัน กับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ ‘คนละครึ่ง’

 

โครงการที่รัฐบาลช่วยออกค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ ให้กับประชาชนครึ่งหนึ่ง ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยการเปิดให้ลงทะเบียนรอบ 2 นั้นครบกำหนดตามสิทธิ์อย่างรวดเร็วซึ่งตั้งแต่เปิดโครงการมา มียอดการใช้จ่ายผ่านแอพพลิเคชั่นเป๋าตังไปแล้วถึง 1.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งจำนวนเงินเหล่านี้ไปถูกกระจายไปสู่ผู้ประกอบการรายย่อยที่ลงทะเบียนแล้ว กว่า 5.7 แสนร้านค้า

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หนาวแน่ "คนละครึ่ง"คลังตั้งคณะทำงานสอบทุจริต

ลงทะเบียนคนละครึ่งรอบ 2 www.คนละครึ่ง.com เต็มแล้ว

"คนละครึ่ง"รอบ 2 สรุปครบทุกขั้นตอนลงทะเบียน เช็กที่นี่ ที่เดียวจบ

"กรณ์"ลุยพัฒนาเศรษฐกิจชุมชุนเพิ่มรายได้ฐานราก

 

รวมไปถึงแผงลอยตามตลาด ทำให้สามารถเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากได้ตามความตั้งใจ โดยโครงการนี้ไม่รับอนุญาตให้ร้านค้าขนาดใหญ่และโมเดิร์นเทรด เข้ามาสร้างความได้เปรียบแก่ผู้ประกอบการขนาดเล็ก และภาครัฐกำลังพิจารณาที่จะเปิดรอบ 3 เพิ่มขึ้นอีกในช่วงปลายปี

 

สำหรับผู้ที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วขอให้ลองคิดตามนะครับ ว่ารัฐตอนนี้ ได้ทำให้คน 12 ล้านคนยอมรับและคุ้นเคยกับการใช้ cashless มากขึ้น และเช่นเดียวกันผู้ค้ากว่า 600,000 รายก็เข้ามาอยู่ในระบบดิจิตอล

 

ดังนั้น สิ่งที่รัฐมีมากมาย คือ ‘ดาต้า’ ข้อมูล 

 

ลองจินตนาการต่อไปว่า ในอนาคต หากรัฐเปิดโอกาสให้เราคนไทย เสนอขายสินค้าโดยตรงกับผู้บริโภคตามฐานข้อมูลที่รัฐมี และรัฐยังช่วยสนับสนุนด้วยโปรโมชั่นต่างๆรวมถึงบริการส่งของผ่านไปรษณีย์ไทย...นี่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของ e-commerce platform ของไทยที่เรารอคอย

โดยสรุป คือ ข้อมูลเหล่านี้ มีประโยชน์อย่างมากต่อการนำมาพัฒนา E-commerce platform ต่อในอนาคต นอกจากทำให้เงินไม่ไหลไปแพลตฟอร์มต่างประเทศแล้ว ยังช่วยให้สินค้าไทยมีพื้นที่ตลาดที่ชัดเจนของเราเอง ข้อมูล data พฤติกรรมคนไทยไม่รั่วไหลไปสู่ต่างชาติ รวมถึงสามารถช่วยประเทศไทยให้เข้าสู่ระบบ Cashless Society

 

ปัญหาหนึ่งของรัฐไทย คือ การทำงานแบบ ‘silo’ คือ ต่างคนต่างทำ อย่างกรณีนี้ข้อมูล ‘คนละครึ่ง’ อยู่ที่กระทรวงการคลัง แต่ผู้ที่มีพันธกิจสร้าง e-commerce platform คือ กระทรวงดิจิตอล และกระทรวงพาณิชย์ ดังนั้น การขับเคลื่อนจึงต้องมีวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์จากส่วนกลางที่ชัดเจน