อียูลงดาบรัสเซียเพิ่ม จัดหนักคว่ำบาตรอีกชุดใหญ่ ตัดน้ำเลี้ยงทางเศรษฐกิจ

25 ก.พ. 2565 | 08:26 น.

ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) จัดประชุมฉุกเฉินลงมติวันนี้ (25 ก.พ.) เห็นพ้องยกระดับมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียอย่างเข้มข้นมากขึ้น โดยเฉพาะการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ ซึ่งถือเป็นมาตรการคว่ำบาตรชุดใหญ่ เพื่อตอบโต้การรุกรานยูเครนของรัสเซีย

นางเออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป นายชาร์ลส์ มิเชล ประธานรัฐสภายุโรป และนายเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ได้ออกมาแถลง ผลการประชุมฉุกเฉิน นานกว่า 6 ชั่วโมงวันนี้ (25 ก.พ.) ว่า ทางสหภาพยุโรป (อียู) เห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ เกี่ยวกับท่าทีในการตอบโต้ รัสเซีย ในขั้นที่รุนแรงมากขึ้น

 

โดยอียูมีมติว่า รัสเซียควรจะถูกประณามต่อการตัดสินใจเริ่มปฏิบัติการทางทหารเพื่อโจมตียูเครนเมื่อวานนี้ (24 ก.พ.) โดยหลังจากนี้ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจะมี มาตรการคว่ำบาตร “ขั้นสูงสุดชุดใหญ่” ต่อรัสเซีย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการเมืองของรัสเซียอย่างแน่นอน ซึ่งมาตรการจัดหนักครั้งใหม่นี้ ครอบคลุมถึง มาตรการคว่ำบาตรทางการเงิน ตัดช่องทางในการเข้าถึงตลาดการค้าหลักๆของรัสเซีย และยังมุ่งเป้าหมายไปยังตลาดการธนาคาร 70% โดยเฉพาะบริษัทที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ รวมทั้งในสายกลาโหมด้วย ซึ่งมาตรการคว่ำบาตรต่างๆ นี้ จะทำให้ต้นทุนในการกู้ยืมเงินของรัสเซียสูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น และจะกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมของรัสเซียอย่างหนัก

เออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป

ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส กล่าวเพิ่มเติมว่า เขาได้มีโอกาสพูดคุยอย่างตรงไปตรงมากับประธานาธิบดีปูติน ตามที่ประธานาธิบดีเซเลนสกีแห่งยูเครนร้องขอ เพื่อขอร้องให้ปูตินยุติการสู้รบให้ “เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” และขอให้ประธานาธิบดีปูติน เปิดโอกาสในการพูดคุยกับผู้นำยูเครน แต่ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร และท้ายที่สุดประธานิบดีปูตินก็เลือกที่จะทำสงคราม

 

รายงานข่าวยูโรนิวส์ระบุว่า มาตรการคว่ำบาตรล่าสุดของกลุ่มอียูจะต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนต่างๆ ให้เรียบร้อยในคืนนี้ ก่อนที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาอนุมัติอย่างเป็นทางการจากรัฐมนตรีต่างประเทศอียูในระหว่างการประชุมในบ่ายวันศุกร์ (25 ก.พ.) ตามเวลาในท้องถิ่น เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายต่อไป

 

ประเทศอื่นๆ คว่ำบาตรรัสเซียอย่างไรบ้าง คลิกที่นี่

ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส กล่าวเพิ่มเติมว่า เขาได้มีโอกาสพูดคุยอย่างตรงไปตรงมากับประธานาธิบดีปูติน ตามที่ประธานาธิบดีเซเลนสกีแห่งยูเครนร้องขอ เพื่อขอร้องให้ปูตินยุติการสู้รบให้ “เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” และขอให้ประธานาธิบดีปูติน เปิดโอกาสในการพูดคุยกับผู้นำยูเครน แต่ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร และท้ายที่สุดประธานิบดีปูตินก็เลือกที่จะทำสงคราม

 

รายงานข่าวยูโรนิวส์ระบุว่า มาตรการคว่ำบาตรล่าสุดของกลุ่มอียูจะต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนต่างๆ ให้เรียบร้อยในคืนนี้ ก่อนที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาอนุมัติอย่างเป็นทางการจากรัฐมนตรีต่างประเทศอียูในระหว่างการประชุมในบ่ายวันศุกร์ (25 ก.พ.) ตามเวลาในท้องถิ่น เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายต่อไป