ปตท.จัดหนัก 1.78 หมื่นล้าน กู้วิกฤตพลังงานช่วยเหลือประชาชน

08 ต.ค. 2565 | 02:50 น.

ปตท. ร่วมกู้วิกฤตพลังงาน ปัญหาใหญ่ระดับโลกที่ส่งผลกระทบสู่คนไทย โดยจัดสรรงบประมาณรวมกว่า 1.78 หมื่นล้าน ช่วยเหลือ ลดต้นทุนค่าครองชีพประชาชน

จากวิกฤตพลังงานที่เป็นผลจากเหตุการณ์รัสเซีย-ยูเครน ที่ทำให้เกิดความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก และกระทบต่อทั่วโลก กระทบทั้งในด้านราคาพลังงาน และความมั่นคงทางพลังงาน หลายประเทศต้องประกาศใช้มาตรการต่าง ๆ ทั้งการอุดหนุนราคาเชื้อเพลิง ลดภาษี ลดราคาขนส่งสาธารณะ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน โดยสำหรับประเทศไทย ปตท.ถือเป็นหนึ่งผู้นำด้านพลังงาน ที่เข้าช่วยเหลือแก้วิกฤตดังกล่าว

 

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หนึ่งในการดูแลภาคสังคม ปตท.ได้ใช้ไปราว 17,800 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือการลดต้นทุนค่าครองชีพด้านพลังงานของประชาชน โดยกลุ่ม ปตท. ได้ติดตามสถานการณ์ด้านพลังงานอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่าประเทศจะมีปริมาณพลังงานที่เพียงพอใช้ เพื่อรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง และเพื่อร่วมบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน โดยตั้งแต่ต้นปี 2564 เป็นต้นมา ปตท. ได้ร่วมแบ่งเบาภาระต้นทุนค่าครองชีพด้านพลังงานหลายด้าน อาทิ 

  • ให้ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม (LPG) แก่ผู้มีรายได้น้อยที่เป็นร้านค้าหาบเร่ แผงลอยอาหาร ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ตั้งแต่ ต.ค. 62 – 30 ก.ย. 65 และล่าสุดให้ความช่วยเหลือต่อถึง ธ.ค. 65) ปตท.จัดหนัก 1.78 หมื่นล้าน กู้วิกฤตพลังงานช่วยเหลือประชาชน
  • ตรึงราคาขายปลีกก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) ที่ 15.59 บาท/กิโลกรัม กลุ่มผู้ใช้รถ NGV  ส่วนบุคคล และ ตรึงราคาขายปลีก NGV ในโครงการ “เอ็นจีวี เพื่อลมหายใจเดียวกัน” สำหรับผู้ประกอบอาชีพขับขี่รถแท็กซี่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ 13.62 บาท/กิโลกรัม (ตั้งแต่ 16 พ.ย. 64 – 15 ก.ย. 65 และล่าสุดให้ความช่วยเหลือต่อถึง ธ.ค. 65)

 

 

  • บรรเทาภาระต้นทุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)  เพื่อบรรเทาภาระต้นทุนผลิตไฟฟ้าให้กับประชาชน โดยการเลื่อนกำหนดชำระเงินค่าก๊าซฯ งวดเดือนพฤษภาคม 2565 มูลค่าประมาณ 13,000 ล้านบาทจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ออกไปเป็นระยะเวลา 4 เดือน พร้อมไม่เรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยมูลค่าประมาณ 340 ล้านบาทที่จะเกิดขึ้น เพื่อมีส่วนช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับ กฟผ. ในการแบกรับต้นทุนการผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชน
  • จัดหาน้ำมันดิบเพื่อเพิ่มปริมาณสำรอง จัดหาน้ำมันดิบเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มปริมาณสำรองอย่างน้อย 4 ล้านบาร์เรล (ประมาณ 640 ล้านลิตร)  
  • ตรึงราคาขายปลีกน้ำมัน
  • นำร่องสนับสนุนเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นกรณีพิเศษจำนวนเงินรวม 3,000 ล้านบาท สนับสนุนภาครัฐในการแบ่งเบาภาระค่าพลังงานของประชาชนรวมทั้งเพื่อรักษาเสถียรภาพด้านพลังงานของประเทศ