โลกสะพัด กยท.เทขายยางสต็อก 1.04 แสนตัน

12 เม.ย. 2564 | 07:14 น.

5 เสือยางไทยตื่น  หลัง โลกสะพัด กยท. เทขายยางสต็อก 1.04 แสนตัน เช็กกันวุ่น ขณะที่ วงใน บอร์ดกยท. ยันขายจริง มั่นใจปิดจ๊อบทันก่อนผลผลิตฤดูใหม่ออกแน่นอน

มติการประชุม คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ครั้งที่ 1/2563 วันที่ 1 มิถุนายน 2563 ที่ประชุม มอบหมายให้ ารยางแห่งประเทศไทย  หรือ กยท. ระบายยางในสต๊อก โดยพิจารณาความเหมาะสมของราคายางในตลาด รวมถึงการนำยางในสต๊อกไปใช้ในหน่วยงานภาครัฐเพื่อลดค่าใช้จ่ายค่าเช่าโกดังเก็บรักษายางค่าบริหารอ่วม 132 ล้านบาทต่อปี ล่าสุดมีความคืบหน้าแล้ว

 

การยางแห่งประเทศไทย

 

แหล่งข่าววงการส่งออกยางไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” เมื่อบ่ายวันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน ผ่านมามีแพร่สะพัดไปทั่วโลกว่า การยางแห่งประเทศไทย หรือ กยท.จะขายยางในสต็อก 1.04 แสน ซึ่งเป็นข่าวมาจากต่างประเทศ ก็คือที่เมืองจีน จึงทำให้เอกชนยักษ์ใหญ่ทางภาคใต้ของไทยหลายรายเช็กข่าวกันวุ่นวาย เริ่มไหวตัว มีข่าวจริงหรือไม่

 

พอเช้าวันศุกร์วันที่ ที่ 9 เมษายน ที่ผ่านมาข่าวก็มีความชัดเจนขึ้นฝ่ายจีน ได้ยืนยันแล้วว่า กยท.มีการพูดคุยซื้อขายในสต็อก 1.04 ตัน จริง เมื่อคืนวันพฤหัสบดี ที่ผ่านมาจริง ย้ำคุยช่วงกลางคืน ตอนนี้ข่าวก็แพร่กระจายไปทั่วไปแล้ว ราคาจึงยางจึงร่วงตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ผ่านมาผ่านมา

 

“ความจริงสต็อกยางยื้อเยื้อมา 8-9  ปีแล้ว ด้วยซ้ำไป ตอนนั้นขายไปได้ประมาณ 1 แสนตัน ช่วงปลายปี 2559-2560 พอเหลือ 1 แสนตันเศษ ซึ่งเราต้องมาดูความจำเป็นของ การยางแห่งประเทศไทย ซึ่งผู้บริหารทุกคนมองว่าเป็นเผือกร้อน เป็นสินค้ากึ่งการเมือง กึ่งความรู้สึกของคน ในหลักการบริหารที่ถูกก็ควรจะขาย จะเก็บไว้ทำไม เพราะค่าเช่าโกดังและค่าประกันปีละ 120 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายที่หนักอึ้ง ยังไม่นับค่าใช้จ่ายอื่นๆ ดังนั้น ทุกคนที่เข้ามาหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะบริหาร เพราะไม่บริหารแล้วปล่อยให้เหมือนเดิม ไม่ถูกต้อง”

 

 

แหล่งข่าววงการส่งออกยางไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาก็มีความพยายามที่จะเบี่ยงเบน ให้แปรรูปในประเทศ นี่เป็นนโยบาย ย้อนไป 4-5 ปีที่แล้ว จะนำให้กระทรวงต่างๆ ไปใช้ ไม่มีประโยชน์ ไม่สามารถที่จะแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้ แล้วแต่ละกระทรวงที่จะนำไปแปรรูปต้องการคนละอย่าง ไม่เหมือนกันเลย จะต้องใช้โรงงานกี่ประเภทในการแปรรูป จะเห็นว่าการตั้งนโยบายมีปัญหาในเชิงปฏิบัติ ดังนั้นนโยบายที่ดีควรจะเป็นนโยบายที่นำไปปฏิบัติได้

 

“ผมรู้อยู่แล้ว ผู้บริหารทุกคนที่เข้ามาบริหาร กยท. แม้แต่คนที่เคยประท้วงการขายในอดีตไม่ว่ากลุ่มไหนก็แล้วแต่ ตอนนี้เข้าไปเป็นบอร์ด จะต่างกับตอนยู่ข้างนอกก็ไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องขายยางในสต็อก ไม่มีเหตุผล ใช้ความรู้สึก มองประโยชน์ด้านเดียว ไม่เห็นข้อมูลด้านในที่มีเหตุผล และความจำเป็นที่ต้องขาย”

 

แต่พอวันหนึ่งเข้าไปเป็นบอร์ด ถึงรู้ว่าบอร์ด ก็ไม่มีทางเลือกอื่น บอร์ดต้องตัดสินใจ แล้วต้องสนับสนุนให้ขาย ถ้าไม่เป็นบอร์ด เค้าก็ต้องค้าน จะเห็นว่ามุมมองที่มีความรับผิดชอบ กับ ไม่มีความรับผิดชอบก็ต่างกันแล้ว ดังนั้นไม่ว่าใครมาเป็นก็ต้องถูกบังคับให้ขายอยู่ดี เพราะเป็นภาระองค์กร ทั้งค่าใช้จ่ายและบุคลากร มานั่งเฝ้ากองที่ไม่มีประโยชน์กับประเทศ

 

ด้าน แหล่งบอร์ด กรรมการ การยางแห่งประเทศไทย  เผยว่า กยท.จะมีการขายยางในสต็อกเป็นความจริง อาจจะมีผลกระทบในเชิงจิตวิทยาบ้างเล็กน้อย แต่ยางที่ขายเป็นยางเก่ามีอายุ 9 ปีแล้ว เหลือจากการประมูลครั้งที่แล้ว เป็นยางเสื่อม และการที่นำยางออกมาเทขายเป็นช่วงที่ยางไม่มี และช่วงนี้จะมีผลต่อราคาน้อยที่สุดแล้ว และทางผู้บริหาร กยท. ยืนยันว่าทุกอย่างจะบริหารให้จบก่อนผลผลิตฤดูใหม่ออกแน่นอน หรือภายในเดือน พ.ค.นี้