สมุทรสาครตั้ง"ศูนย์พักคอย"ชุมชน-โรงงาน เตียงเต็มเบรกรับคนนอกพื้นที่

25 ก.ค. 2564 | 11:47 น.
อัพเดตล่าสุด :25 ก.ค. 2564 | 19:41 น.

สมุทรสาครระบาดหนักเตียงเต็มแล้ว เบรกรับผู้ป่วยนอกพื้นที่เข้ารักษาตัวไว้ก่อน เร่งสร้างศูนย์พักคอยฯอีก 4,000 เตียง ผู้ว่าฯสั่งโรงงานเกิน 50 คนขึ้นไปต้องตั้งศูนย์กักรักษา 10 % ของจำนวนคนงาน 

สมุทรสาคร เคยเป็นศูนย์กลางการระบาดเชื้อโควิด-19 ระลอกสอง ที่ตลาดกลางกุ้ง เมื่อปลายปี 2563 ก่อนแพร่กระจายไปหลายจังหวัด ขณะที่ในสมุทรสาครเองก็แผ่ลามไปตามชุมชนที่พักของกลุ่มแรงงานทั้งไทยและต่างด้าว รวมถึงเข้าไปในโรงงานหลายแห่ง จนต้องจัดตั้งรพ.สนามในอาคารขนาดใหญ่ หรือรพ.สนามในโรงงานขึ้น จนเป็นต้นแบบในการรองรับผู้ติดเชื้อจำนวนมากของประเทศ จนคุมการระบาดให้สงบลงได้ 
    

ต่อมาเมื่อเกิดการระบาดระลอก 3 เมื่อต้นเดือนเม.ย.จากคลัสเตอร์ทองหล่อในกรุงเทพฯ ที่มีตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจำนวนมากในกรุงเทพฯและปริมณฑล จนเตียงผู้ป่วยในโรงพยาบาลและรพ.สนามรับไม่ทัน ส่วนหนึ่งได้ส่งต่อไปรับการรักษาที่สมุทรสาคร ที่สถานการณ์ในพื้นที่เริ่มคลี่คลายลง เตียงผู้ป่วยโควิด-19 ในสมุทรสาครจึงเป็นอีก 1 ความหวังของผู้ติดเชื้อ  ที่หาช่องทางติดต่อขอย้ายมารักษาตัวไม่ขาดสาย 
สมุทรสาครตั้ง\"ศูนย์พักคอย\"ชุมชน-โรงงาน เตียงเต็มเบรกรับคนนอกพื้นที่     

ขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดในพื้นที่สมุทรสาครได้กลับมาเร่งตัวเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน โดยตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่สมุทรสาครวันที่ 24 ก.ค. 2564 มีจำนวน 1,083 คน ขณะนี้อยู่ระหว่างการรักษาในโรงพยาบาลถึง 21,223 คน  และจังหวัดสั่งให้จัดตั้งศูนย์พักคอยคนสาคร(CI) 33 แห่งทั่วจังหวัด ให้โรงงานมีคนงานเกิน 50 คนขึ้นไปตั้งที่กักกันอย่างต่ำ10 %ของคนงานภายใน 1 สัปดาห์ ไว้รับคลื่นผู้ติดเชื้อแล้ว 
    

นายแพทย์นเรศฤทธิ์ ขัดธะสีมา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร ได้เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เตียงของโรงพยาบาลสนามในจังหวัดสมุทรสาครเต็มมาตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว จำเป็นต้องขอใช้เตียงสำหรับผู้ป่วย และผู้ที่ตรวจหาเชื้อในจังหวัดสมุทรสาครก่อน แต่ถ้าหากมีเตียงว่างก็คงไม่มีปัญหาที่จะรับผู้ป่วยจากจังหวัดอื่นเข้ามารักษาตัว 
    
สมุทรสาครตั้ง\"ศูนย์พักคอย\"ชุมชน-โรงงาน เตียงเต็มเบรกรับคนนอกพื้นที่

สมุทรสาครตั้ง\"ศูนย์พักคอย\"ชุมชน-โรงงาน เตียงเต็มเบรกรับคนนอกพื้นที่

พร้อมกันนี้ก็ได้เตรียมจัดตั้งศูนย์พักคอยคนสาคร หรือโรงพยาบาลสนามในชุมชน (CI – Community Isolation) ทั้ง 3 อำเภอ อีกประมาณ 30-33 แห่ง โดยร่วมมือกับทางท้องถิ่น คาดว่าเมื่อดำเนินการครบตามเป้าหมาย จะมีเตียงรองรับผู้ป่วยฯ ได้อีกประมาณ 4,000 เตียง ส่วนใหญ่เปิดดำเนินการแล้ว ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างเร่งดำเนินการและทะยอยเปิดเมื่อพร้อม
    

นายแพทย์นเรศฤทธิ์ กล่าวอีกว่า ในส่วนห้อง ICU ของโรงพยาบาลในจังหวัดสมุทรสาครนั้น ขณะนี้เต็ม 100% ทางจังหวัดฯจึงได้เตรียมที่จะทำโรงพยาบาลสนามสีเหลือง โดยเบื้องต้นจะดำเนินการที่โรงพยาบาลสนามเชิงสะพานท่าจีน (ศูนย์ห่วงใยคนสาครแห่งที่ 10 ต.ท่าจีน อ.เมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร)  ซึ่งจะเป็นโรงพยาบาลสนามที่สามารถให้ออกซิเจนกับผู้ป่วยฯ ได้ 
สมุทรสาครตั้ง\"ศูนย์พักคอย\"ชุมชน-โรงงาน เตียงเต็มเบรกรับคนนอกพื้นที่   

ขณะนี้มีโรงพยาบาลสนามเปิดดำเนินการอยู่ 7 แห่ง คือ ศูนย์ห่วงใยคนสาครแห่งที่ 8-14 ส่วนศูนย์ห่วงใยคนสาครแห่งที่ 1-7 ได้ปิดให้บริการผู้ป่วยฯไปแล้ว  มีเตียงทั้งหมด 2,815 เตียง โดยมีศูนย์ฯเปิดเพิ่มใหม่เมื่อต้นเดือน ก.ค.2564 ที่ผ่านมา ได้แก่ ศูนย์ฯวัดช่องลม ศูนย์ฯวัดโกรกกราก ศูนย์ฯเทศบาลนครอ้อมน้อย และที่ศูนย์ฯอำเภอบ้านแพ้ว 
    

นายแพทย์นเรศฤทธิ์ ย้ำว่า ผู้ป่วยจากกทม.และจังหวัดอื่น ๆ ที่ต้องการมารักษาตัวที่สมุทรสาคร ให้ตรวจสอบสิทธิการรักษาจากสถานพยาบาลต้นทางของตนเองก่อน หรือประสานแจ้งผ่านศูนย์แรกรับ-ส่งต่อ อาคารนิมิบุตร กระทรวงสาธารณสุข และรพ.สนามบุษราคัม เมืองทองธานีก่อน ทั้ง 2 แห่งน่าจะมีเตียงพอรับผู้ป่วยได้ 
    

"แต่หากไม่มีเตียงจริง ๆ ให้หน่วยงานต้นทางที่เป็นเจ้าของเรื่อง แจ้งประสานเข้ามา ทางโรงพยาบาลสนามในจังหวัดสมุทรสาครก็ยินดีรับผู้ป่วยฯ ซึ่งไม่มีเตียง มาดูแลตามนโยบานของกระทรวงสาธารณสุข ในการพัฒนาเตียงให้เพียงพอกับผู้ป่วย หากมีเตียงว่างจากที่ดูแลคนในพื้นที่แล้วก็คงไม่มีปัญหา"
   สมุทรสาครตั้ง\"ศูนย์พักคอย\"ชุมชน-โรงงาน เตียงเต็มเบรกรับคนนอกพื้นที่  

สมุทรสาครตั้ง\"ศูนย์พักคอย\"ชุมชน-โรงงาน เตียงเต็มเบรกรับคนนอกพื้นที่

ส่วนความคืบหน้าการฉีดวัคซีนจังหวัดสมุทรสาคร ช่วงสัปดาห์นี้ได้รับจัดสรรอีก จำนวน 60,000 โดส รวมกับวัคซีนฯ ที่ได้รับในช่วงต้นเดือนกค.อีก 15,000 โดส รวมแล้วประมาณ 75,000 โดส คาดว่าจนถึงสิ้นเดือนนี้ น่าจะได้รับการจัดสรรวัคซีนมาเป็นจำนวน 100,000 โดสขึ้นไป ซึ่งก็จะรีบดำเนินการฉีดให้กับกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป และป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง ตามแผนที่วางไว้ สำหรับผู้ลงทะเบียนจองกลุ่มอื่น ๆ ก็คงต้องรอวัคซีนในรอบถัดไป
    

ทั้งนี้ นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ได้สั่งจัดตั้งศูนย์ปฎิบัติการป้องกันและควบคุมโรค"ศูนย์พักคอยคนสาคร" เป็นช่องทางติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับทีมเจ้าหน้าที่ฯ ทั้ง 3 อำเภอของจังหวัดสมุทรสาคร โดยกำชับให้ต้องแจ้งผลกับประชาชนที่ติดต่อเข้ามาภายใน 24 ชั่วโมง พร้อมให้จัดทำกล่องห่วงใย เพื่อมอบให้ผู้ป่วยที่แยกกักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน หรือศูนย์พักคอยชุมชน(CI) ซึ่งนอกจากเครื่องใช้ประจำวันแล้ว ยังมีเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ยา ด้วย 

สมุทรสาครตั้ง\"ศูนย์พักคอย\"ชุมชน-โรงงาน เตียงเต็มเบรกรับคนนอกพื้นที่