"สิระ" เฮ ! ศาลรัฐธรรมนูญตีตกคำร้องตีความสถานะ ส.ส.

07 ม.ค. 2564 | 11:05 น.

ศาลรัฐธรรมนูญ ตีตกคำร้องตีความสถานะ ส.ส. “สิระ” เหตุ 2 ส.ส.พท.ถอนชื่อ หลังประธานสภาส่งศาลรธน.เพียงวันเดียว ทำให้จำนวน ส.ส.เข้าชื่อไม่ครบตามที่กฎหมายกำหนด

7 มกราคม 2564 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งไม่รับคำร้องกรณีประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งความเห็นของส.ส.พรรคฝ่ายค้าน 50 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 ว่า สมาชิกภาพ ส.ส. ของนายสิระ เจนจาคะ สิ้นสุดลงตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (10) หรือไม่ กรณีนายสิระ เคยต้องคำพิพากษาของศาลแขวงปทุมวัน กระทำความผิดอาญาฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคหนึ่ง กำหนดจำนวน ส.ส.ที่มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรว่า สมาชิกภาพของส.ส.สิ้นสุดลงไว้ว่า ต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

 

เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ขณะยื่นคำร้องและคำร้องเพิ่มเติมนั้น สภาผู้แทนราษฎรมี ส.ส. จำนวน 487 คน และต่อมาประธานสภาผู้แทนราษฎร ยื่นคำร้องเพิ่มเติมลงวันที่ 29 ธ.ค. 63 แจ้งต่อศาลรัฐธรรมนูญว่ามี ส.ส. จำนวน 2 คน คือ นางอนุรักษ์ บุญศล และนางอาภรณ์ สาราคำ ส.ส. พรรคเพื่อไทย ขอถอนชื่อออกจากการเข้าชื่อเสนอคำร้อง ฉบับลงวันที่ 28 ธ.ค 63 มีผลให้จำนวน ส.ส.ที่เข้าชื่อเหลือเพียง 48 คน ซึ่งเป็นจำนวนน้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคหนึ่งบัญญัติ ทำให้คำร้องนี้ไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคหนึ่ง จึงไม่รับคำร้องนี้ไว้พิจารณาวินิจฉัย

ส.ส. 50 คนผู้เข้าชื่อเสนอคำร้องเห็นว่า ผลคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ทำให้นายสิระเป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรมนูญ มาตรา 98 (10) เป็นเหตุให้สมาชิกภาพ ส.ส. สิ้นสุดลตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ และขอให้มีคำสั่งให้นายสิระหยุดปฏิบัติหน้าที่ ต่อมา นางอนุรักษ์ บุญศล และนางอาภรณ์ สาราคำ ส.ส. พรรคเพื่อไทย ยื่นคำร้องเพิ่มเติม ฉบับลงวันที่ 29 ธ.ค. 2563 ขอถอนชื่อออกจากผู้เข้าชื่อเสนอคำร้องกรณีดังกล่าว และขอให้รับหนังสือขอถอนชื่อดังกล่าวไว้สำหรับประกอบการพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

โดยศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้อง คำร้องเพิ่มเติม และเอกสารประกอบแล้วเห็นว่า การยื่นคำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคหนึ่ง กำหนดจำนวน ส.ส.ที่มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรว่าสมาชิกภาพของส.ส.สิ้นสุดลงไว้ว่า ต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

 

เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ขณะยื่นคำร้องและคำร้องเพิ่มเติมนั้น สภาผู้แทนราษฎรมี ส.ส. จำนวน 487 คน และต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องเพิ่มเติม แจ้งต่อศาลรัฐธรรมนูญว่ามี ส.ส. จำนวน 2 คน ขอถอนชื่อออกจากการเข้าชื่อเสนอคำร้อง ฉบับลงวันที่ 28 ธ.ค.2563 มีผลให้จำนวน ส.ส.ที่เข้าชื่อเหลือเพียง 48 คน ซึ่งเป็นจำนวนน้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคหนึ่งบัญญัติ ดังนั้น คำร้องนี้ไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคหนึ่ง จึงมีคำสั่งไม่รับคำร้องนี้ไว้พิจารณาวินิจฉัย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งยื่นญัตติซักฟอก ล็อกเป้า‘นายกฯ’ปมแก้โควิด-19

"หมอวรงค์" แฉ 4 ตัวละคร สมรู้ร่วมกันทุจริต ต้นเหตุศาลยกฟ้อง "จำนำข้าว"

"วิลาศ" จ่อ ร้อง "ปปช.-สตง." สอบพิรุธ กก.ตรวจจ้างฯก่อสร้างรัฐสภา