สรุปผลคะแนนเลือกตั้ง 2566 คำนวณ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคการเมือง ยังไง

14 พ.ค. 2566 | 08:12 น.

สรุปผลคะแนนเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 หลังปิดหีบเลือกตั้ง ฐานเศรษฐกิจพาไปเช็ควิธีการคำนวณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ หรือ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ของแต่ละพรรคการเมือง ทำยังไง ดูรายละเอียดที่นี่ รวมไว้ครบ

การเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 เริ่มต้นตั้งแต่ 8.00 น. ซึ่งจะสิ้นสุดระยะเวลาการลงคะแนนในเวลา 17.00 น. กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง (กปน.) จะปิดการลงคะแนน และปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการนับคะแนน โดยเริ่มการนับคะแนน และรวมผลคะแนนเป็นลำดับต่อไป ซึ่งผลคะแนนที่ได้นั้น จะนำไปใช้ในการการคำนวณจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ หรือ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ด้วย

ทั้งนี้ในขั้นตอนสำคัญเมื่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้รับรายงานผลรวมคะแนนแบบบัญชีรายชื่อจากผู้อํานวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทั่วประเทศแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะมีการคํานวณสัดส่วน เพื่อหาผู้ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ของแต่ละพรรคการเมือง ดังต่อไปนี้

วิธีคํานวณ จำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ หรือ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์

1.รวมผลคะแนนทั้งหมดที่ทุกพรรคการเมืองได้รับจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อทั้งประเทศ ตัวอย่างเช่น

  • พรรค ก 1 ล้านคะแนน 
  • พรรค ข 1 ล้านคะแนน
  • พรรค ค 1 ล้านคะแนน
  • พรรค ง 5 แสนคะแนน 

รวมทั้งสิ้น 3.5 ล้านคะแนน

 

ภาพประกอบข่าวการเลือกตั้ง การคํานวณ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ หรือ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์

2.นำคะแนนรวมจากข้อ 1. หารด้วย 100 จะเท่ากับคะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ตัวอย่างเช่นนำคะแนนรวม 3.5 ล้านคะแนน หารด้วย 100 จะเท่ากับ 35,000 คะแนน

3. นำคะแนนรวมแบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับ หารด้วยจำนวนคะแนนในข้อ 2 ผลลัพธ์ที่เป็นจำนวนเต็มคือ จำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ที่พรรคการเมืองนั้นได้รับ ตัวอย่างเช่น พรรค ก ได้คะแนน 1 ล้านคะแนน หารด้วย 35,000 จะเท่ากับ 28.57 นั่นหมายความว่า พรรค ก ได้จำนวน ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ ทั้งหมด 28 คน

 

วิธีคํานวณ จำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ หรือ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์

4.ในกรณีที่จำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองได้รับรวมกันทุกพรรคการเมือง มีจำนวนไม่ครบ 100 คน ให้ดำเนินการ ดังนี้

  • กรณีพรรคการเมืองที่มีผลลัพธ์เป็นเศษโดยไม่มีจำนวนเต็ม เช่น พรรค ข มีผลลัพธ์ไม่เป็นจำนวนเต็ม หรือได้ 0.86 คน พรรค ข จะได้รับจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่ออีก 1 คน 
  • กรณีพรรคการเมืองที่มีเศษหลังจากการคำนวณ ในข้อที่ 3 เช่น พรรค ก มีเศษมากที่สุด ตามข้อ 3 หรือได้ 0.57 คะแนน พรรค ก ได้รับจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่ออีก 1 คน

ทั้งนี้พรรคการเมืองใดมีเศษจำนวนมากที่สุดได้รับจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่ออีกหนึ่งคน เรียงตามลำดับจนกว่าจะมีจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อทุกพรรคการเมือง รวมกันครบจำนวน 100 คน

5.หากการดำเนินการตามข้อ 4 มีพรรคการเมืองที่มีเศษเท่ากัน ซึ่งจะทำให้จำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อเกินจำนวน 100 คน ให้ตัวแทนของพรรคการเมือง ที่มีเศษเท่ากันจับสลากตามวันและเวลา ที่ กกต. กำหนด เพื่อให้ได้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อครบจำนวน