กรุงศรี ใจป้ำ! ยืดหนี้รายย่อยยาว 96 เดือน

08 พ.ย. 2563 | 21:34 น.

กรุงศรีคอนซูเมอร์ ชูมาตรการยืดหนี้สูงสุดถึง 96 เดือนเปิดทางลูกค้ารับความช่วยเหลือถึงสิ้นปี 64

กรุงศรีคอนซูเมอร์ ใจป้ำ!เปิดทางลูกหนี้ขอรับความช่วยเหลือถึงปี64 เผยมาตรการยืดหนี้สูงสุด 96เดือนผลตอบรับแล้ว 3.2หมื่นรายวงเงิน 2,500ล้านบาท  หลังจนมาตรการพักชำระหนี้สิ้นปีนี้   หวังกดเอ็นพีแอล-หลังสิ้นเดือนก.พ.แตะ 2.25%  ส่วนยอดใช้จ่ายบัตรเครดิตและพีโลนทั้งปีประเมินติดลบ 11% และ 15%ตามลำดับ  
 

กรุงศรี ใจป้ำ! ยืดหนี้รายย่อยยาว 96 เดือน
 

นางสาวณญาณี เผือกขำ ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ เปิดเผยว่า  ขณะนี้บริษัทได้เตรียมมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 2ซึ่งกำหนดครบกำหนดภายในสิ้นปี 2563ตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)   เป็นมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ (TDR) ทั้งลดดอกเบี้ยและยืดระยะเวลาการผ่อนชำระให้สูงสุดถึง 96เดือนซึ่งเป็นการให้ความช่วยเหลือยาวนานที่สุดจากที่เคยทำมาอยู่ที่ 48เดือนเท่านั้นและถือว่ายาวยานที่สุดในระบบ  ซึ่งลูกหนี้แต่ละรายสามารถเลือกโปรแกรมได้ตามความจำเป็น 

“แนวโน้มเอ็นพีแอลดูดีกว่าที่เราคาดการณ์ ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการช่วยเหลือ แต่ภาพรวมสถานการณ์หนี้เราก็ยังไม่สบายใจนัก เพราะนอกจากโควิดแล้วยังมีอีกหลายปัจจัยที่จะส่งผลกระทบ ซึ่งกว่าจะเห็นภาพชัดน่าจะไตรมาส1ปี64 โดยหลังจากโควิดระบาดเราเห็นเอ็นพีแอล ณ เดือนกุมภาพันธ์ปีนี้เพิ่มขึ้น ทั้งบัตรเครดิตเพิ่มเป็น 1.51%จากเดิมอยู่ที่ 1.3% สินเชื่อส่วนบุคคลขยับแตะ 3.02%จากเดิมอยู่ที่ 2.9%โดยภาพรวมเอ็นพีแอลของกรุงศรีคอนซูเมอร์2.25%จากเดิมอยู่ที่ 2.14%”

หากพิจารณาจากลูกหนี้ที่เข้าโครงการพักชำระหนี้จำนวน 1ล้านบัญชีพบว่า ตอนนี้กลับมารีไฟแนนซ์ 9หมื่นบัญชีมูลหนี้ 4,200ล้านบาทซึ่งยังเปิดรับถึงปลายปี63และในส่วนการTDR เริ่มมาตั้งแต่เดือนกันยายนมีลูกค้าเข้ามาแล้วจำนวน 3.2หมื่นคนวงเงิน 2,500ล้านบาท แนวโน้มยังมีเข้ามาอีกเพราะเราเปิดทางให้ลูกหนี้ที่เข้ามาไม่ทันปีนี้สามารถเข้ามาได้ถึงปี64

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

-แบงก์กรุงศรีรุกสินเชื่อออนไลน์

-"กรุงศรี" เข้าถือหุ้น 50% ใน"เอสบี ไฟแนนซ์"ฟิลิปปินส์ ขยายฐานสู่อาเซียน

-แบงก์กรุงศรี เตรียมแผน3ปี ดันเป้ารายได้ต่างประเทศรับเมกะเทรนด์

-“ฐากร ปิยะพันธ์” อำลา "ธนาคารกรุงศรีอยุธยา" มีผลส.ค.นี้

สำหรับแนวโน้มธุรกิจในไตรมาสที่ 4 มองว่ายังมีมาตรการภาครัฐที่เป็นปัจจัยสนับสนุนการใช้จ่ายซึ่งน่าจะส่งผลบวกต่อยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต คาดว่าตลอดทั้งปี2563 จะมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตจำนวน 2.8แสนล้านบาทเป็นอัตราเติบโตติดลบที่ 11% ส่วยยอดปล่อยสินเชื่อใหม่ทั้งปีนี้อยู่ที่ 8.3หมื่นล้านบาทเติบโตติดลบ 15%และส่งผลยอดสินเชื่อคงค้างอยู่ที่จำนวน 1.44แสนล้านบาทซึ่งติดลบ 3.5%จากปีก่อน ทั้งนี้ ผลประกอบการไตรมาส3บริษัทมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรอยู่ที่ 1.96แสนล้านบาทยอดสินเชื่อปล่อยใหม่5.8หมื่นล้านบาทและยอดสินเชื่อคงค้าง1.33แสนล้านบาท ซึ่งแม้ว่ายอดใช้จ่ายโดยรวมสะท้อนการหดตัว ส่วนหนึ่งเพราะบริษัทเน้นคุณภาพสินทรัพย์ บริหารความเสี่ยงอย่างรัดกุมและใช้นวตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน จึงเห็นการใช้จ่ายบางหมวดสินค้ายังเป็นบวก  โดยเริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นในทุกวัยเริ่มคุ้นชินกับบริการออนไลน์ ซึ่งเดือนเมษายนและพฤษภาคมเห็นการเติบโตขึ้น 150% แม้จะปรับลดลงในหลังจากเดือนพฤษภาคมก็ตาม ส่วนหมวดที่ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก คือ หมวดประกันภัย โดยเฉพาะประกันภัยสุขภาพ ที่มีการใช้จ่ายผ่านบัตรดิตเพิ่มขึ้นขึ้นอย่างน้อย 20% ซุปเปอร์มาร์เก็ต ยังเป็นหมาวดที่มียอดใช้จ่ายผ่านบัตรสูงเป็นอันดับ 1 และ2 

  กรุงศรี ใจป้ำ! ยืดหนี้รายย่อยยาว 96 เดือน

อย่างไรก็ตาม จากความผันผวนต่อการดำเนินธุรกิจ สิ่งที่บริษัทต้องปรับแนวทาง เพื่อประคองธุรกิจ ประกอบด้วย  การเน้นการดูแลคุณภาพสินทรัพย์ด้วยการบริหารความเสี่ยงอย่างรัดกุม เช่น มาตรการการช่วยเหลือลูกค้าโดยให้โอกาสต่อเนื่องถึงปี 2564 หากลูกค้าไม่สามารถเข้ามาตรการได้ทันในสิ้นปีนี้  ขณะเดียวกันต้องมีความรัดกุมในการปล่อยสินเชื่อใหม่ ซึ่งสิ้นปีนี้คาดว่าลูกค้ารายใหม่ลดลงราว -44%

นอกจากนี้บริษัทต้องรัดเข็มขัดโดยประหยัดค่าใช้จ่ายโดยดึงเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบริการ  เช่น แอพพลิเคชั่นยูชูส “UCHOOSE” ปัจจุบันสามารถดึงลูกค้า 5.3ล้านบัญชี(จากฐานลูกค้าทั้งจำนวน 8-9ล้านบัญชี) มาใช้บริการต่อเนื่องถึง 76% เช่น ทั้งตรวจสอบยอดชำระบัตรเครดิตและสินเชื่อ,บริการจ่ายบิลผ่านแอพKMA  ,SCB, U Product และ U Cardบริการรับสมครบัตรใหม่ผ่านทางแอพแบบ Digital Lending ซึ่งจะเปิดให้บริการไตรมาสที่ 4
 
กรุงศรี ใจป้ำ! ยืดหนี้รายย่อยยาว 96 เดือน