6ยักษ์สื่อสารจี้นายกฯ เบรกท่อร้อยสายกทม.2หมื่นล.

27 มิ.ย. 2562 | 07:05 น.

6บริษัทยักษ์โทรคมนาคม ยื่นหนังสือเรียกร้องนายกฯ เบรกโครงการท่อร้อยสายสื่อสาร กทม.  2 หมื่นล้าน เปิดทางเอกชนทุกรายใช้โครงข่ายได้อย่างเท่าเทียม

“กลุ่มผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม” ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สามทั้งหมด 6 รายจาก กสทช. ซึ่งมีประชาชนผู้ใช้บริการรวมกันมากกว่า 70 ล้านราย ประกอบด้วย บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จากัด (บริษัทลูกของเอไอเอส) บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จากัด(บริษัทลูกดีแทค)  บริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จากัด (มหาชน)  บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอม จากัด (มหาชน) บริษัท ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จากัด และบริษัท เอแอลที เทเลคอม จากัด (มหาชน) ยื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  ในฐานะประธานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ขอให้พิจารณาให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมทุกรายมีโอกาสเข้าถึงบริการท่อร้อยสายสื่อสารของหน่วยงานของรัฐโดยตรง

 

สำหรับหนังสือที่ยื่นต่อพล.อ.ประยุทธ์ ระบุว่า ตามที่กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นราชการส่วนท้องถิ่นได้มอบหมายให้ บริษัท กรุงเทพธนาคม จากัด (“บริษัทกรุงเทพธนาคม”) ซึ่งเป็นบริษัทในความควบคุมของกรุงเทพมหานครดำเนินการตาม “โครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดินในพื้นที่กรุงเทพมหานคร” ระยะทาง2,450 กิโลเมตร ต่อมาปรากฎต่อมาว่าบริษัทกรุงเทพธนาคม ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สามจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ระยะเวลา 15  ปี มิได้ดำเนินการดังกล่าวเองโดยตรง แต่ได้คัดเลือกเอกชนด้วยวิธีการให้ยื่นข้อเสนอและปรากฏว่ามีผู้ยื่นข้อเสนอเพียงรายเดียวและทำให้บริษัทกรุงเทพธนาคมมอบสิทธิให้เอกชนรายนั้นแสวงหาประโยชน์จากท่อร้อยสายของรัฐได้ถึง80% (รวมไปถึงสิทธิในการนำไปให้ผู้อื่นใช้ต่อโดยเอกชนมีสิทธิเรียกเก็บค่าตอบแทน) เป็นเวลาถึง 30 ปี เกินกว่าระยะเวลาใบอนุญาตของบริษัทกรุงเทพธนาคม เท่ากับว่าหากผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมรายใดนำสายสื่อสารที่พาดตามเสาในปัจจุบันลงไปใต้ดินตามนโยบายของรัฐบาลก็จำต้องมาขอใช้ท่อร้อยสายและชำระค่าตอบแทนให้แก่ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมเอกชนรายคู่สัญญากับบริษัทกรุงเทพธนาคม

"กลุ่มผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม" เห็นว่า ท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินเป็นทรัพยากรโทรคมนาคมหรือทรัพยากรสื่อสารที่จาเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ (Essential Facilities) เพราะผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมทุกรายที่จะนำสายสื่อสารลงใต้ดินตามนโยบายของรัฐบาลก็ย่อมต้องขอใช้ท่อร้อยสายดังกล่าวของรัฐเพื่อให้บริการโทรคมนาคมอันเป็นบริการสาธารณะต่อไปได้ ดังนั้นกลุ่มผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมจึงเห็นว่าหน่วยงานของรัฐควรให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมเข้าถึงบริการท่อร้อยสายของรัฐได้โดยตรง จึงไม่ควรมอบสิทธิผูกขาด (80% ของท่อร้อยสายทั้งหมด) ให้แก่เอกชนรายใดรายหนึ่งเพียงรายเดียวในการนำไปแสวงหาประโยชน์

การคัดเลือกเอกชนให้แสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรโทรคมนาคมของรัฐที่จำเป็นต่อผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมทุกรายเท่ากับเป็นการให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมรายอื่นทุกรายต้องไปขอรับอนุญาตใช้ท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินจากเอกชนรายดังกล่าวซึ่งเป็นคู่แข่งในทางธุรกิจ อันเป็นทำลายการแข่งขันที่เป็นธรรมและขัดต่อนโยบายของรัฐ ทั้งยังส่งผลต่อประโยชน์สาธารณะของผู้ใช้บริการในท้ายที่สุด ซึ่งขัดต่อมติคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ครั้งที่5/2561 อีกทั้งยังเห็นว่าการดำเนินโครงการนาสายสื่อสารลงใต้ดินในพื้นที่กรุงเทพมหานครเข้าข่ายที่ต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนรวมถึงต้องพิจารณากฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย

"การลงทุนโดยกรุงเทพมหานครและบริษัทกรุงเทพธนาคมร่วมกับเอกชนรายเดียวย่อมไม่ใช่หนทางที่ดีที่สุดในการดำเนินการในเรื่องนี้ เนื่องจากรัฐยังมีบริษัท กสท โทรคมนาคม จากัด (มหาชน) และ บริษัท ทีโอที จากัด (มหาชน) ที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งหากได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กรุงเทพมหานคร ก็สามารถให้จัดทำและให้บริการท่อร้อยสายได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยสิ้นเปลืองน้อยกว่า"

 

6ยักษ์สื่อสารจี้นายกฯ เบรกท่อร้อยสายกทม.2หมื่นล.

 

"กลุ่มผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม” จึงขอให้นายกฯสั่งการให้ทบทวนมติหรือคำสั่งหรือการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงยับยั้งการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องไว้ก่อน เพื่อให้หน่วยงานของรัฐ หารือกับประกอบกิจการโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เป็นธรรมต่อทุกฝ่ายและให้คณะกรรมการดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจัดทาข้อเสนอประกอบความเห็นของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อนาเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา 

 

โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวนแนวทางการจัดระเบียบสายสื่อสาร เพื่อเปรียบเทียบความเหมาะสมของแต่ละวิธีการในแต่ละเส้นทาง เพื่อมิให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายเกินสมควรแก่ผู้ใช้บริการโทรคมนาคม

 

ในกรณีที่จำเป็นที่จะต้องปลดสายสื่อสารเพื่อนำลงใต้ดินตามท่อร้อยสายก็ให้จัดทำเฉพาะเส้นทางเท่าที่จำเป็นเท่านั้นและดำเนินการในระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อมิให้เกิดความสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยไม่จำเป็นและลดภาระค่าใช้จ่าย

 

นอกจากนี้ยังเสนอให้ผู้ขอใช้ท่อร้อยสายทุกรายสามารถเข้าถึงบริการท่อร้อยสายของหน่วยงานของรัฐได้โดยตรงโดยเท่าเทียมกันโดยไม่ต้องผ่านเอกชนรายใด และในการให้บริการท่อร้อยสาย ให้หน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ของประกาศกสทช. เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการใช้ การลงทุน และการสร้างท่อร้อยสายสื่อสาร หรือกับโครงสร้างพื้นฐานหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้บริการโทรคมนาคม โดยเคร่งครัด

 

กลุ่มผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ยังขอให้นายกฯ สั่งการให้ชะลอการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดินในพื้นที่กรุงเทพมหานครไว้ก่อนจนกว่าการดำเนินการในเรื่องต่างๆจะแล้วเสร็จ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างบูรณาการเป็นเอกภาพในองค์รวม เพื่อประโยชน์ของประชาชน

 

เรื่องนี้เป็นเรื่องด่วนเพราะบริษัทกรุงเทพธนาคมได้คัดเลือกเอกชนให้ดeเนินโครงการแล้วและอยู่ในระหว่างการลงนามสัญญาในเร็วๆนี้ เพื่อมิให้เกิดความเสียหายต่อรัฐและประชาชน กลุ่มผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม จึงใคร่ขอความกรุณาจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้โปรดพิจารณาเรื่องนี้เป็นการด่วน”

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

● คุ้ยหลักฐาน กทม.ส่อพิรุธท่อร้อยสาย

● สมเกียรติอัด กทม.ให้เอกชนผูกขาดท่อร้อยสาย

● แจงสัมปทานท่อร้อยสาย 2หมื่นล้าน30ปีโปร่งใส

● จี้รื้อสัมปทานทรูบิ๊กสื่อสารรุมต้านผูกขาด30ปีท่อร้อยสาย

● เปิดปูมท่อร้อยสาย 2หมื่นล้าน

● ทรูร่อนหนังสือแจงยังไม่ลงนามสัญญาท่อร้อยสายกทม.

● เบื้องหลังกทม.หักดิบ ยึดโครงการท่อร้อยสาย2หมื่นล.

● ท่อร้อยสายวุ่น จ่อรื้อสัญญาทรู

● ไขปม ท่อร้อยสาย ให้สิทธิ์เอกชน80%ไม่ผูกขาด

● ใคร...ลุยไฟ ใช้เงิน2.5หมื่นล้าน เพื่อสัมปทานท่อร้อยสาย 30ปี

● บิ๊กกรุงเทพธนาคม โต้ทุกข้อกล่าวหา ท่อร้อยสายสื่อสาร 2 หมื่นล้าน

● กทม.ลักไก่ ท่อร้อยสาย ไร้ราคากลาง

● ท่อร้อยสายใต้ดิน โอนผูกขาด อำนาจรัฐสู่เอกชน

● ‘รสนา’ชี้ทิ้งทวนท่อร้อยสาย ก่อนหมดวาระผู้ว่าฯกทม.

●  สหภาพแคทฯ ร้องนายก ค้านท่อร้อยสาย

● ‘TOT-CAT’ ดับเครื่องชน ท่อร้อยสายกทม.

● ‘ทีโอที’ฮึดสู้! ปรับราคาท่อร้อยสาย

● 'กทม.' หน้ามืดตามัว มีใบอนุญาต 15 ปี ให้สัมปทาน 30 ปี

● ชำแหละผูกขาด ท่อร้อยสาย 2.5 หมื่นล้าน

● ธนาคมฯฝืนกระแสจ่อเซ็นสัญญากับทรูฯ มูลค่า 2.5 หมื่นล้าน

● กสทช.สั่งรื้อโครงการท่อร้อยสายกทม.

● จ่อฟันโครงการท่อร้อยสาย ชี้ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 50 จัดการแน่!