"กินเจ"ไม่คึกคัก ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 13 ปี

08 ต.ค. 2563 | 07:27 น.

กินเจปีนี้ ไม่คึกคัก เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและค่าครองชีพสูงขึ้น  คาดมีเงินสะพัด 46,900 ล้านบาท  ขยายตัว0.9% ต่ำสุดในรอบ13 ปีนับตั้งแต่ปี2551

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยว่าจากการสำรวจความคิดเห็นประชาชนจำนวน1,383คน เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลกิจเจ ที่จะมีชึ้นในระหว่างวันที่17-25 ตุลาคมนี้   พบว่า กลุ่มตัวอย่างไม่กินเจถึง 60% โดยให้เหตุผลเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไม่ดี 33% อาหารเจแพง 20% รสชาติไม่อร่อย 14.3% ไม่มีเชื้อสายจีน10% ส่วนการกังวลเรื่องไวรัสโควิด มีเพียง0.5%เท่านั้น

"กินเจ"ไม่คึกคัก  ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 13 ปี

ทั้งนี้คาดว่าราคาอาหารเจเทียบกับปีที่ผ่านมาพบว่า 58% แพงขึ้น โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า ค่าครองชีพแพง 45% พ่อค้าแม่ค้าปรับราคาขึ้น25.5% ไวรัสโควิด18.9% ค่าแรงสูงขึ้น6.7% เป็นต้น แต่มีบางส่วนที่มองว่าราคาอาการเจเท่าเดิม 41%

สำหรับเทศกาลในปีนี้ กลุ่มตัวอย่างมองว่าไม่คึกคัก โดยมีสาเหตุมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดถึง 39.8%  ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดี ค่าครองชีพที่สูงขึ้นถึง 28.6% มีหนี้สินเพิ่มขึ้น19% ตกงาน รายได้ลด11% และขายของไม่ดี0.9%  ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในช่วงเทศกาลกินเจปีนี้ ขยายตัว0.9% แต่ขยายตัวต่ำสุดในรอบ13ปีนั บตั้งแต่ปี2551  แต่คาดว่าจะมีมูลค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน เฉลี่ยคนละ 11,469 บาท ตามค่าครองชีพที่สูงขึ้น และพ่อค้า-แม่ค้าปรับราคาขึ้นในช่วงเทศกาล  ถือว่าสูงกว่าปีที่แล้วที่ใช้เฉลี่ยคนละ 11,100 บาท  ส่งผลให้การใช้จ่ายโดยรวมในช่วงเทศกาลกินเจปีนี้ มีมูลค่ากว่า 46,967 ล้านบาท

ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 39.8 ตั้งใจที่จะกินเจ เพราะส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีน และตั้งใจที่จะทำบุญ ที่ 1 ปีมีเพียงครั้งเดียว โดยจะซื้อของกินของใช้สำหรับกินเจทั้งอาหาร / ทำบุญ / การเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัด และค่าที่พักในการเดินทางไปทำบุญ ซึ่งจะใช้ในปริมาณเท่าเดิม  เนื่องจากความคิดของประชาชนต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ที่ส่วนใหญ่มองว่า ขณะนี้ ยังไม่มีความเหมาะสมในการจับจ่ายทั้งใช้เพื่อการท่องเที่ยว / รถจักรยานยนต์และรถยนต์ / ซื้อสินค้าคงทน โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะประเมินว่า เศรษฐกิจไทย จะฟื้นตัวช้าในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2564