สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (50)

19 ม.ค. 2563 | 05:00 น.

คอลัมน์ทางออกนอกตำรา ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3541 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 19-22 ม.ค.63 โดย... บากบั่น บุญเลิศ

 

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน'

ประวัติศาสตร์การประมูล (50)

 

     ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของไทยที่มีความล่าช้าในการเซ็นสัญญายาวนานที่สุด

     กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพี และพันธมิตร เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่าคู่แข่งจึงชนะประมูล แต่กว่าจะมีการลงนามกันได้ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี

     สัญญาที่จะลงนามกันนั้นเป็นอย่างไร มาติดตามเรื่องสัญญาในเรื่องข้อพิพาทและการฟ้องร้อง

     31. การโอนกรรมสิทธิ์และ/หรือส่งมอบทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการฯ เมื่อสัญญาร่วมลงทุนสิ้นสุดลง

     31.1 การโอนกรรมสิทธิ์และ/หรือส่งมอบทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการเกี่ยวกับรถไฟฯ และการดำเนินกิจการทางพาณิชย์

     (1) กรณีครบระยะเวลาของโครงการฯ ภายในช่วงระยะเวลาเตรียมการส่งมอบทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการฯ เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ดังต่อไปนี้

     (ก) โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ซึ่ง รฟท.ยังไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 7 ให้แก่ รฟท.ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 7 (แผนการส่งมอบทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้) ภาคผนวกหมายเลข 2 (แผนการส่งมอบทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ทั้งหมดที่ใช้ในโครงการเกี่ยวกับรถไฟและการดำเนินกิจการพาณิชย์ กรณีส่งมอบทรัพย์สินเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของโครงการฯ) โดย รฟท.ไม่ต้องชำระค่าตอบแทนใดๆ ให้แก่เอกชนคู่สัญญา

 

     (ข) ส่งมอบทรัพย์สินดังต่อไปนี้ทั้งหมด 1) ทรัพย์สินที่เป็นสาระสำคัญที่ใช้ในโครงการเกี่ยวกับรถไฟฯและ 2) ทรัพย์สินอื่นที่ไม่ใช่ทรัพย์สินที่เป็นสาระสำคัญซึ่งใช้ในโครงการเกี่ยวกับรถไฟและการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ และเป็นทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 7 (ทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ทั้งหมดที่ใช้ในโครงการเกี่ยวกับรถไฟและการดำเนินกิจการพาณิชย์ กรณีส่งมอบทรัพย์สินเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของโครงการฯ) โดย รฟท.ไม่ต้องชำระค่าตอบแทนใดๆ ให้แก่เอกชนคู่สัญญา ทั้งนี้ ทรัพย์สินดังกล่าวอย่างน้อยต้องอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ เหมาะสม ตามอายุการใช้งานภายใต้การบำรุงรักษาตามมาตรฐานและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุนเพื่อให้สามารถใช้งานได้ดี โดยปราศจากการชำรุดบกพร่อง (เว้นแต่การเสื่อมสภาพจากการใช้งานตามปกติ) การรอนสิทธิและภาระผูกพันใดๆ เพื่อให้ รฟท.หรือบุคคลที่ รฟท.กำหนดสามารถดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง และ

     (ค) ต้องรื้นถอนบรรดาทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการเกี่ยวกับรถไฟและการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ (นอกเหนือจากทรัพย์สินตามที่กำหนดไว้ในข้อ 31.1(1)(ก)และ(ข) ไม่ว่าจะมีการก่อสร้างหรือติดตั้ง หรืออยู่ระหว่างการก่อสร้างหรือการติดตั้ง พร้อมทั้งส่งมอบพื้นที่ของโครงการฯ ที่ รฟท.เป็นเจ้าของหรือจัดหาภายใต้สัญญาร่วมลงทุนให้แก่ รฟท.ในสภาพที่ รฟท.สามารถเข้าใช้ดำเนินงานต่อได้ โดยค่าใช้จ่ายของเอกชนคู่สัญญาทั้งสิ้น

     (ง) จัดทำและส่งมอบคู่มือการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟให้แก่ รฟท.

     (2) กรณีสัญญาร่วมลงทุนสิ้นสุดลงก่อนครบระยะเวลาของโครงการฯ ภายในช่วงระยะเวลาเตรียมการส่งมอบทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการฯ เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ดังต่อไปนี้

     (ก) การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ ซึ่ง รฟท.ยังไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 7 ให้แก่ รฟท.ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 7 (แผนการส่งมอบทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้) ภาคผนวกหมายเลข 1 (แผนการส่งมอบทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ทั้งหมดที่ใช้ในโครงการเกี่ยวกับรถไฟและการดำเนินกิจการพาณิชย์ กรณีส่งมอบทรัพย์สินก่อนสิ้นสุดระยะเวลาของโครงการฯ) โดย รฟท.จะชำระค่าชดเชยให้แก่เอกชนคู่สัญญาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 30.2

     (ข) ส่งมอบทรัพย์สินดังต่อไปนี้ทั้งหมด 1) ทรัพย์สินที่เป็นสาระสำคัญที่ใช้ในโครงการเกี่ยวกับรถไฟฯ และ 2) ทรัพย์สินอื่นที่ไม่ใช่ทรัพย์สินที่เป็นสาระสำคัญซึ่งใช้ในโครงการเกี่ยวกับรถไฟและการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ และเป็นทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 7 (แผนการส่งมอบทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้) ภาคผนวกหมายเลข 1 (แผนการส่งมอบทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ทั้งหมดที่ใช้ในโครงการเกี่ยวกับรถไฟและการดำเนินกิจการพาณิชย์ กรณีส่งมอบทรัพย์สินก่อนสิ้นสุดระยะเวลาของโครงการฯ) โดย รฟท.จะชำระค่าชดเชยให้แก่เอกชนคู่สัญญาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 30.2

 

     ทั้งนี้ ทรัพย์สินดังกล่าวอย่างน้อยต้องอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพเหมาะสม ตามอายุการใช้งานภายใต้การบำรุงรักษาตามมาตรฐานและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน เพื่อให้สามารถใช้งานได้ดี โดยปราศจากการชำรุดบกพร่อง (เว้นแต่การเสื่อมสภาพจากการใช้งานตามปกติ) การรอนสิทธิและภาระผูกพันใดๆ เพื่อให้ รฟท.หรือบุคคลที่ รฟท.สามารถดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง และ

     (ค) เว้นแต่กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาร่วมลงทุนต้องรื้อถอนบรรดาทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการเกี่ยวกับรถไฟและการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ (นอกเหนือจากทรัพย์สินตามที่กำหนดไว้ในข้อ 31.1(1)(ก)และ(ข) ไม่ว่าจะมีการก่อสร้างหรือติดตั้ง หรืออยู่ระหว่างการก่อสร้างหรือการติดตั้ง พร้อมทั้งส่งมอบพื้นที่ของโครงการฯ ที่ รฟท.เป็นเจ้าของหรือจัดหาภายใต้สัญญาร่วมลงทุนให้แก่ รฟท.ในสภาพที่ รฟท.สามารถเข้าใช้ดำเนินงานต่อได้ โดยค่าใช้จ่ายของเอกชนคู่สัญญาทั้งสิ้น

     (ง) จัดทำคู่มือการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟให้แก่ รฟท.

     31.2 การโอนกรรมสิทธิ์และ/หรือส่งมอบทรัพย์สินที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ

     (1) กรณีครบระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ภายในช่วงระยะเวลาเตรียมการส่งมอบทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการฯ เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ดังต่อไปนี้

     (ก) โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ซึ่ง รฟท.ยังไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 7 ให้แก่ รฟท.ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 7 (แผนการส่งมอบทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้) ภาคผนวกหมายเลข 4 (แผนการส่งมอบทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ทั้งหมดที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ กรณีส่งมอบทรัพย์สินเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ) โดย รฟท.ไม่ต้องชำระค่าตอบแทนใดๆ ให้แก่เอกชนคู่สัญญา

     (ข) ส่งมอบทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 7 (แผนการส่งมอบทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้) ภาคผนวกหมายเลข 4 (แผนการส่งมอบทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ทั้งหมดที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ กรณีส่งมอบทรัพย์สินเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ) โดย รฟท.ไม่ต้องชำระค่าตอบแทนใดๆ ให้แก่เอกชนคู่สัญญา

     ทั้งนี้ ทรัพย์สินดังกล่าวอย่างน้อยต้องอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ เหมาะสม ตามสภาพอายุการใช้งาน ภายใต้การบำรุงรักษาตามมาตรฐานและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน เพื่อให้สามารถใช้งานได้ดี โดยปราศจากการชำรุดบกพร่อง (เว้นแต่การเสื่อมสภาพจากการใช้งานตามปกติ) การรอนสิทธิและภาระผูกพันใดๆ เพื่อให้ รฟท.หรือบุคคลที่ รฟท.กำหนดสามารถดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง

     (ค) ต้องดำเนินการตามภาระหน้าที่ที่กำหนดไว้ในข้อ 16.1(12)และข้อ 16.1(13) และ

     (ง) ต้องรื้อถอนบรรดาทรัพย์สินที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ (นอกเหนือจากทรัพย์สินตามที่กำหนดไว้ในข้อ 31.2(1)(ก)และ(ข)ไม่ว่าจะมีการก่อสร้างหรือติดตั้ง หรืออยู่ระหว่างการก่อสร้างหรือการติดตั้ง พร้อมทั้งส่งมอบพื้นที่ของโครงการฯ ที่ รฟท.เป็นเจ้าของหรือจัดหาภายใต้สัญญาร่วมลงทุนให้แก่ รฟท.ในสภาพที่ใกล้เคียงกับสภาพเดิมที่เป็นอยู่ ณ วันที่สัญญาร่วมลงทุนมีผลใช้บังคับโดยค่าใช้จ่ายของเอกชนคู่สัญญาทั้งสิ้น

     รอบคอบรัดกุม มีช่องโหว่หรือไม่!

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (49)
สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (48)
สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (47)
สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (46)
สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (45)