สรุป “เราชนะ”เยียวยา3500 รอบ2 ต่างจาก "เยียวยารอบแรก" ตรงไหน เช็กได้ที่นี่

18 ม.ค. 2564 | 20:00 น.

เปรียบเทียบมาตรการเยียวยา3500 รอบ 2 ภายใต้ “เราชนะ” กับเยียวยารอบแรก “เราไม่ทิ้งกัน-เยียวยาเกษตรกร-เยียวยากลุ่มเปราะบาง”

จากกรณีที่รัฐบาลเดินหน้า “มาตรการเยียวยารอบ2” ภายใต้ชื่อ มาตรการ “เราชนะ” ที่เปิดให้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราชนะ.com  เพื่อจ่ายเงินเยียวยา เดือนละ 3,500 บาท เป็นเวลา 2 เดือน รวม 7,000 บาท ต่อคน หรือเงินเยียวยา3500 เป็นการลดภาระและบรรเทาผลกระทบของประชาชนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีการประกาศพื้นที่ควบคุม ปิดสถานที่ต่างๆ งดการเดินทางข้ามจังหวัด

อัพเดทล่าสุด

"เราชนะ" มติครม.ล่าสุด 31.1 ล้านคนเฮ ได้สิทธิเงินเยียวยา 5 กลุ่มถูกตัดสิทธิ

ซึ่งจะมีการนำรายละเอียดของมาตรการเราชนะทั้งหมดเสนอและพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันอังคารที่ 19 มกราคม 64 นี้  

 

“ฐานเศรษฐกิจ” ตรวจสอบข้อมูลมาตรการเยียวยารอบ 2 มีความแตกต่างจาก มาตรการเยียวยารอบแรก ในการระบาดรอบแรกของไวรัสโควิด-19 ในช่วงเดือนเมษายน ถึง กรกฏาคม ซึ่งหลายจุดที่น่าสนใจ เพราะมาตรการเราชนะ เป็นการรวบรวมฐานข้อมูลทั้งหมดของ มาตรการเราไม่ทิ้งกัน เยียวยาเกษตกร เยียวยากลุ่มเปราะบาง มาอยู่ในมาตรการนี้ 

 

แต่ก็ยังมีส่วนที่เกี่ยวกับ ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ยังคงไม่ได้รับสิทธิ์ทั้งมาตรการเราไม่ทิ้งกัน จนมาถึงมาตรการเราชนะ แต่ก็ได้รับสิทธิ์อื่นๆเพิ่มเติมจากสำนักงานประกันสังคม 

ฐานเศรษฐกิจ จึงรวบรวมข้อมูลของมาตรการเยียวยารอบแรก และเยียวยารอบ 2 มาเปรียบเทียบให้เห็น ดังนี้ 

 

มาตรการเราชนะ 

 

- จ่ายเงินเยียวยา” เดือนละ 3,500 บาท เป็นเวลา 2 เดือน รวม 7,000 บาท ต่อคน

 

กลุ่มที่ได้รับสิทธิ์เราชนะ มีดังนี้ 
 

- ผู้มีรายได้น้อยโครงการคนละครึ่ง 

 

- ร้านค้าร่วมโครงการคนละครึ่งที่มีรายได้น้อย

 

- ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 14 ล้านคน

 

- เกษตรกร ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่มีรายได้น้อย
 

กลุ่มที่ไม่ได้รับสิทธิเราชนะ ได้แก่

 

- ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี

 

- กลุ่มข้าราชการกว่า 3 ล้านคน

 

- พนักงานและลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ

 

- ลูกจ้างที่อยู่ในฐานระบบประกันสังคม ตามมาตรา 33 จำนวน 11 ล้านคน

 

- ผู้มีรายได้สูง

สรุป “เราชนะ”เยียวยา3500 รอบ2  ต่างจาก "เยียวยารอบแรก" ตรงไหน เช็กได้ที่นี่

การเยียวยา ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ในมาตรการเยียวยารอบ 2 

 

- ลดหย่อนเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ลูกจ้าง-นายจ้าง เหลือร้อยละ 3 ตั้งแต่ ม.ค.-มี.ค. 64

 

- กรณีว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินชดเชยร้อยละ 70 ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 200 วัน (จากเดิมได้ร้อยละ 50 ปีละไม่เกิน 180 วัน)

 

- การว่างงานจากการลาออก ได้รับเงินชดเชย ร้อยละ 45 ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 90 วัน (เดิมอยู่ที่ร้อยละ 30 ไม่เกิน 90 วัน)

 

- การว่างงานจากเหตุสุดวิสัย (จากประกาศของทางราชการที่สั่งปิดพื้นที่ฯ หรือหยุดการปฏิบัติงานในโรงงานต่างๆ) จะได้รับเงินชดเชย ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ไม่เกิน 90 วัน และถ้าเป็นการหยุดกิจการบางส่วนหรือทั้งหมด นายจ้างต้องจ่ายเงินให้กับลูกจ้างไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 ของค่าจ้าง ก่อนหยุดการจ้างเป็นการชั่วคราว

เยียวยาเกษตรกร

เยียวยาเกษตรกร ในมาตรการเยียวยารอบแรก

 

- ในการเยียวยารอบแรก เยียวยาเกษตรกร รัฐบาลมอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โอนเงินเยียวยารายละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน รวม 15,000 บาท ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2563 ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2563 

 

ซึ่งใช้ช่องทางเว็บไซต์ www.เยียวยาเกษตรกร.com หรือ แอปพลิเคชั่น เกษตรกรดิจิทัล (Digital Farmer) ในการลงทะเบียนและตรวจสอบสิทธิ์ โดยเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์นั้นจะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการ "เราไม่ทิ้งกัน"

 

เยียวยาเกษตรกร ในมาตรการเยียวยารอบ2

 

- เนื่องจากการการจ่ายเงินเยียวยาโควิดรอบ 2 ผ่านมาตรการเราชนะ ไม่สนใจว่ากลุ่มใดจะได้รับเงินเยียวยา เพราะจะนำเงื่อนไขใหม่เกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติต้องห้ามของคนที่ไม่ได้รับสิทธิ หรือ Negative list มาใช้ ทำให้เงื่อนไขของเกษตรกรการที่จะได้รับรับเงินเยียวยารอบ 2 ผ่านมาตรการเราชนะครั้งนี้ จะแตกต่างจากรอบแรก  3 ข้อ ดังนี้ 

 

1. การลงทะเบียนรับสิทธิเราชนะไม่ต้องใช้ทะเบียนเกษตรกร

 

2. เกษตรกรที่จะขอรับเงินเยียวยาต้องลงทะเบียนผ่าน www.เราชนะ.com

 

3. การจ่ายเงินให้กับเกษตรกรที่ได้รับสิทธิเราชนะ จะไม่ใช้หลักเกณฑ์ 1 ครัวเรือน 1 สิทธิ แต่จะเปิดกว้างให้สมาชิกในครัวเรือนไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามเงื่อนไขที่กำหนด สามารถลงทะเบียนรับสิทธิได้ 

 

คุณสมบัติต้องห้ามเกษตรกรที่ไม่มีสิทธิรับเงินเยียวยารอบ 2 เบื้องต้น 4 ข้อ ดังนี้

 

1. อายุไม่ครบ 18 ปีบริบูรณ์

 

2. เป็นข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ

 

3. กลุ่มผู้มีรายได้สูง

 

4. อยู่ในกลุ่มแรงงานที่ได้รับสิทธิจากประกันสังคม 

 

หากเกษตรกรหรือสมาชิกในครัวเรือนไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด สามารถลงทะเบียนรับสิทธิเงินเยียวยา 3,500 บาท เป็นระยะเวลา 2 เดือน รวม 7,000 บาท จากมาตรการเราชนะ ผ่าน www.เราชนะ.com ได้ทั้งหมด

เราไม่ทิ้งกัน

“เราไม่ทิ้งกัน” ในมาตรการเยียวยารอบแรก

 

มาตรการ เราไม่ทิ้งกัน ในการเยียวยารอบแรกนั้น เป็นการมอบเงินเยียวยาจำนวน 5,000 บาท ต่อคนต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน รวม 15,000 บาท   จำนวนผู้ได้รับสิทธิ์เยียวยา เราไม่ทิ้งกัน – จำนวน 15 ล้านราย  (เราชนะ  จำนวน 30 – 40 ล้านราย)

 

กลุ่มที่ได้รับสิทธิ์ลงทะเบียนรับเงินเยียวยา เราไม่ทิ้งกัน ได้แก่ แรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ ผู้ที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19

 

ส่วนการลงทะเบียนเราไม่ทิ้งกัน นั้นใช้หลักฐานคือ หมายเลขบัตรประชาชน ข้อมูลการประกอบอาชีพ ข้อมูลบริษัทนายจ้าง (กรณีมีนายจ้าง) กรอกข้อมูลปัญหาความเดือดร้อน และลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com (เว็บไซต์ยังไม่ปิด แต่ปิดมาตรการไปแล้ว)หากข้อมูลไม่เพียงพอ ธนาคารกรุงไทยจะมีทีม “ผู้พิทักษ์สิทธิ์” ลงพื้นที่ตรวจสอบและยืนยันข้อมูลโดยตรง โดยช่องทางลงทะเบียนรับสิทธิ์เยียวยา

 

ส่วนมาตรการเราไม่ทิ้งกันในมาตรการเยียวยารอบ 2 นั้นไม่มีแล้ว เนื่องจากเปลี่ยนชื่อมาตรการเป็นเราชนะแทน

เยียวยากลุ่มเปราะบาง

เยียวยากลุ่มเปราะบาง ในมาตรการเยียวยารอบแรก 

 

- ในการเยียวยากลุ่มเปราะบาง ในมาตรการเยียวยารอบแรกนั้น มีด้วยกัน 3 กลุ่มคือ เด็กแรกเกิด – 6 ปี ,ผู้สูงอายุ และ ผู้พิการ  โดยจะได้รับเงินเยียวยารายละ 1,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน มีผู้ที่ได้รับสิทธิ์ทั้งหมด 13 ล้านคน แต่เมื่อตัดจากผู้มีสิทธิ “เราไม่ทิ้งกัน” ที่มีรายชื่อซ้ำซ้อนจึงเหลือเพียง 6,781,881 คน

 

เยียวยากลุ่มเปราะบาง ในมาตรการเยียวยารอบ2 (เราชนะ) 

 

ผู้ที่จะได้สิทธิรับเงินเยียวยาโควิดรอบ2 เดือนละ 3,500 บาท จากมาตรการเราชนะครั้งนี้ จะรวมถึงประชาชนทีอยู่ในกลุ่มเปราะบาง 2 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) และ กลุ่มผู้พิการ เบื้องต้นกระทรวงการคลังเห็นว่า ผู้สูงอายุ และ ผู้พิการที่ต้องการรับสิทธิเงินเยียวยา 3,500 บาทต่อเดือนจากมาตรการเราชนะ จะต้องลงทะเบียนผ่าน www.เราชนะ.com

 

กลุ่มเปราะบางที่ลงทะเบียนเราชนะ จะต้องไม่มีคุณสมบัติต้องห้าม ดังนี

 

1.อายุไม่ครบ 18 ปีบริบูรณ์

 

2. กลุ่มข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ

 

3. กลุ่มผู้มีรายได้สูง

 

4. แรงงานที่ได้รับสิทธิจากประกันสังคม 

 

กลุ่มเปราะบางที่ได้รับสิทธิเราชนะ จะไม่ถูกตัดสิทธิเงินช่วยเหลือที่ได้รับความช่วยเหลืออยู่เดิม เพราะเป็นคนละวัตถุประสงค์ กล่าวคือ - ผู้สูงอายุ: ยังคงได้รับเงินช่วยเหลือ “เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ“ 600-1,000 บาท/เดือน- คนการ: ยังได้รับเงินช่วยเหลือเป็นเบี้ยเลี้ยง 800 บาท/เดือน เท่ากับผู้สูงอายุ และผู้พิการที่อยู่ในกลุ่มเปราะบางที่ไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามที่กำหนด จะได้รับเงิน 2 เด้งจากรัฐบาล คือสิทธิจากเราชนะ และสิทธิการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางจากรัฐบาล

 

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า มาตรการเยียาวยารอบ 2 ภายใต้ มาตรการเราชนะ เป็นการใช้ฐานข้อมูลของมาตรการเยียวยารอบแรก ทั้ง เราไม่ทิ้งกัน เยียวยาเกษตรกร เยียวยากลุ่มเปราะบาง มาอยู่ภายใต้ฐานข้อมูลเดียวกัน โดยใช้ช่องทางเดียวในการลงทะเบียนคือ www.เราชนะ.com ช่องทางเดียว โดยจะเปิดให้ลงทะเบียนหลังจากครม.มีมติวันอังคารที่ 19 มกราคมนี้ 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัพเดท “เราชนะ” ลงทะเบียนเยียวยาโควิดรอบ 2 ล่าสุดได้ที่นี่

www.เราชนะ.com ลุ้นครม.เคาะเกณฑ์ “คนรวย” หมดสิทธิรับเงินเยียวยา3500

ย้ำ www.เราชนะ.com ลงทะเบียน เงินเยียวยา3500 เราชนะ ที่เดียวเท่านั้น

เราชนะ” ใครได้-ไม่ได้ รับเยียวยารอบ2 เงิน 3,500 บาท เช็กได้ที่นี่ 

เปิดไทม์ไลน์ “เราชนะ” ลงทะเบียนผ่าน www.เราชนะ.com วันไหน

www.เราชนะ.com เว็บไซต์ "เราชนะ" เยียวยา 3500 บาท ยืนยันลงทะเบียนไม่ยุ่งยาก

เช็กที่นี่ แอปฯ “ลงทะเบียน เราชนะ” ที่ “คลัง” เตือน-ไม่ใช่ของจริง