Top 3 ปัญหาอมตะในธุรกิจครอบครัว 

21 มี.ค. 2564 | 02:22 น.

ข่าวเศรษฐกิจ อัพเดทข่าววันนี้ ราคาทอง น้ำมัน ข่าวตลาดหุ้น การเงิน ธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ การตลาด เจาะลึกแบบตรงประเด็น | ฐานเศรษฐกิจ

ธุรกิจครอบครัวนั้นมีข้อได้เปรียบมากมายจากคุณสมบัติเฉพาะของครอบครัว เช่น ความผูกพันที่ลึกซึ้งกับคู่ค้า ค่านิยมที่ดีงามของครอบครัวและการมีมุมมองระยะยาวต่อความสำเร็จ เป็นต้น แต่ธุรกิจครอบครัวก็ต้องเจอกับความท้าทายที่ไม่เหมือนใครอีกหลายเรื่อง

โดยธุรกิจครอบครัวมัลติเจเนอเรชันที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดสามารถเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้ได้โดยผสมผสานแนวคิดใหม่ ๆ ไปพร้อมกับรักษาจุดแข็งในการแข่งขันที่ทำให้ประสบความสำเร็จตั้งแต่แรกไปด้วย และปัญหาที่เกิดขึ้นในธุรกิจครอบครัวทุกยุคทุกสมัย ได้แก่

ปัญหาแรก: ล้มเหลวในการทำให้พนักงานที่ไม่ใช่สมาชิกครอบครัวมีความสุขการดูแลพนักงานที่ไม่ใช่สมาชิกในครอบครัวให้มีความสุขและก้าวหน้าในหน้าที่การงานเป็นเรื่องสำคัญ ไม่เช่นนั้นบริษัทก็จะไม่สามารถรักษาคนเก่งเอาไว้ได้ ทั่วไปพนักงานที่ไม่ใช่สมาชิกในครอบครัวมักรู้สึกว่ามีกำแพงกั้นความก้าวหน้าในอาชีพของตนภายในบริษัทเนื่องจากไม่ใช่สมาชิกในครอบครัวจึงคิดว่าอาจถูกกันออกจากตำแหน่งสูงๆ ในบริษัท หรือคิดว่าตนไม่มีเส้นทางความก้าวหน้าที่ชัดเจนในอาชีพ

ดังนั้นหากต้องการรักษาพนักงานคนสำคัญไว้ สิ่งสำคัญคือต้องทำให้พวกเขารู้สึกว่าความสำเร็จของบริษัทมีประโยชน์ต่อพวกเขาเช่นเดียวกับครอบครัวเจ้าของ ทั้งนี้อาจพิจารณาให้พนักงานคนสำคัญมีส่วนในการเป็นเจ้าของหรือริเริ่มโครงการให้ค่าตอบแทนที่จูงใจ เช่น การให้โบนัสหรือเสนอให้ส่วนแบ่งผลกำไรของบริษัท สามารถช่วยให้ผลประโยชน์ของพนักงานสอดคล้องกับบริษัท และกระตุ้นให้พนักงานคนสำคัญที่ไม่ใช่สมาชิกในครอบครัวยังคงอยู่กับบริษัทต่อไป

ธุรกิจครอบครัว

ปัญหาที่ 2: การปล่อยให้เรื่องดราม่าของครอบครัวส่งผลกระทบต่อธุรกิจ แม้ความสัมพันธ์ในครอบครัวอาจเป็นสิ่งสำคัญต่อวัฒนธรรมบริษัท แต่พลวัตที่ไม่ดีระหว่างสมาชิกในครอบครัวจะส่งผลเสียหายอย่างมากต่อความสำเร็จทางธุรกิจ ปัญหาอย่างหนึ่งที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าคือสมาชิกในครอบครัวขาดการสื่อสารเพื่อแสดงความต้องการ

ความจำเป็นและความกังวลทั้งเรื่องส่วนบุคคลและเรื่องงาน หากสมาชิกในครอบครัวโดยเฉพาะผู้อาวุโสซึ่งเป็นบุคคลสำคัญของครอบครัวไม่รู้สึกอยากรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น เรื่องดราม่าของครอบครัวก็อาจแทรกซึมเข้ามาในธุรกิจได้

ทั้งนี้การขาดแผนกทรัพยากรบุคคลทำให้ธุรกิจครอบครัวจำนวนมากขาดกฎข้อบังคับและกระบวนการที่เป็นทางการในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ทำให้ยากที่จะจัดการกับการทะเลาะวิวาทที่อาจเกิดขึ้นระหว่างพนักงาน อย่างไรก็ตามแม้จะไม่สามารถกำจัดดราม่าในครอบครัวได้ทั้งหมด แต่โครงสร้างที่เป็นทางการ

เช่น สภาครอบครัว คณะกรรมการบริษัทและการประชุมก็เป็นพื้นที่ปลอดภัยที่สามารถแสดงออกถึงความคับข้องใจและเป็นสื่อกลางในการแก้ปัญหาได้ ดังนั้นจึงควรมีการกำกับดูแลอย่างเป็นทางการเพื่อช่วยให้ธุรกิจครอบครัวสามารถรักษาค่านิยมและเงินทุนที่จับต้องไม่ได้ซึ่งทำให้ธุรกิจแข็งแกร่งในขณะที่จัดการความขัดแย้งได้

ปัญหาที่ 3: ขาดความเป็นมืออาชีพในการทำธุรกิจ ธุรกิจครอบครัวโดยเฉพาะ ในรุ่นแรกหรือรุ่นที่ 2 ซึ่งผู้ก่อตั้งยังคงมีส่วนร่วมในธุรกิจนั้นมักมีความเป็นกันเองโดยไม่มีการกำหนดกฎข้อบังคับที่แน่นอนมากกว่าบริษัททั่วไป ปัญหาคือความไม่เป็นทางการนี้มักนำไปสู่การขาดการวางแผนเชิงกลยุทธ์ หรือแผนการสืบทอดกิจการและอาจจำกัดการเข้าถึงความเชี่ยวชาญและทุนจากภายนอกได้  

ทั้งนี้การทำธุรกิจอย่างมืออาชีพไม่ได้หมายถึงการละทิ้งค่านิยมและตัวตนที่ทำให้ธุรกิจครอบครัวแข็งแกร่ง หากแต่หมายถึงการจัดการทรัพยากรที่มีให้ดีขึ้น การแยกความเป็นเจ้าของออกจากการบริหารและการสร้างกลยุทธ์เพื่ออนาคตของธุรกิจ เป็นต้น และแน่นอนว่าความเป็นมืออาชีพจะเป็นตัวพาธุรกิจไปสู่การเติบโตในระดับต่อ

ที่มา: Harland, D. 2020. Overcoming Barriers To Success In Your Family Firm. Available: https://familybusinessunited.com/2020/12/01/overcoming-barriers-to-success-in-your-family-firm/ ข้อมูลเพิ่มเติม: www.famz.co.th
 

หน้า 21-22 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,663 วันที่ 21 - 24 มีนาคม พ.ศ. 2564

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :