SEED แนะ 6 มาตรการไมโคร SMEs ประคองตัว

05 พ.ย. 2563 | 09:51 น.

SEED แนะ 6 ปัจจัยด้านความสามารถในการปรับตัว เพื่ออยู่รอดของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมถึงกลุ่ม Micro หรือ MSME ในกลุ่มธุรกิจภาคสังคมและธุรกิจสีเขียวของไทย ในช่วงการระบาดของโควิด-19

SEED ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระดับโลก เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของผู้ประกอบการได้สรุปปัจจัยด้านความสามารถในการปรับตัวที่สำคัญหกประการเพื่อให้กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมถึงกลุ่ม Micro (MSME) ของประเทศไทยอยู่รอดในช่วงการระบาดของโควิด-19 โดยมีความยืดหยุ่นและความยั่งยืนเป็นองค์ประกอบหลัก

 

รายงานล่าสุดระบุว่าธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมถึงกลุ่ม Micro (MSME) ทั่วโลกราว 42% อาจประสบภาวะขาดทุนภายในหกเดือนข้างหน้า เนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเนื่องจากสถาณการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและสภาพทางสังคมของไทยกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง แผน 6 ข้อของ SEED จึงมีเป้าหมายเพื่อชี้นำผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เกี่ยวกับวิธีการสร้างความสามารถในการปรับตัวต่อความท้าทายในอนาคต และรับมือกับสิ่งที่ไม่เคยประสบมาก่อน 

 

แผนดังกล่าว ได้แก่ ความสามารถในการปรับตัวในเชิงธุรกิจ (Business Resilience) ความสามารถในการปรับตัวด้านการเงิน (Financial Resilience) ความสามารถในการปรับตัวขององค์กร (Organisational Resilience) ความสามารถในการปรับตัวต่อระบบนิเวศ (Ecosystem Resilience) ความสามารถในการปรับตัวตามภาวะตลาด (Market Resilience) และความสามารถในการปรับตัวเพื่อสร้างผลกระทบ (Impact Resilience)

SEED ต้องการกระตุ้นให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมถึงกลุ่ม Micro (MSME) ปรับตัวและตอบสนองในรูปแบบที่ต่างออกไปเพื่อให้ทรงตัวอยู่ได้ และเตรียมพร้อมล่วงหน้าเพื่อรับมือกับช่วงเวลาที่ยากลำบากที่อาจพบเจอ โดยระบุว่าองค์กรที่มีความสามารถในการปรับตัวนั้นมีอยู่สามประเภท โดยมีตั้งแต่ผู้ที่อยู่รอดได้ไปจนถึงบริษัทที่เติบโตได้ดี ผู้เริ่มต้น (Starters) สามารถทำงานได้ในสภาวะปกติ แต่ประสบปัญหาข้อจำกัดเกี่ยวกับเงินสดและการพึ่งพาตลาดในช่วงการแพร่ระบาด) ผู้พัฒนา (Movers) ทำการปรับเปลี่ยนในหลายระดับและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างความสามารถในการปรับตัวต่อผลกระทบเชิงลบ ผู้เป็นเลิศ (Champions) เปลี่ยนแปลงผลงานผลิตภัณฑ์หรือบริการของตน โดยอาจเปลี่ยนกระบวนการขององค์กรให้ประสบความสำเร็จในช่วงวิกฤต

 

SEED ได้สัมภาษณ์องค์กรที่เกื้อกูลระบบนิเวศ โดยระบุว่า MSME บางส่วนประสบความสำเร็จในการใช้ทรัพยากรความสามารถ เครือข่าย และความสัมพันธ์ในท้องถิ่นเพื่อตอบสนองในระดับพื้นฐานได้อย่างไรบ้าง

 

ความสามารถในการปรับตัวในเชิงธุรกิจ (Business Resilience): ปรับเปลี่ยนไปมุ่งเน้นที่ผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปที่ฐานพีรามิดของตลาดเพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า (ตัวอย่างเช่น บริษัท Kibebe ซึ่งดำเนินกิจการเกี่ยวกับการออกเเบบจากเศษวัสดุได้เปลี่ยนจากการขายของเหลือใช้มาผลิตหน้ากากแทน

 

 ความสามารถในการปรับตัวด้านการเงิน (Financial Resilience): การปรับราคาและเงื่อนไขการชำระเงินเพื่อให้สอดคล้องกับกระแสเงินสดที่ไม่ปกติและสภาพแวดล้อมที่ขัดสนเงินสดในภาพรวม (ตัวอย่างเช่น บริษัท Mycotech ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช้หนังสัตว์แบบทางเลือกได้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ทางการเงินไว้หลายแบบเพื่อรักษากระแสเงินสดในสถานการณ์ที่แปรปรวน)

ความสามารถในการปรับตัวตามภาวะตลาด (Market Resilience): เผชิญหน้ากับความท้าทายภายในตลาดบางแห่งที่เชื่อมโยงกับแต่ละภาคส่วน แต่ละตำแหน่งที่ตั้งและภูมิศาสตร์

 

ความสามารถในการปรับตัวเพื่อสร้างผลกระทบ (Impact Resilience): ให้การสนับสนุนบุคคลที่มีความเสี่ยงในระดับฐานอย่างต่อเนื่องโดยการบริจาค รวมถึงการจัดสรรผลิตภัณฑ์และบริการฟรี และเงินอุดหนุน (ตัวอย่างเช่น ONergy บริษัทพลังงานที่ยังคงพัฒนาโครงการสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อให้บริการชุมชนเกษตรกรรมที่มีความต้องการขณะที่เผชิญกับปัญหารายได้หยุดชะงักอันเนื่องมาจากการปิดท่าเรือในประเทศจีนชั่วคราวและปัญหาขาดแคลนเงินทุน)

 

SEED ยังเรียกร้องให้องค์กรที่สนับสนุน MSME ให้ความช่วยเหลือที่สำคัญเพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการปรับตัวขององค์กรที่เกื้อกูลระบบนิเวศ ซึ่งรวมถึงการระบุถึงส่วนที่จำเป็นต้องมีการสนับสนุนทางการเงินและการสนับสนุนจากพันธมิตร รวมถึงการสร้างทักษะ ประเด็นที่สำคัญคือเมื่อองค์กรประเภทนี้ตกอยู่ในความเสี่ยง ผู้ที่เปราะบางและด้อยโอกาสที่สุดจะเป็นผู้ที่ประสบกับความยากลำบากมากที่สุด

 

ผู้กำหนดนโยบาย สามารถช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของชุมชนต่างๆ และช่วยเพิ่มความสามารถในการปรับตัวขององค์กรได้อย่างไรบ้าง ซึ่งรวมถึงการให้การสนับสนุนด้านการเข้าถึงทางการเงินและความช่วยเหลือยามวิกฤตที่เปิดกว้างยิ่งขึ้นแก่องค์กรต่างๆ ทั้งในและนอกระบบ รวมถึงการเข้าถึงการสนับสนุนทางธุรกิจโดยการพัฒนาโครงการสำหรับองค์กรต่างๆ ในพื้นที่ชนบท ประการที่สาม ควรมีการสนับสนุนระบบเตือนภัยล่วงหน้าอย่างเต็มรูปแบบเพื่อให้MSME สามารถรับรู้ถึงผลกระทบและวางแผนเพื่อการฟื้นตัวล่วงหน้าได้ด้วยเช่นกัน