ไมโครซอฟท์ ประกาศขับเคลื่อนไทยสู่อนาคตในยุค AI และคลาวด์

01 พ.ค. 2567 | 04:03 น.
อัพเดตล่าสุด :01 พ.ค. 2567 | 04:36 น.

ไมโครซอฟท์ ประกาศพันธสัญญาสำคัญ มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์และ AI ในไทย เดินหน้าเสริมทักษะด้าน AI ให้กับคนไทยกว่า 100,000 คน พร้อมสนับสนุนชุมชนนักพัฒนาในประเทศไทย ต่อยอด MOU ร่วมมือไมโครซอฟท์-รัฐบาล นำไทยมุ่งสู่อนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมดิจิทัลและ AI

นายสัตยา นาเดลลา ประธานกรรมการและซีอีโอ บริษัทไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชัน เปิดเผยถึงแผนงานทั้งหมดนี้ภายในงาน Microsoft Build: AI Day ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ต่อหน้านักพัฒนาและผู้นำจากภาคธุรกิจและเทคโนโลยีในประเทศไทยกว่า 2,000 คน โดยมีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้เกียรติมาร่วมกล่าวเปิดงาน

ไมโครซอฟท์ ประกาศขับเคลื่อนไทยสู่อนาคตในยุค AI และคลาวด์

“วิสัยทัศน์ ‘IGNITE THAILAND จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง’ มีเป้าหมายที่จะยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเมืองแห่งเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพของประเทศในการสรรค์สร้างนวัตกรรม งานวิจัยและพัฒนา ตลอดจนยกระดับขีดความสามารถแรงงานในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น” 

นายนาเดลลา กล่าวต่อไปว่า “ประเทศไทยมีศักยภาพโดดเด่นและโอกาสในการสร้างอนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมดิจิทัลและ AI การเปิดดาต้าเซ็นเตอร์ระดับภูมิภาคแห่งใหม่

ไมโครซอฟท์ ประกาศขับเคลื่อนไทยสู่อนาคตในยุค AI และคลาวด์

ควบคู่ไปกับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ สำหรับคลาวด์และ AI รวมถึงการเสริมสร้างทักษะด้าน AI ล้วนเป็นแผนงานที่ต่อยอดพันธกิจของไมโครซอฟท์ เพื่อช่วยให้องค์กรไทย ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนเติบโต ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ให้กับประเทศไทย”

ไมโครซอฟท์ ประกาศขับเคลื่อนไทยสู่อนาคตในยุค AI และคลาวด์

ด้านนาย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า “การประกาศความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ในวันนี้ เป็นก้าวสำคัญของเราบนเส้นทางสู่วิสัยทัศน์ IGNITE THAILAND มุ่งสร้างโอกาสให้คนไทยทุกคนได้เติบโต สร้างสรรค์นวัตกรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น”

ในโอกาสนี้ นายสัตยา นาเดลลา ยังได้เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของนักพัฒนาในการกำหนดทิศทางของประเทศไทย เพื่อมุ่งสู่อนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมดิจิทัลและ AI

ไมโครซอฟท์ยังคงมีบทบาทอย่างต่อเนื่องในการขับเคลื่อนการเติบโตของชุมชนนักพัฒนาในประเทศไทย ผ่านโครงการและกิจกรรมอย่าง AI Odyssey ที่มุ่งสนับสนุนให้นักพัฒนาชาวไทยกว่า 6,000 คน ยกระดับทักษะความสามารถขึ้นมาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ที่ครบเครื่องด้วยทักษะใหม่ๆ และการรับรองจากไมโครซอฟท์

ประเทศไทยนับว่าเป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็วสำหรับ GitHub แพลตฟอร์มที่มีไมโครซอฟท์เป็นเจ้าของ ออกแบบมาเพื่อรองรับนักพัฒนาทั้งในการเขียนโค้ด ประสานงาน และสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา มีนักพัฒนาในประเทศไทยรวมกว่า 900,000 รายที่ใช้งาน GitHub หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตถึง 24% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

นอกจากนี้ หลายองค์กรในไทยยังได้นำนวัตกรรม Generative AI จากไมโครซอฟท์มาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น:

• บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ผู้นำด้าน digital life service provider ได้นำผู้ช่วย AI อย่าง Copilot for Microsoft 365 มาประยุกต์ใช้เพื่อให้พนักงานทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเข้ามามีบทบาทในหน่วยงานต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะในฝ่ายกฎหมาย นอกจากนี้ เอไอเอสยังได้นำ GitHub Copilot บริการ AI สำหรับช่วยเขียนโค้ด และ Azure OpenAI Service แพลตฟอร์มเพื่อการพัฒนา AI ในองค์กร มาใช้งานต่อยอดเพื่อสร้างสรรค์แอปพลิเคชันและผู้ช่วย AI ด้วยตนเอง

• สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้พัฒนาแพลตฟอร์มใหม่ที่นำนวัตกรรม AI มาขับเคลื่อนภารกิจเพื่อสุขภาพที่ดีกว่าของคนไทย โดยแพลตฟอร์มดังกล่าวนำบริการ Azure OpenAI Service, Azure Machine Learning และเทคโนโลยีอื่นๆ ของไมโครซอฟท์มาพัฒนาเป็นช่องทางให้ประชาชนทั่วไปสามารถทำความเข้าใจนโยบายด้านสาธารณสุขได้ง่ายขึ้น ทั้งยังสามารถให้คำแนะนำด้านการดูแลรักษาสุขภาพที่ตรงกับความต้องการของแต่ละคน พร้อมด้วยข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิการรักษาพยาบาลและบริการทางการแพทย์ที่เหมาะสม เพื่อให้คนไทยกว่า 66 ล้านคนมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลการรักษาพยาบาลได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

• บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCBX กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงินชั้นนำของประเทศไทย ได้นำบริการ Azure OpenAI Service มาเป็นรากฐานของการสร้างสรรค์นวัตกรรมในองค์กร เพื่อมุ่งสู่การเป็น AI-first organization โดยธุรกิจหลักของกลุ่มอย่างธนาคารไทยพาณิชย์ ได้นำ Azure OpenAI Service มาใช้สนับสนุนการทำงานของแชทบอท “มณี” ให้ทำความเข้าใจคำถามของลูกค้าได้ชัดเจนและแม่นยำยิ่งขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการบริการลูกค้าได้ถึง 400,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 14.8 ล้านบาท) ต่อปี ขณะที่อีกหนึ่งธุรกิจในเครืออย่าง InnovestX ก็ได้นำ Azure OpenAI Service มาใช้รวบรวมข้อมูลผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในต่างประเทศ พร้อมด้วยบทวิเคราะห์จากหลากหลายแหล่ง มาสรุปเป็นรายงานที่อ่านง่ายและแม่นยำ นอกจากนี้ SCBX ยังได้พัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อความในโซเชียลมีเดียที่มีความเข้าใจภาษาไทยอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพื่อใช้งานภายในองค์กรโดยเฉพาะ จึงสามารถมอนิเตอร์บทสนทนาต่างๆ รวมถึงบริหารจัดการชื่อเสียงขององค์กรในโลกออนไลน์ได้ด้วยระบบอัตโนมัติที่มีถูกต้อง แม่นยำ และทันท่วงทียิ่งขึ้น

• สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่มีภารกิจในการร่วมพิจารณาและจัดทำร่างกฎหมาย ให้ความเห็นเชิงกฎหมายกับหน่วยงานของรัฐ ได้ประกาศว่าจะนำ Copilot for Microsoft 365 เข้ามาสนับสนุนการทำงานของนักกฎหมายที่ทำงานให้กับภาครัฐ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ ภายในองค์กร

ทั้งนี้ ยังมีองค์กรและหน่วยงานอื่นๆ อีกมากมายในประเทศไทยที่กำลังทำงานร่วมกับไมโครซอฟท์อย่างใกล้ชิดเพื่อสำรวจความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจาก AI ไม่ว่าจะเป็นเครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัทเอกชนรายใหญ่ที่สุดของประเทศ หรือบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTGC) ผู้นำด้านธุรกิจปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์

ไมโครซอฟท์ยังทำงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ในด้านการแบ่งปันแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยในโลกออนไลน์ ภัยไซเบอร์ จุดอ่อนในระบบและเทคโนโลยีต่างๆ พร้อมด้วยคำแนะนำในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น พร้อมรับมือกับความเสี่ยงในโลกยุค AI นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังได้นำ AI มาใช้เสริมประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภายใน ซึ่งจะนำไปสู่ความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นในข้อมูลเชิงเศรษฐกิจ และปูทางไปสู่การวางนโยบายที่มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมยิ่งขึ้น