ฟินเทคไทยติดอันดับ7เอเชีย แนะเร่งปรับยุทธศาสตร์สร้างประสบการณ์ลูกค้า

23 ธ.ค. 2560 | 07:10 น.
เซเรซัส เผยรายงานดัชนีขีดความสามารถในการแข่งขันฟินเทคในภูมิภาคเอเชีย ไทยติดอันดับ 7 แนะเร่งปรับยุทธศาสตร์สร้างประสบการณ์ลูกค้า สร้างรายได้จากบริการธนาคารดิจิตอล-อี-คอมเมิร์ซ

รายงานดัชนีขีดความสามารถในการแข่งขันของฟินเทค (FinTech Competitiveness Index Report) ฉบับแรกในเอเชีย ที่จัดทำโดยบริษัท เซเรซัสฯ ผู้ให้ คำปรึกษาด้านกลยุทธ์การบริหารประสบการณ์ลูกค้าด้วยการใช้วิทยาศาสตร์ข้อมูล และนำเสนอพิมพ์เขียวการพัฒนาฟินเทคโดยการเปรียบเทียบ 10 ประเทศในเอเชีย ระบุว่าขีดความสามารถในการแข่งขันของฟินเทคในประเทศไทยอยู่อันดับที่ 7 จาก 10 ประเทศที่มีการสำรวจ และเป็นอันดับ 2 รองจากประเทศมาเลเซียในกลุ่มประเทศที่กำลังเติบโตทางเศรษฐกิจ

ทั้งนี้รายงานดังกล่าวยังแนะนำให้ไทยปรับปรุงยุทธศาสตร์การสร้างประสบการณ์ของลูกค้า (customer experience) เชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างรายได้จากคุณค่าของการรวมบริการด้านการธนาคารดิจิตอลและแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซ การติดตั้งระบบบริหารจัด การที่ใช้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลของสภาพแวดล้อมทางการเงินในระยะเริ่มต้นจะช่วยให้ประเทศ ไทยก้าวข้ามและเอาชนะคู่แข่งในการแข่งขันได้

TP5-3324-1 รายงานดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า สิงคโปร์เป็นผู้นำด้านฟินเทคในภูมิภาค โดยให้คะแนนรวมโดยเฉลี่ย 58 คะแนน ตามด้วยฮ่องกง ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นคะแนนสูงที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ คือ 70 โดยการทำรายงานดังกล่าวใช้วิธีการดึงข้อมูลจากเว็บเพจส่วนที่ต้องการมาเรียกใช้งาน (web scrapping) และแบบจำลองทางสถิติ (statistical modeling) นอกเหนือจากปัจจัยเอื้อในเรื่องสภาพแวดล้อมในการลงทุนธุรกิจที่มีเสถียรภาพแล้ว สิงคโปร์ยังมีความโดดเด่นในด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและความก้าวหน้าด้านกฎระเบียบ สำหรับในบรรดาประเทศที่เศรษฐกิจกำลังเติบโต ประเทศไทยเป็นรองแค่มาเลเซียเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้คะแนนสูงในด้านความก้าวหน้าของกฎเกณฑ์ อันเป็นผลจากความร่วมมือระหว่างประเทศ, การริเริ่ม sandbox และการส่งเสริมให้ใช้ API แบบเปิดกว้าง

นายจอย ลิน ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เซเรซัสฯ ผู้ให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์การบริหารประสบ การณ์ลูกค้าด้วยการใช้วิทยาศาสตร์ข้อมูลกล่าวว่า “เศรษฐกิจดิจิตอลภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ถือเป็นรากฐานที่มั่นคงสำหรับการพัฒนาฟินเทคของประเทศไทย” ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพในการรวมบริการธนาคารดิจิตอลในระยะเริ่มต้นเข้ากับแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซแบบครบวงจรโดยใช้วิทยาศาสตร์ข้อมูลเป็นตัวขับเคลื่อน

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6 “ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดสำหรับการริเริ่มฟินเทค ก็คือ ทำ ให้มูลค่าของข้อมูลเป็นสิ่งที่จับต้องได้ ตั้งแต่การบันทึกข้อมูลธุรกรรมไปจนถึงพฤติกรรมการบริโภค บริการด้านการธนาคารดิจิตอล ซึ่งมีผู้ประกอบการอี-คอมเมิร์ซและผู้ค้าปลีกเข้าร่วม จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถทำการโอนเงินและการซื้อแบบเรียลไทม์ข้ามพรมแดนที่รวดเร็วและสะดวกสบายมากขึ้น”

อนึ่งรายงานดัชนีขีดความสามารถในการแข่งขันของฟินเทคในกลุ่มประเทศเอเชียนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงประจักษ์และวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยแบ่งเป็น 8 ปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาฟินเทค ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางการเมือง, เสถียรภาพในการลงทุน, แรงดึงดูดใจทางการเงิน, บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ, ความก้าวหน้าด้านกฎเกณฑ์, โครงสร้างผู้บริโภคและตลาด, สภาพแวดล้อมของการพัฒนานวัตกรรมใหม่ และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,324 วันที่ 21 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9