เปิดเบื้องลึกการเมืองบีบ "ทศพร ศิริสัมพันธ์" ลาออกจากประธานบอร์ด ปตท.

18 ต.ค. 2565 | 04:07 น.

เปิดเบื้องลึกการเมืองบีบ "ทศพร ศิริสัมพันธ์" ลาออกจากประธานบอร์ด ปตท. หลังขัดแย้งอย่างหนักกับคณะทำงานของรัฐบาล

จากกรณีที่ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ กรรมการอิสระและประธานกรรมการบริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) ยื่นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่ง โดยขอให้มีผลตั้งแต่วันที่ 15 ต.ค. 2565 ที่ผ่านมา

 

 

ต่อเรื่องดังกล่าวแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า เหตุผลสำคัญที่ทำให้นายทศพร ต้องขอลาออกจากตำแหน่งประธานบอร์ด ปตท. ครั้งนี้ มาจากแรงกดดันทางการเมืองเป็นหลัก เนื่องจากนายทศพร นั้น ถือว่าอยู่คนละขั้วกับผู้ที่มีอำนาจทางกรเมืองในปัจจุบัน จึงไม่อาจทำงานต่อไปได้ ดังนั้น จึงเป็นที่มาของการลาออกจากตำแหน่งดังกล่าว

 

"นายทศพร มีความขัดแย้งอย่างรุนแรงกับคณะทำงานของรัฐบาล  และถูกบีบให้ลาออกจากตำแหน่งต่างๆ"

 

อย่างไรก็ดี นอกจากจะยื่นลาออกจากการเป็นประธานบอร์ด ปตท.แล้ว นายทศพรยังอยู่ระหว่างยื่นหนังสือลาออกจากทุกตำแหน่งในรัฐบาล โดยขณะนี้นายทศพรดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

 

ทั้งนี้ นายทศพร ถือว่าเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีที่พล.อ.ประยุทธ์ให้ความไว้วางใจ และเคยแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แทนนายปรเมธี วิมลศิริ ที่ย้ายไปเป็นปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เมื่อนายทศพรเกษียนณอายุแล้วพล.อ.ประยุทธ์ได้แต่งตั้งให้เป็นประธานที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล
 

 

สำหรับศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ นั้น ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานกรรมการ ปตท. โดยมีผลมาตั้งแต่งันที่ 8 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา จากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ในการประชุมนัดพิเศษคครั้งที่ 4/2565

ด้านประวัติการทำงานของศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ ประกอบด้วย 

 

23 สิงหาคม 2561 - 30 พฤศจิกายน 2563

  • กรรมการและประธานกรรมการ บริษัท ไทยออยล์ จํากัด (มหาชน)

 

1 กรกฎาคม 2561 - 30 กันยายน 2563

  • กรรมการและประธานกรรมการ คณะกรรมการธรรมาภิบาลธนาคารแห่งประเทศไทย

 

29 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2563

  • เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

 

ตุลาคม 2559 - 28 มิถุนายน 2561

  • เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

 

2557 - กันยายน 2559

  • ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • การดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • กรรมการอิสระและประธานกรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

 

การดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทจำกัด/องค์กรอื่น

  • ประธานกรรมการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
  • กรรมการและประธานกรรมการ บริษัท อรุณ พลัส จำกัด

กิจกรรมพิเศษที่สำคัญ

  • กรรมการคณะกรรมการกฤษฎีกา
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
  • ที่ปรึกษาคณะกรรมการ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน)

 

ขณะที่คุณวุฒิการศึกษา/ประวัติการอบรม ประกอบด้วย 

  • ปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปริญญาโท Master of Public Administration, Pi Alpha Alpha
  • (National Honor Society for Public Affairs and Administration),
  • Northern Illinois University ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ปริญญาเอก สาขาการวิเคราะห์นโยบาย การบริหารรัฐกิจและการเมืองเปรียบเทียบ
  • Northern Illinois University ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ประวัติการอบรม
  • หลักสูตร Director Certification Program (DCP 80/2006), Finance for Non - Finance Director (FND 30/2006),
  • Director Certification Program Update (DCPU 4/2015) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
  • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง (วตท.) รุ่นที่ 10 สถาบันวิทยาลัยตลาดทุน
  • หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บยส.) รุ่นที่ 15 สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
  • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง ด้านวิทยาการพลังงาน (วพน.) รุ่นที่ 4 สถาบันวิทยาการพลังงาน
  • หลักสูตร Corporate Governance: Effectiveness and Accountability in the Boardroom ปี 2014,
  • Kellogg School of Management, Northwestern University ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • Chairman Forum ในหัวข้อ “The Role of Chairman in Leading Strategic Risk Oversight”
  • การสัมมนา Global Anti-Corruption and Integrity Forum 2018, OECD, Paris ประเทศฝรั่งเศส
  • การสัมมนา “How to Transform Your Business to Become an Exponential Company in a Digital Era”
  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

โครงสร้างบอร์ด ปตท. ในปัจจุบัน ประกอบด้วย

  • รศ.ดร.ชโยดม สรรพศรี กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ​
  • หม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร กรรมการ ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร​
  • พลเอก ธีรวัฒน์ บุณยะวัฒน์ กรรมการอิสระ ประธานกรรมการกำหนดค่าตอบแทน​
  • นายผยง ศรีวณิช กรรมการอิสระ กรรมการสรรหา​ กรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี​
  • นายกฤษณะ บุญยะชัย กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ​
  • พล.ต.อ.รุ่งโรจน์ แสงคร้าม กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ​
  • นายดนุชา พิชยนันท์ กรรมการอิสระ ประธานกรรมการสรรหา​
  • นายจตุพร บุรุษพัฒน์ กรรมการอิสระ ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี​
  • นายพงศธร ทวีสิน กรรมการ กรรมการสรรหา​
  • นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ กรรมการ กรรมการกำหนดค่าตอบแทน​
  • รศ.ดร.ณรงค์เดช สรุโฆษิต กรรมการอิสระ กรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี​ กรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร​
  • นางเปรมฤทัย วินัยแพทย์ กรรมการ กรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร​
  • นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร กรรมการอิสระ กรรมการกำหนดค่าตอบแทน​
  • นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ กรรมการ , เลขานุการคณะกรรมการ