เปิดศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ”ศักดิ์สยาม” ซัดยับ จิรายุ เคลียร์ปมรื้อเกณฑ์ทีโออาร์

18 ก.พ. 2564 | 08:15 น.

“ศักดิ์สยาม” ตอก จิรายุ หลังเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรถไฟฟ้าสายสีส้ม เผยสาเหตุเปลี่ยนเกณฑ์ทีโออาร์ดึงข้อเสนอด้านราคารวบเทคนิค คาดรฟม.จ่อเปิดรับฟังความเห็นประมูลรอบ 2 ภายในเดือนก.พ.นี้ เล็งเปิดประมูลมี.ค.64

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ วันนี้ (18 ก.พ. 2564) กรณีนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรคเพื่อไทย โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 1.28 แสนล้าน หลังจากมีการปรับเกณฑ์พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคควบคู่กับด้านราคา (เกณฑ์การประเมินใหม่) และยกเลิกการประมูลเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2564 ที่ผ่านมาว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1.ส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี) ระยะทาง 22.5 กม. จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และ สถานียกระดับ 7 สถานี) โดยในขณะนี้ มีความก้าวหน้า 76% คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2567 เปิดให้บริการช่วง ต.ค. 2567

เมื่อวันที่  28 ม.ค.63 ที่ผ่านมา ครม.อนุมัติหลักการรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนแบบพีพีพี เน็ตคอส ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการคัดเลือกเอกชน หากการประกวดราคาช่วงสายสีส้มตะวันตกไม่สามารถดำเนินการแล้วเสร็จได้ จะส่งผลกระทบต่อสายสีส้มตะวันออกไม่สามารถเปิดให้บริการได้ ทางกระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการติดตามการก่อสร้างอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเมื่อเข้าพื้นที่สำรวจโครงการฯพบว่ามีการขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดินสายสีส้มตะวันออก

เปิดศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ รถไฟฟ้าสายสีส้ม  ”ศักดิ์สยาม” ซัดยับ จิรายุ เคลียร์ปมรื้อเกณฑ์ทีโออาร์

สำหรับขั้นตอนการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน ทางรฟม.ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ.63 ได้ออกคำสั่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกมาตรา 36 ระหว่างที่ 3-22 ก.พ.63 รฟม.เปิดรับฟังความคิดเห็นรูปแบบการร่วมลงทุนพีพีพี ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง 1.ใช้ราคาเท่านั้น 2.รวมทั้งราคาและเทคนิค  27 พ.ค.63 คณะกรรมการคัดเลือกมาตรา 36 เห็นชอบออกเอกสารการประปวดราคา (RFP) โดยเงื่อนไขใช้เกณฑ์ราคา 12 มิ.ย.63 คณะกรรมการพีพีพี ประกาศรายละเอียดของร่างประกาศเชิญชวนกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกโดยรวมด้านราคาและเทคนิค 21 ส.ค.63 คณะกรรมการคัดเลือกมาตรา 36 ได้เห็นชอบให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์รวมข้อเสนอด้านราคาและเทคนิค โดยให้เลื่อนกำหนดการยื่นวองออกไป 45 วัน จากเดิม 23 ก.ย.63 เป็น 9 พ.ย.63 ขณะเดียวกันคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ส่งหนังสือที่กระทรวงคมนาคมเพื่อสอบถามสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ว่าสามารถดำเนินการได้หรือไม่ ทั้งนี้สคร.ได้ตอบกลับหนังสือว่าวิธีการประเมินข้อเสนอดังกล่าวเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคัดเลือกฯ

“ทั้งนี้ในการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกมาตรา 36 ได้เห็นชอบให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์รวมข้อเสนอด้านราคาและเทคนิค โครงการนั้น ซึ่งท่านอธิบายรายละเอียดในการประชุมนี้เหมือนท่านนั่งอยู่ในที่ประชุมเลย ผมเป็นรัฐมนตรียังไม่รู้รายละเอียดเท่าท่าน ถือว่าท่านเป็นผู้ที่ทรงความรู้ในการเข้าถึงข้อมูลราชการได้ แต่เนื่องนี้ไม่ได้เป้นความลับอะไรอยู่แล้ว ซึ่งสามารถดำเนินการได้เพื่อให้คณะกรรมการคัดเลือกฯ เขาดำเนินการประชุมการคัดเลือกอย่างไร

ทั้งนี้การดำเนินการโดยใช้ข้อเสนอราคาร่วมกับข้อเสนอเทคนิคนั้น  เนื่องจากเราให้ความสำคัญเรื่องการขุดอุโมงค์ ที่ผ่านมาการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ก็มีปัญหา เรื่องสิ่งปลูกสร้างแตกร้าว เช่น มีน้ำรั่วไหลเข้าไปในสถานีสามยอดซึ่งที่ผ่านมาการดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีอื่นๆ มีการดำเนินการขุดเจาะอุโมงค์เช่นกัน ขณะเดียวกันระหว่างการก่อสร้าง พบว่าเกิดปัญหาน้ำรั่วซึมใต้ดินเข้าสถานีสามยอดในโครงการส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน โดยเฉพาะอาคารบ้านเรือนของประชาชนที่ได้รับความเสียหาย   ทำให้เทคนิคการก่อสร้างมีความสำคัญ เพราะโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ต้องผ่านชุมชนหนาแน่น ซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจ การค้า รวมถึงพื้นที่สำคัญอื่นๆ ส่วนการยกเลิกเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2564 ที่ผ่านมานั้น ก็เป็นการดำเนินการตามกฎหมายที่มีการสงวนให้มีการยกเลิกได้ โดยผู้ยื่นข้อเสนอไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียได้ และได้มีการหารือสำนักนายกฯ แล้ว พร้อมทั้งสั่งการให้ รฟม.ดำเนินการตามระเบียบ

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ส่วนการดำเนินการคัดเลือกเอกชนครั้งใหม่ ภายหลังการยกเลิกประกาศเชิญชวนฯ และการคัดเลือกเอกชน เมทื่อวันที่ 3 ก.พ. 2564 ที่ผ่านมา โดยภายใน ก.พ.นี้ รฟม.จะจัดรับฟังความเห็นความสนใจการลงทุนของภาคเอกชน (Market Sounding) และสาระสำคัญของเอกสารการคัดเลือกเอกชน (RFP) จากนั้นคณะกรรมคัดเลือกจะเห็นชอบประกาศเชิญชวน, RFP และร่างสัญญาฯ

ขณะเดียวกัน รฟม. จะออกประกาศเชิญชวน และขายเอกสาร RFP ภายใน มี.ค. 2564 ก่อนที่จะเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอในช่วง มี.ค.-พ.ค. 2564 หลังจากนั้น คณะกรรมการคัดเลือกฯ  ประเมินข้อเสนอ-เจรจาต่อรอง ช่วง พ.ค.-ก.ค. 2564 ก่อนส่งต่อให้อัยการสูงสุดตรวจร่างสัญญาฯ และคาดว่าจะเสนอให้ ครม. พิจารณาเห็นชอบผลการคัดเลือกฯ และลงนามสัญญาภายใน ก.ค. 2564 อย่างไรก็ตาม เมื่อยกเลิกการประมูลแล้วคัดเลือกใหม่นั้น จะใช้เวลา 6 เดือน ช่วยลดระยะเวลาได้ 1 ปี หรือหากรอให้ข้อพิพาทถึงที่สุดจะใช้ระยะเวลา 18 เดือน

“ผมขอเรียนชัดเจนว่า ที่กล่าวหาว่า การดำเนินการเอื้อประโยชน์ ผมขอถามกลับว่า เอื้อประโยชน์ใคร ใครได้ประโยชน์ เพราะโครงการนี้ ยังไม่มีการประกาศผลว่าใครชนะ ยังไม่มีการเปิดซอง ยืนยันว่า กระทรวงคมนาคมดำเนินการตามกฎหมายที่ให้อำนาจหน้าที่ และท่านนายกฯ สั่งการมาตลอด ผมต้องถามว่า ผิดกฎหมายตรงไหน แล้วเกี่ยวกับรัฐมนตรีว่าคมนาคมตรงไหนที่ไม่กำกับดูแล และผู้อภิปรายท่านเอาข่าวมาปะติดปะต่อ และใช้จินตนาการ”

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม เกณฑ์เดิม "ดีกว่า" เกณฑ์ใหม่

ล้มสายสีส้ม จบที่ครม.-ศาล ยึดเกณฑ์เทคนิค+ราคา บีทีเอสจ่อฟ้องอีกรอบ

เปิดไทม์ไลน์ประมูล “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” หลัง รฟม.ออกประกาศล้มประมูล

มี.ค.นี้ รฟม.เล็งเปิดประมูล "สายสีส้ม" รอบ 2

บอร์ดมาตรา 36 ไฟเขียวล้มประมูล "สายสีส้ม"