ดราม่า “ปังชา” กรมทรัพย์สินฯ แจงจดแค่สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์

30 ส.ค. 2566 | 03:33 น.

กรมทรัพย์สินฯ แจงดราม่า “ปังชา” ย้ำแค่ขอจดสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ ใครๆ ก็สามารถขายปังชาได้ แต่อย่านำลวดลายหรือแบบภาชนะที่คนอื่นจดสิทธิบัตรไว้ไปผลิต ใครอยากรู้ว่าลิขสิทธิ์  สิทธิบัตรการประดิษฐ์ เครื่องหมายการค้า คืออะไรอ่านได้ที่นี่

เป็นกระแสดราม่าเกือบทั้งสัปดาห์สำหรับกรณีร้านปังชา ที่ออกมาโพสผ่านหน้าเพจร้านว่า ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า "ปังชา" แล้ว พร้อมสงวนสิทธิ์ห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข และสงวนสิทธิ์ห้ามนำชื่อแบรนด์ปังชา Pang Cha ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไปใช้เป็นชื่อร้านหรือใช้เป็นชื่อสินค้าเพื่อจำหน่าย จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมาย จนที่สุดร้านเองต้องออกมาประกาศแจ้ง การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า "ปังชา" มีการสื่อสาร ทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน ขออภัยพร้อมขอบคุณทุกคนที่อธิบายให้ความรู้

 

ดราม่า “ปังชา” กรมทรัพย์สินฯ แจงจดแค่สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์

 

สำหรับกรณีที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ออกมาชี้แจงแบบเข้าใจง่ายๆ ว่า "ปังชา" ของแบรนด์ที่เป็นข่าวเขาแค่จดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ดังนั้น เมนูน้ำแข็งไสราดชาไทย ใครๆ ก็ขายได้ แต่อย่านำลวดลายหรือแบบภาชนะที่คนอื่นจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ไว้ไปผลิต

 

ดราม่า “ปังชา” กรมทรัพย์สินฯ แจงจดแค่สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์

 

โดย ข้อเท็จจริงคือน้ำแข็งไสราชาไทยมีขายมานานแล้วจะไม่มีใครจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรแล้วอ้างเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวได้

ดังนั้นใครๆ จะขายน้ำแข็งไสราดชาไทยก็ยังสามารถขายได้ แต่ห้ามใช้ภาชนะที่มีการออกแบบลวดลายและลักษณะเดียวกับที่เขาจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ภาชนะไว้และหากใครคิดค้นสูตรขนมขึ้นมาใหม่เป็นสูตรขนมที่ไม่เคยมีในประเทศไทยก็สามารถนำมาจดอนุสิทธิบัตรได้ด้วย  จะเห็นว่าเรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกับคำว่าลิขสิทธิ์ เพราะงานลิขสิทธิ์หมายถึงงานที่เกิดจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์การใช้ศิลปะ เช่น งานวาดภาพ งานวรรณกรรม หรือดนตรีกรรม เป็นต้น

 

ดราม่า “ปังชา” กรมทรัพย์สินฯ แจงจดแค่สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์

 

ที่นี่เรามารู้จักกับลิขสิทธิ์  และลิขสิทธิ์คืออะไร ?

ลิขสิทธิ์ คือ ความคุ้มครองทางกฎหมายที่ให้แก่เจ้าของผลงาน ที่เกิดจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์

  • การคุ้มครองลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงานโดยไม่ต้องจดทะเบียน

 

ประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์

ได้แก่ งานวรรณกรรม งานนาฏกรรม งานศิลปกรรม งานดนตรีกรรม งานโสตทัศนวัสดุ งานภาพยนตร์ งานสิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ และงานอื่นๆ ในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ

ตัวอย่างลิขสิทธิ์ในธุรกิจร้านอาหาร เช่น ภาพถ่าย Display สินค้า ลวดลาย และรูปเล่มของเมนูอาหาร ลวดลายหรือภาพวาด บนภาชนะใส่อาหาร เป็นต้น

 

คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการ

  • การนำภาพวาดหรือภาพถ่ายของผู้อื่นไปใช้ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อนเสมอ ภาพวาดหรือภาพถ่ายที่ทำขึ้น ด้วยตนเอง แม้จะออกมาคล้ายกัน เพราะเป็นมุมเดียวกัน แนวคิดเดียวกัน ก็ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของใคร

 

ส่วนสิทธิบัตร  คือ สิทธิบัตรการประดิษฐ์

  • การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ที่มีความซับซ้อนหรือมีการแก้ไขปัญหาทางเทคนิค เช่น กระบวนการฆ่าเชื้อสเตอริไลซ์ สำหรับอาหาร / นมปราศจากแลคโตส

 

อนุสิทธิบัตร

  • การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ที่มีประโยชน์ ใช้สอยมากขึ้น แต่ไม่มีความซับซ้อน ทางเทคนิคมากนัก เช่น

สูตรอาหารเจลสำหรับพกพา / เครื่องผลิตน้ำแข็งไสแบบเกล็ดละเอียด

 

สิทธิบัตรการออกแบบ ผลิตภัณฑ์

  • การคุ้มครองรูปร่าง ลวดลาย หรือองค์ประกอบของสี เช่น

รูปร่างของขนมที่มีลักษณะพิเศษ / ลวดลายของกล่องบรรจุอาหาร

ดังนั้นน้ำแข็งไสราดชาไทยมีขายมานานแล้ว อ้างเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในเมนูนี้ได้จึงไม่มีใครสามารถจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร แต่ภาชนะที่ใช้ใส่ "ปังชา" ของแบรนด์ที่เป็นข่าวเขาจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ไว้นะ

 

มีคำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการ

  • เมนูน้ำแข็งไสราดชาไทยใครก็ขายได้แต่อย่านำลวดลายหรือแบบภาชนะที่คนอื่นจดสิทธิบัตร การออกแบบผลิตภัณฑ์ไว้ไปผลิต แต่ถ้าคิดค้นสูตรขนมขึ้นใหม่ ซึ่งยังไม่เคยปรากฏในที่ใดมาก่อน สามารถนำมาขอจดอนุสิทธิบัตรได้ด้วยนะ

ขณะที่เครื่องหมายการค้า คือ ชื่อ ข้อความ โลโก้ ภาพ กลุ่มของสี หรือเสียง อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ที่นำมาใช้ เพื่อสร้างความจดจำของผู้บริโภคในการแยกแยะแบรนด์ต่างๆ

แต่เครื่องหมายการค้าคุ้มครองได้ตามรูปแบบ ที่จดทะเบียนไว้เท่านั้น หากข้อความหรือภาพบางส่วน ที่สื่อถึงคุณสมบัติหรือคุณภาพของสินค้าและบริการ ข้อความหรือภาพนั้นต้องถูกสละสิทธิ แต่ยังปรากฏ บนเครื่องหมายการค้านั้นได้

การสละสิทธิ หมายถึง ไม่สามารถห้ามคนอื่นใช้ข้อความหรือภาพนี้ ในลักษณะอื่น แต่ถ้านำมาจัดวาง ในรูปแบบที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอาไว้ และเป็นสินค้าหรือบริการที่ใกล้เคียงกัน ยังสามารถห้ามได้อยู่

ข้อความหรือภาพ ที่แม้จะสื่อถึงคุณสมบัติหรือคุณภาพ ของสินค้าก็อาจจดเป็นเครื่องหมายการค้าได้ หากนำสืบได้ว่ามีการใช้มาต่อเนื่องยาวนาน จนผู้บริโภคจดจำและแยกได้ว่าเป็นแบรนด์ของสินค้า

คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการ

การใช้คำว่า “...ปัง...ชา...” หรือ “...ปังชา...” กับเมนูน้ำแข็งไสราดชาไทย แต่ไม่ควรใช้รูปแบบฟอนต์ที่ชวนให้นึกถึงแบรนด์นั้นๆ

ย้ำอีกครั้งว่า "ปังชา" ใครก็ขายได้แต่อย่านำลวดลายหรือแบบภาชนะที่คนอื่นจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ไว้ไปผลิตแต่ถ้าคิดค้นสูตรขนมขึ้นใหม่ ซึ่งยังไม่เคยปรากฏในที่ใดมาก่อน สามารถนำมาขอจดอนุสิทธิบัตรได้