ชำแหละร่าง “นมโรงเรียน” 1.4 หมื่นล้าน เอื้อใคร?

02 มี.ค. 2564 | 12:55 น.

​​​​​​วิพากษ์ร่าง “นมโรงเรียน” งบ 1.4 หมื่นล้าน “ประธานชุมนุมฯ” เดือด ซัดแรงเอื้อใคร ผวาเกษตรกรตกขบวน ขณะที่ นายกสมาคมผู้ผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ แนะ แก้นมล้น ควรจัดสรรสิทธินมทั้งปี

ตามคำสั่งคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน ที่2/2562 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน ลงวันที่ 5 เมษายน 2562 เพื่อให้มีคณะอนุกรรมการฯ ปฏิบัติหน้าที่และรับผิดชอบในภารกิจต่างๆ ตามแนวทางการการปฏิรูประบบการบริหารจัดการโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน  หรือ ”โครงการนมโรงเรียน” นั้น

 

สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ส่งร่างประกาศคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินโครงการอาหารเสริม (นมโรงเรียน) ประจำปีการศึกษา 2564 ในระหว่างที่ 23 กุมภาพันธ์  ถึง 1 มีนาคม 2564 นั้น ล่าสุดมีความเคลื่อนไหว ผู้ที่มีส่วนได้เสียโครงการนมโรงเรียน

นัยฤทธิ์ จำเล

 

นายนัยฤทธิ์ จำเล ประธานกรรมการชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย จำกัด เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงร่างหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินโครงการอาหารเสริม (นมโรงเรียน) ประจำปีการศึกษา 2564 ที่จะใช้ในวันเปิดเทอม ประมาณกลางเดือนพฤษภาคมนี้ กำลังให้ประชาพิจารณ์อยู่ เดิมมีหลักเกณฑ์มีประมาณ 20 หน้า แต่หลักเกณฑ์ใหม่เข้ามาเพิ่มอีก 3 หน้า เป็น 23 หน้า

 

“หลักเกณฑ์ทั่วไปน่าจะดีขึ้น โดยไม่ต้องมีอะไรเปลี่ยนแปลงหรือลดลง แต่กลับกลายเป็นไปเพิ่มเงื่อนไขทำให้วุ่นวาย เหมือนตีกัน ใครหรือไม่ อย่างไร หรือว่าดี ดีอย่างไร พอจะจัด ก็มีปัญหาอย่างนี้ทุกที ไม่ครอบคลุม ไม่ตอบโจทย์เกษตรกร เรียกว่าเขียนหลักเกณฑ์เลอะเทอะแล้ว "

 

วสันต์ จีนหลง

เช่นเดียวกับ นายวสันต์ จีนหลง นายกสมาคมผู้ผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ กล่าวว่า สมาคมผู้ผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ ประกอบด้วยสมาชิกจากหน่วยงานภาคราชการ ภาคสหกรณ์ และภาคเอกชน รวมทั้งสิ้น 21 องค์กร ซึ่ง สมาคมฯ ได้สารวจความคิดเห็นและข้อเสนอแนะรวมถึงแนวทางแก้ไข ปัญหาและอุปสรรค์ในเกี่ยวกับร่างหลักเกณฑ์โครงการอาหารเสริม(นม)โรงเรียน ประจาปีการศึกษา 2564 มีทั้งหมด 7 ข้อ

 

1. ข้อ 9.6 ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมต้องรับผิดชอบรับซื้อน้านมโคจากฟาร์มโคนมและ/หรือศูนย์รวบรวมน้านมดิบคู่สัญญาตลอด 365 วัน ปัจจุบัน 260 วัน ทั้งนี้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมต้องดาเนินการส่งสาเนาเอกสารหรือหลักฐานการรับซื้อน้านมโคทั้งหมดในรอบแต่ละเดือน ไปยังช่องทางที่คณะอนุกรรมการบริหารกลางกาหนดภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป เพื่อให้คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนกลุ่มพื้นที่หรือคณะทางานตรวจสอบโรงงานหรือสถานประกอบการสามารถตรวจสอบได้โดยการดาเนินการดังกล่าวจะมีผลต่อการพิจารณาจัดสรรสิทธิในปีการศึกษาถัดไป

 

ข้อเสนอแนะ ข้อ 9.6 ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมต้องรับผิดชอบรับซื้อน้ำนมโคจากฟาร์มโคนมและ/หรือศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบคู่สัญญาตลอด 365 วัน ทั้งนี้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมต้องดำเนินการจัดเตรียมเอกสารหรือหลักฐานการรับซื้อน้านมโคทั้งหมดในรอบแต่ละเดือน เพื่อให้คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนกลุ่มพื้นที่หรือคณะทางานตรวจสอบโรงงานหรือสถานประกอบการสามารถตรวจสอบได้โดยการดาเนินการดังกล่าวจะมีผลต่อการพิจารณาจัดสรรสิทธิในปีการศึกษาถัดไป โดยให้รายงานการรับซื้อน้านมโคในรอบแต่ละเดือน ตามแบบฟอร์มที่คณะอนุกรรมการบริหารกลางกาหนดภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป (รายงานเหมือนกับกรมส่งเสริมสหกรณ์) เนื่องจากเป็นรายงานเดียวกัน


2.โรงเรียนเอกชนส่วนใหญ่ไม่จ่ายชาระค่าผลิตภัณฑ์ตามสัญญาและตามกำหนด

ข้อเสนอ   ออกประกาศมาตรการที่สามารถบังคับหน่วยจัดซื้อที่เป็นโรงเรียนเอกชน ให้จัดซื้อตามที่ คณะกรรมการฯ

 

3. 12.5 การลดทอนสิทธิการจำหน่าย 12.5.1 (ข) กรณีแหล่งที่มาของน้ำนมโคมาจากศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบและ/หรือฟาร์มโคนมเป็นของตนเอง แต่ตั้งอยู่นอกกลุ่มพื้นที่ ให้ลดทอนประมาณน้ำนมโคจากแหล่งที่มาดังกล่าวร้อยละ 5

ข้อเสนอ ไม่ควรกำหนด ข้อ 12.5 การลดทอนสิทธิการจำหน่ายข้อ 12.5.1 (ข) เนื่องจากผู้ประกอบการเข้าร่วมอย่างเป็นธรรม และเท่าเทียมกัน ในกรณีที่รับซื้อน้ำนมดิบ หากมีปริมาณน้ำนมโคเกินควรหารเฉลี่ยตามสัดส่วนเท่ากันทุกราย อีกทั้งลดทอนเป็นการพิจารณาที่ตัดสิทธิซ้ำซ้อนจากการหารเฉลี่ยในแต่ละกลุ่มพื้นที่แล้ว

 

4. 12.5 การลดทอนสิทธิการจำหน่าย 12.5.1 (ค) กรณีแหล่งที่มาของน้ำนมโคมาจากศูนย์รวบรวมน้านมดิบและ/หรือฟาร์มโคนมที่มิใช่ศูนย์รวบรวมน้านมดิบและ/หรือฟาร์มโคนมของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นม แต่ตั้งอยู่ในกลุ่มพื้นที่ ให้ลดทอนประมาณน้ำนมโคจากแหล่งที่มาดังกล่าว ร้อยละ 5

ข้อเสนอ ไม่ควรกำหนด ข้อ 12.5 การลดทอนสิทธิการจำหน่าย ข้อ 12.5.1 (ค) เนื่องจากผู้ประกอบการเข้าร่วมอย่างเป็นธรรม และเท่าเทียมกัน ในกรณีที่รับซื้อน้ำนมดิบ หากมีปริมาณน้ำนมโคเกินควรหารเฉลี่ยตามสัดส่วนเท่ากันทุกราย อีกทั้งลดทอนเป็นการพิจารณาที่ตัดสิทธิซ้ำซ้อนจากการหารเฉลี่ยในแต่ละกลุ่มพื้นที่แล้ว

 

5. 12.5 การลดทอนสิทธิการจำหน่าย12.5.1 (ง) กรณีแหล่งที่มาของน้ำนมโคมาจากศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบและ/หรือฟาร์มโคนมที่มิใช่ศูนย์รวบรวมน้ำมดิบและ/หรือฟาร์มโคนมของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นม แต่ตั้งอยู่นอกกลุ่มพื้นที่ ให้ลดทอนประมาณน้ำนมโคจากแหล่งที่มาดังกล่าว ร้อยละ 10

 

ข้อเสนอ ไม่ควรกำหนด ข้อ 12.5 การลดทอนสิทธิการจำหน่ายข้อ 12.5.1 (ง) เนื่องจากผู้ประกอบการเข้าร่วมอย่างเป็นธรรม และเท่าเทียมกัน ในกรณีที่รับซื้อน้ำนมดิบ หากมีปริมาณน้ำนมโคเกินควรหารเฉลี่ยตามสัดส่วนเท่ากันทุกราย อีกทั้งลดทอนเป็นการพิจารณาที่ตัดสิทธิซ้ำซ้อนจากการหารเฉลี่ยในแต่ละกลุ่มพื้นที่แล้ว

 

6. 12.5.2 หากดำเนินการลดทอนตาม ข้อ 12.5.1 แล้วยังมีปริมาณน้ำนมโคที่เกินจากความต้องการในกลุ่มพื้นที่ตามข้อ 12.2 ให้นำสิทธิที่คำนวณได้ตามข้อ 12.5.1 มาหักลดในอัตราเท่ากันทุกราย ยกเว้นผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมรายเดิมที่เคยเข้าร่วมโครงการปีการศึกษา 2563 ที่ยื่นสิทธิในภาคเรียนนี้ไม่เกิน 5 ตันต่อวันตามแบบ นร.1 จะได้รับการจัดสรรสิทธิตามการลดทอนในข้อ 12.5.1 ฯลฯ

ข้อเสนอ ไม่ควรกำหนด ข้อ 12.5.2 เนื่องจากผู้ประกอบการเข้าร่วมอย่างเป็นธรรม และเท่าเทียมกัน ในกรณีที่รับซื้อน้ำนมดิบ หากมีปริมาณน้ำนมโคเกินควรหารเฉลี่ยตามสัดส่วนเท่ากันทุกราย เพื่อให้เกษตรกรขายน้ำนมดิบได้มากขึ้น

 

7. การจัดสรรสิทธิ ในแต่ละกลุ่มพื้นที่ มีการหารสัดส่วนจำนวนสูงเกินไป ทำให้เกิดปัญหาน้ำนมดิบล้น กระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม

ข้อเสนอ ควรจัดสรรสิทธิให้เด็กนักเรียนได้ดื่มนมครบ 365 วัน หรือ 1 ปีเต็ม

 

อย่างไรก็ตาม นายวสันต์ กล่าวในตอนท้ายว่า ทางสมาคมฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะรับฟังความเห็น และได้รับความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา/อุปสรรค ที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดต่ออุตสาหกรรมนมในประเทศ